พระที่อยู่ในวัด จึงต้องมีหลายบทบาทตามไปด้วย เช่น
ท้งประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ตามประเพณีวัฒนธรรม เพื่อรวมใจสร้างความสามัคคีให้กับคนในชุมชน เช่น ตักบาตรเทโว เห่เทียนเข้าพรรษา ฯลฯ
เป็นครูสอนศีลธรรม จัดอบรมนักเรียน บวชภาคฤดูร้อน ลงเทศน์สอนผู้มาจำศีลวันพระ
เป็นภัณฑารักษ์ ดูแลจัดระเบียบของที่เขาเอามาเก็บไว้วัด เช่น เรือที่จะใช้แข่งพายเรือประจำปี หม้อไห โบราณวัตถุ ของใช้ประจำวัน เป็นต้น
ดูงบประมาณที่มาใช้ในงานเหล่านี้ หน้าที่เหล่านี้ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลหรือเปล่า ไม่มีหรอกครับ เพียงพอแค่ไหน พระที่ทำหน้าที่เหล่านี้มีเงินเดือนหรือไม่ ไม่มีครับทำด้วยใจล้วน ๆ พระต้องหาเองทั้งหมด โดยเฉพาะท่านเจ้าอาวาส ต้องรับผิดชอบ จะไม่เอา เอาของไปทิ้งบอกขยะก็ไม่ได้ จะขายวัดก็ไม่ได้
หากแบ่งสมบัติภายในวัด จะได้เป็น 3 ประเภท
สมบัติพระ
อันนี้ไว้เลี้ยงชีวิต ส่วนใหญ่เป็นอาหารจากการบิณฑบาต ที่เหลือมาจากการถวายของโยมที่มีศรัทธา ไม่มีการบังคาับ แน่นอนพวกด่าพระไม่ถวายแน่นอน ดังนั้นตรงนี้ไม่แน่นอน แล้วแต่รูป บางรูปได้มาก บางรูปได้น้อย แล้วแต่ตัวบุคคล
สมบัติวัด
เพื่อการสอนศีลธรรม และงานพระศาสนา เช่นศาลาสำหรับฟังธรรม โต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งเรียนธรรมศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอน เครื่องเสียง รถยนต์ใช้ในงานวัด ไม่ว่าจะกิจนิมนต์ ประสานงานต่างๆ
สมบัติชาติ สมบัติพระศาสนา
เป็นเสมือนศูนย์รวมใจของคนในชาติ เป็นขวัญกำลังใจ ความภาคภูมิใจ ความรู้ รากฐานของวัฒนธรรม เช่น พระแก้วมรกต คัมภีร์ใบลาน พระพุทธรูป โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถูป เจดีย์ สมบัตินี้ ต้องรักษา ทะนุบำรุง ห้ามขายห้ามหาย
นี้คือความเป็นจริงครับ เมื่อก่อนผมคิดว่าพิพิธภัณฑ์ในเมืองไทยน้อย สู้ต่างประเทศไม่ได้ จึงทำให้เราไม่เจริญ เพราะไม่รู้ราก หรือความเป็นมาเป็นไปของตนเอง แต่พอมาดูรายการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จึงตกใจว่า เรามีพิพิธภัณฑ์เยอะมาก ส่วนมากเป็นวัดครับ พระภิกษุ คือวีรบุรุษผู้อยู่เบื้องหลัง ที่ยังเก็บรวบรวมความรู้ เก็บประวัติศาสตร์ ให้เราได้ศึกษา ท่านทำมานาน ทำมาลำพัง ทั้งๆ ที่ขาดแคลนทุกอย่าง ทั้งความรู้ และงบประมาณ กำลังคน
ผมจึงคิดว่า การกล่าวหาท่านว่าสะสมสิ่งของไม่เหมาะกับความเป็นพระนั้น ไม่ถูกต้องเพราะเจตนาท่านไม่ได้เอามาเป็นของตัว นี่คือความเสียสละที่ท่านทำเพื่อชาติ และพระพุทธศาสนาครับ
http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/index.php

รูปเยอะหน่อยนะครับ ตัวอย่างพิพิธภัณฑ์วัดครับ

เก็บกันไปครับตามมีตามเกิด

================

นี่ก็สมบัติชาติ รากฐานของวัฒนธรรม

รายละเอียดพิพิธภัณฑ์

================
พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง

มีนิทรรศการประกอบด้วย

ตัวอาคารครับ

ข้อมูลครับ
http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/index.php
================
วัดไตรมิตร ศูนย์กลางชุมชนจีน (เยาวราช) ในเมืองไทย
นิทรรศการของวัดไตรมิตร ชื่อว่าศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช
ความสัมพันธ์ระหว่าง ชุมชนกับวัด เป็นรากฐานของสังคมไทย


เป็นตัวอย่างวัดในเมืองที่มีความพร้อม ทางวัดจ้างมืออาชีพ มาจัดให้ แสดงเรื่องราว ให้ความรู้แก่คนที่มาวัด


พระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย

จัดบรรยากาศ ให้สวยงาม สะอาด น่าเคารพเลื่อมใส ประชาชนทั้งไทยและต่างประเทศได้มากราบไหว้สักการะ ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ
================
สิ่งที่วัดหลายๆวัดทำอยู่ อย่างที่ ผู้เขียน.นี้นำเสนอมา
คือหลายๆวัดก็จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดเป็นพิพิธภัณฑ์ นำของโบราณที่ปู่ย่าตายายบรรพบุรุษของเราเองที่นำไปฝากไปไว้ที่วัด
เพราะเห็นว่าวัดเป็นเหมือนโรงเรียน เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
คิดว่าฝากไว้ที่วัดแล้วจะปลอดภัย เพราะคนสมัยก่อนกลัวบาปกรรมไม่กล้าขโมยของวัด
บางชิ้นก็เป็นสิ่งที่หาค่าไม่ได้ มีคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และคุณค่าทางจิตใจ บางชิ้นก็มีค่ามากที่เรียกได้ว่า เป็นสมบัติของชาติทีเดียว
ถ้าหากวัดและพระในวัดไม่ดูแลไว้ คิดว่าคงสูญหายไปตามกาลเวลา อาจมีคนขโมยไปขายบ้าง ถูกทำลายไปบ้าง คงจะน่าเสียดายมิใช่น้อย
สิ่งที่ท่านทำ ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะไม่ได้บัญญัติให้วัดเป็นพิพิธภัณฑ์ แต่ท่านก็ไม่ได้ห้าม
และการทำเช่นนี้ก็เกิดประโยชน์ทั้งต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ เป็นแหล่งให้ความรู้ต่อประชาชน และผู้ใฝ่ใคร่รู้ทั้งหลาย
ถ้าหากจะเอาตรรกะของคอมเมนต์บางท่านในกระทู้นี้ที่ว่า พระไตรปิฎกไม่ได้บัญญัติให้พระไปทำพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ความรู้
ถ้าอย่างนั้น การที่พระนักพัฒนาทั้งหลาย ที่บริจาคสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ทำสิ่งดีๆ เหล่านี้ ก็เป็นสิ่งที่ผิดเหมือนกันอย่างนั้นหรือ
เพราะในพระไตรปิฎกก็ไม่มีบัญญัติให้พระไปสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ
ผมมีความคิดว่า สิ่งที่พระภิกษุตามวัดต่างๆ ทำมานั้น ไม่ว่าจะเป็นสร้างพิพิธภัณฑ์ โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ
จุดประสงค์ของการสร้างของแต่ละท่านคงจะมีเหมือนกันคือ จิตเมตตาที่ต้องการทำสิ่งดีๆ เป็นประโยชน์ให้กับสังคมและประชาชน
ซึ่งจะว่าไปท่านก็ได้ทำตามโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกที่ว่า
"บุคคลผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นผู้เลิศ เป็นผู้วิเศษ เป็นประธาน อุดม และเป็นผู้ประเสริฐ"
(ฉลาวาตสูตร: พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต)
สิ่งที่วัดทั้งหลายทำนั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรสรรเสริญ และสนับสนุน ไม่ใช่นำมาประเด็นจับผิดให้ท่านต้องเสียกำลังใจในการทำความดี
================
สิงคาลกสูตร
[๒๐๔] ดูกรคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วย สถาน ๕ คือ
ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑
ด้วยให้อามิสทานเนืองๆ ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ คือ
ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ๑
ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม ๑
ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑
ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๑
บอกทางสวรรค์ให้ ๑ ฯ
ดูกรคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้ ทิศเบื้องบนนั้น ชื่อว่าอันกุลบุตร ปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัย ด้วยประการฉะนี้ ฯ .
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข.204 น.146
ถ้าเป็นพวกคัมภีร์ใบลาน หนังสือตำรา มีประโยชน์ในด้านการศึกษา
โบราณวัตถุ โบราณสถาน ก็เป็นประโยชน์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เข้าใจภูมิใจในอัตตลักษณะของตน
พระพุทธรูป สถูป เจดีย์ เป็นที่รวมใจ ทำให้เกิดความรักสามัคคีของคนในชุมชน
ประเด็นที่ผมเสนอ คือวัดกับบ้านหรือชุมชน มีความสัมพันธ์กัน ไม่ได้อยู่เดี่ยว ๆ ต่างเกื้อกูลกัน การมองเพียงด้านเดียว โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมรอบด้าน แล้วตัดสินจึงไม่ถูกต้อง
================
โดยปกติโยมมักจะเอาของมาถวายให้กับวัด พระก็ต้องรักษาศรัทธาญาติโยม
ไม่รับก็ไม่ได้ เดี๋ยวเขาไม่ใส่บาตรให้จะอดเอา แล้วไอ้ของที่มาถวายบางทีมันเยอะ
เกินไป ท่านเอาไปทิ้งก็ไม่ได้ อันใหนหายาก มีคุณค่าเหมาะสมที่จะจัดโชว์พระท่าน
ก็จัดเอามาโชว์ในพิพิธภัณฑ์ให้ได้ศึกษาเรียนรู้กัน ก็ถือเป็นสิ่งดีนะครับ
ส่วนท่านที่เห็นว่าเป็นพระต้องไม่สะสมอันนั้นมันก็ถูกครับ แต่มันมองด้านเดียว
คือเอาประโยชน์ตนอย่างเดียว ไม่เอาประโยชน์ท่าน ถ้าไม่สะสมอะไรเลยนี่ต้องเข้าป่า
เจริญสมาธิภาวนาให้หลุดพ้นอย่างเดียว ถ้าทำได้ผมก็อนุโมทนาด้วยครับ
ส่วนพระบวชใหม่ยังเป็นนวกะ หรือพระที่เป็นเจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารวัดต้องดูแล
วัดนี่ยังไปใหนไม่ได้ คงต้องฝึกตัวอยู่วัดในเมือง แล้วของเต็มวัดจะทำอย่างไรครับ ถ้าไม่จัด
ไม่ดูแลให้ดี ปล่อยทิ้งๆขว้างๆ เดี๋ยวโยมก็มาด่าว่า กินแล้วนอนไม่ทำอะไรอีก
ผมเคารพในความเห็นทุกท่านนะครับ แต่เราควรแยกมุมมองนะครับ พระที่ท่านรักการฝึก
ตัวไปนิพพานก็ไม่สะสมอะไรมากก็เร่งฝึกตัวนั่งสมาธิเดินธุดงค์เข้าป่า
ส่วนที่อยู่ในเมืองยังไปไม่ได้ ต้องอยู่รักษาศรัทธาญาติโยม ก็ดูแลบริหารจัดการกันไป
อย่าไปมองว่าพระในเมืองต้องไม่เอาอะไรเลยเหมือนพระป่าไม่สะสมในทางปฎิบัติมันยังทำได้ไม่
ถนัดก็ต้องค่อยๆฝึกกันไปครับ
================
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น