การทำความดี สั่งสมบุญบารมีนั้น มีความเข้มข้นหลายระดับ ดังนี้
1. ทำบุญ __คือ การทำความดีของบุคคลโดยทั่วไป
2. สร้างบารมี__คือ การทำบุญแบบเข้มข้น
3. อุปบารมี__คือ การสร้างบารมีที่เข้มข้นมากขึ้น ระดับยอมสละอวัยวะได้
4. ปรมัตถบารมี__คือ การสร้างบารมีที่เข้มข้นสูงสุด ระดับยอมสละชีวิตได้
>>นักสร้างบารมีผู้มุ่งหวังผลที่สูง เช่น พระโพธิสัตว์ ท่านจะมีใจที่ใหญ่มาก กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ ในสิ่งดีๆอย่างอุทิศชีวิต และทำอย่างต่อเนื่องไม่ใช่นานๆทำที ทำชนิดคนธรรมดาคาดฝันไม่ถึงเลย
@ตัวอย่างการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า@
>>ชาติหนึ่ง พระพุทธเจ้าของเราขณะสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ บวชเป็นดาบส
ยืนอยู่บนหน้าผามองลงไปเห็นแม่เสือหิวโซกำลังจะกินลูกตัวเอง พระองค์ยอมกระโดดลงไปให้เสือกิน
เพื่อช่วยชีวิตลูกเสือ โดยอธิษฐานจิตว่า** ขอบุญนี้ส่งผลให้ข้าพเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
สมัยพระองค์เกิดเป็นพระเวสสันดร ยอมยกพระโอรสพระธิดา คือ กัณหา กับ ชาลี ให้กับพราหมณ์ชูชก
แต่ก็วางแผนการไว้จนชูชกนำกัณหากับชาลี ไปถวายพระเจ้าตา เพื่อรับเงินแทน
แม้พระชาติสุดท้าย เจ้าชายสิทธัตถะก็เสด็จออกบวชในวันที่พระโอรส คือ เจ้าชายราหุลประสูตินั่นเอง
เมื่อบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้ธรรมแล้วก็กลับมาโปรดพระญาติ พระเจ้าสุทโธทนะ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
พระนางพิมพาสุดท้ายก็ได้บวชบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตเถรี เจ้าชายราหุลก็บวชเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
และเป็นสามเณรอรหันต์ แม้พระราชมารดาจะสวรรคตแล้ว พระองค์ยังเสด็จตามไปโปรดถึงบนสวรรค์จนบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
>>หากใครไม่เข้าใจ ใช้ความรู้สึกของตัวเองไปวัดการสร้างบุญบารมีของพระโพธิสัตว์
แล้วหลงไปตำหนิท่านว่าทำมากเกินไป โง่ หลงบุญ บ้าบุญ ทิ้งลูกทิ้งเมียออกบวช เราลองคิดดูว่า
คนๆนั้นจะมีวจีกรรมแบกบาปหนักขนาดไหน มีนรกเป็นที่ ไปไม่คุ้มเลย
>>ใจของเราหากยังอยู่ที่ระดับการทำบุญขั้นแรกทำแบบเล็กๆน้อยๆทั่วไป
เมื่อเห็นคนอื่นเขาทำความดีอย่างอุกฤษฏ์ไม่ใช่ไปตำหนิเขา แต่ควรอนุโมทนา เราจะได้บุญด้วย
>>การทำความดีจริงๆแล้วไม่มีคำว่าทำมากเกินไป อยู่ที่หัวใจของคนๆนั้นมีเป้าหมายชีวิตที่สูงส่งเพียงใด
>>จะวัดว่าดีหรือไม่ดี ไม่ได้ดูที่ว่าทำมากไปไหม แต่ดูที่สาระของการกระทำ ถ้าเป็นเรื่องดี ก็คือดี ยิ่งทำมากยิ่งดี
การให้ทาน¬¬__อย่างอุทิศได้แม้ชีวิต เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
การรักษาศีล__โดยยอมตายไม่ยอมละเมิดศีล เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
การเจริญภาวนา__โดยทำสมาธิอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
@ตัวอย่างนักสร้างบารมียุคปัจจุบัน@
แม้ในยุคใกล้ๆของเรานี้ ก็มีพระเถระผู้บวชอุทิศตนสร้างบารมีอย่างชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันหลายรูป
ซึ่งในช่วงแรกทุกท่านจะถูกเข้าใจผิด ถูกโจมตีต่างๆนานาเหมือนกัน
เพราะการสร้างบารมีอย่างเอาจริงเอาจัง ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันที่ทำนั้น__เป็นสิ่งที่สังคมไม่คุ้นเคย**
จึงถูกระแวงสงสัย จับผิด โจมตี แต่ด้วยความหนักแน่น อดทน ไม่หวั่นไหวทำความดีอย่างต่อเนื่อง
สุดท้ายสังคมก็ยอมรับสิ่งที่ท่านเหล่านี้ได้ทำ สร้างคุณูปการแก่พระพุทธศาสนามากมาย อาทิ
1. พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
2. หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ
3. ครูบาศรีวิชัย
4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)
5. ท่านพุทธทาส
ฯลฯ
ผู้มีปัญญาเพียงพินิจดู ก็จะรู้ว่า สิ่งที่ท่านเหล่านั้นทำต้องทำด้วยชีวิต ผู้มีเจตนาทุจริต
ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ศาสนสถานและศาสนบุคคลที่ท่านสร้างก็จะเป็นสมบัติของแผ่นดินและพระพุทธศาสนาสืบไป
>>ผู้มีเจตนาไม่สุจริต มักจะอยู่ไม่ได้นาน ก็จะมีเหตุให้ต้องออกไป
ยากที่จะยืนหยัดทำความดี โดยไม่หวั่นไหวต่อคำติฉิน นินทาใดๆ
>>คนในโลกนี้ส่วนมากคิดถึงตนเองก่อน ถ้าเป็นเพื่อผลประโยชน์ตนเอง
ก็ทุ่มเทเต็มที่แต่ถ้าเป็นเรื่องส่วนรวมก็ทำเล็กๆน้อยๆ เหยาะแหยะ
ผู้ที่มีใจใหญ่เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความดี ใหม่ๆจึงมักถูกมองว่าทำอะไรใหญ่โตเกินไป
คงมีวัตถุประสงค์แอบแฝง มองกันไปในแง่ร้าย
>>เราชาวพุทธเมื่อเห็นพระภิกษุรูปใดตั้งใจทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง
แม้เริ่มต้นเราอาจจะไม่เห็นด้วยในวิธีการ หรือรูปแบบก็อย่าเพิ่งไปตำหนิหรือด่าว่า
เพราะจะกลายเป็นวิบากกรรม คนที่ไปด่าพระภิกษุที่ทำความดีอย่างอุทิศชีวิตเหมือนพระโพธิสัตว์ผลกรรมนั้นน่ากลัวมาก
>>ตรงกันข้ามใครชอบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบไหน ก็ไปชวนคนให้มาปฏิบัติแบบที่ตัวเองชอบ
อย่าเอาเวลา สติปัญญา ความสามารถของเราไปใช้ในทางทำลาย ก่อบาป
แต่ให้เอามาใช้ในทางสร้างสรรค์กันดีกว่า จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาเจริญก้าวหน้าตัวเราก็จะได้ไม่มีกรรมหนักติดตัวด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น