วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระไตรปิฎกมีอะไรมากกว่าที่คิด ตอน 2


วันนี้ผมมีสิ่งที่น่าสนใจมาฝาก 3 เรื่องครับ คือ ท่านอน, ยาดองน้ำมูตรเน่า และ การผ่าตัดในสมัยพุทธกาล

1.นอนท่าไหนดีที่สุด ?

อ่านข่าวเจอมาครับ นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
กล่าวว่า ท่านอนที่ดีที่สุด คือ ท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก
และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ส่วนท่านอนตะแคงซ้ายจะช่วยลดอาการปวดหลังได้
แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน
อย่างไรก็ตาม ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่
เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร

ส่วนท่านอนคว่ำเป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ
เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน
ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ

แต่คนทั่วไปคนเรานิยมนอนหงาย การนอนหงายใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว
เพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ
เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก
ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น ด้วย

ในสังคีติสูตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ตอนหนึ่งว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะและมิทธะ
สารีบุตรจงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยแล้ว เราพึงพักผ่อน 
... ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น
แล้ว “ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงกระทำในพระทัยถึงสัญญาในอันที่จะเสด็จลุกขึ้น”

คำว่า สีหไสยาสน์ หมายถึง นอนอย่างราชสีห์ (ราชสีห์คือสัตว์ในป่าหิมพานต์ไม่ใช่สิงโตบนโลกมนุษย์นะครับ) 
“พระปรัศว์” แปลว่า “ข้าง” พูดง่ายๆ คือ พระองค์ทรงนอนตะแคงขวา นั่นเองครับ



ผมลองฝึกนอนดูแล้วครับ แรกๆก็ไม่คุ้น แต่พอทำไปสักระยะเป็นท่าที่สบายที่สุดและดีที่สุดจริงๆครับ
ลองดูนะครับ  เอหิปสฺสิโก  ลองพิสูจน์ดูครับ

2. ยาดองน้ำมูตรเน่ารักษาโรคได้จริงหรือ ?



มูตร แปลว่า น้ำปัสสาวะ คำว่า  “น้ำมูตรเน่า”Ž ก็คือน้ำมูตรนั่นเอง
เพราะร่างกายของคนเราได้ชื่อว่าเป็นสิ่งเปื่อยเน่า  น้ำมูตรที่ออกมาใหม่ ๆ
และรองเอาไว้ในทันทีทันใด ก็ได้ชื่อว่าเป็นน้ำมูตรเน่าเพราะออกมาจากร่างกายที่เปื่อยเน่า        

การนำน้ำมูตรเน่ามาทำเป็นยาจะทำโดยวิธีการดองด้วยตัวยาอื่น ๆ เช่น สมอ เป็นต้น
จึงมักจะเรียกว่า  “ยาดองน้ำมูตรเน่า”Ž ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆได้หลายชนิด 
น้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรคหลักของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งใน  “นิสสัย 4”Ž
ที่พระภิกษุจะต้องใช้เป็นประจำ ซึ่งพระอุปัชฌาย์จะบอกในวันบวชว่า 
“ให้อยู่โคนไม้เป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และฉันน้ำมูตรเน่าเป็นยา”Ž

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระภิกษุไว้ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ว่า 
“บรรพชาอาศัยน้ำมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต...Ž
และพระองค์ยังตรัสไว้ในสันตุฏฐสูตรว่า “น้ำมูตรเน่านั้นเป็นของหาง่าย และไม่มีโทษ”



น.พ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล กล่าวว่า มีการประชุมระดับโลก เกี่ยวกับน้ำปัสสาวะรักษาโรคแล้ว 3 ครั้ง
คือที่อินเดีย เยอรมนี และบราซิล มีรายงานว่า น้ำปัสสาวะรักษาอาการปวดข้อ ไมเกรน ภูมิแพ้ โรคเอสแอลอี
โรคปวดข้อรูมาตอยด์ แผลไฟไหม้ เบาหวาน มะเร็งลำไส้ใหญ่ ทารักษาเชื้อราตามผิวหนัง สวนล้างช่องคลอดแก้อาการตกขาว
น้ำปัสสาวะรักษาอาการปวดเรื้อรังได้ เช่น ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดไมเกรน ปวดเมื่อยไม่มีสาเหตุ
รักษาโรคภูมิแพ้ ผื่นคัน สะเก็ดเงิน มะเร็ง ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ใช้ผ้าชุบน้ำปัสสาวะปิดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ส่วนประกอบของปัสสาวะเป็นน้ำร้อยละ 95 ยูเรียร้อยละ 2.5 และสารอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.5
การใช้น้ำปัสสาวะบำบัดโรคอธิบายได้ด้วยหลักฮีโมโอพาธี หรือ “หลักพิษต้านพิษ”
เช่น ฉีดพิษงูทีละน้อย ๆ เข้ากระแสเลือดม้าจนได้ซีรั่ม หรือน้ำเหลืองม้ากลายเป็นเซรุ่มฉีดแก้พิษงู
นำพิษของต้นควินินที่ทำให้หนาวสั่นมาเป็นยารักษาไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น

นอกจากดื่มแล้ว น้ำปัสสาวะยังเอาทาแผลได้ด้วย มีคนทดลองแล้วหายจริงๆครับ
และมีกรณีศึกษาอื่นๆอีกเยอะครับเพื่อนๆลองศึกษาดูใน Youtube นะครับ  

ตัวอย่างครับ : น้องอุ๋มใช้น้ำฉี่ทาแผลหายเป็นอัศจรรย์

กรณีทาแผลน่าสนใจครับ เพราะเป็นการรักษาภายนอก ไม่ถึงกับดื่มเข้าไป ใครยังไม่กล้าดื่มจะทดลองวิธีนี้ก่อนก็ดีครับ 55555


3. การผ่าตัดในสมัยพุทธกาล



เพื่อนๆครับ ผมก็เพิ่งทราบว่า การผ่าตัดในประเทศไทยเกิดขึ้นช้ากว่าในสมัยพุทธกาลถึง 2,000 กว่าปีทีเดียวครับ
ข้อมูลที่ผมค้นเจอ คือ การผ่าตัดครั้งแรกของไทยเกิดขึ้น ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2378 สมัยรัชกาลที่ 3 
โดยได้มีการผ่าก้อนเนื้องอกที่หน้าผากของผู้ป่วยรายหนึ่งออก 

ส่วนการผ่าตัดที่มีชื่อเสียงที่สุดซึ่งทำให้คนไทยทั่วไปรู้จักการผ่าตัด คือ การผ่าตัดของหมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน
ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2379  ในวันนั้นหมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดโดยการตัดแขนของพระภิกษุรูปหนึ่งทิ้ง
เพราะพระรูปนี้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปืนใหญ่ระเบิดทำให้แขนเป็นแผลฉกรรจ์ จึงจำเป็นต้องตัดแขนทิ้งเพื่อรักษาชีวิตไว้

ส่วนการผ่าตัดในสมัยพุทธกาลเมื่อ 2,500 กว่าปีที่ผ่านมานั้น มีตัวอย่างบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก 2 ครั้งครับ



1). สมัยนั้นเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์คนหนึ่งป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่ 7 ปี
นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคน มารักษาก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้
แพทย์บางพวกได้ทำนายไว้ว่า เศรษฐีคนนี้จักตายในวันที่ 5 บางพวกทำนายไว้ว่าเศรษฐีจักตายในวันที่ 7
พระเจ้าพิมพิสารจึงให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ไปช่วยรักษาเศรษฐีท่านนี้  

เมื่อหมอชีวกตรวจดูอาการแล้ว จึงให้เศรษฐีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียง ถลกหนังศีรษะ เปิดรอยประสานกะโหลกศีรษะ
นำตัวสัตว์ที่อยู่ในศีรษะของเศรษฐีออกมาสองตัวแล้วแสดงแก่ประชาชนว่า
จงดูสัตว์ 2 ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง ใหญ่ตัวหนึ่ง โดยสัตว์ตัวใหญ่จะเจาะกินมันสมองของเศรษฐีในวันที่ 5
เมื่อมันกินมันสมองจนหมดเศรษฐีก็จักตาย

สัตว์ตัวเล็กจะเจาะกินมันสมองของเศรษฐีในวันที่ 7
เมื่อมันกินมันสมองจนหมดเศรษฐีก็จักตายเช่นกัน เมื่อหมอชีวกนำสัตว์ 2 ตัวนั้นออกแล้ว
จึงปิดแนวประสานกะโหลกศีรษะ เย็บหนังศีรษะ ทายาสมานแผล ให้เศรษฐีนอนพักฟื้นอยู่ 3 สัปดาห์จึงหายป่วย



2). ในสมัยนั้น บุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้
ทำให้ข้าวยาคูที่ดื่ม และข้าวสวยที่รับประทานไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก
ซูบผอม เศร้าหมอง ตัวเหลืองขึ้นๆ สะพรั่งด้วยเส้นเอ็น 

หมอชีวกจึงช่วยรักษาบุตรเศรษฐีนั้น เมื่อได้ตรวจดูอาการแล้ว จึงเชิญประชาชนให้ออกไปข้างนอก
ขึงม่าน มัดบุตรเศรษฐีไว้กับเสา แล้วทำการผ่าหนังท้อง ตัดเนื้องอกในลำไส้นั้นออก
สอดใส่ลำไส้กลับไว้เหมือนเดิม เย็บหนังท้อง ทายาสมานแผล ต่อมาไม่นานบุตรเศรษฐี ก็หายป่วยเป็นอัศจรรย์  



เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พระไตรปิฎกมีอะไรมากกว่าที่คิดใช่ไหมครับ 5555 โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น