วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ตอนพิเศษ : “อิคคิว” ที่เราเห็น VS “อิคคิว” ที่ท่านเป็น (1)



ถ้าจะกล่าวถึงการ์ตูนเณรน้อย “อิคคิว” 一休 ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้เด็กก็ตาม คงมีน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก
ในแต่ละตอน ไม่ว่าจะเป็น “ท่านโชกุน"



เพื่อนๆ เณรในวัดอย่าง "ชูเนน" 秀念



เจ้าของร้านขายของอย่าง “คิเคียวยะริเฮ” 桔梗屋利兵エ กับลูกสาวคนสวย “ยาโยอิ” 弥生
ซึ่ง “อิคคิว” ก็ใช้ “สมาธิ” ในการแก้ไขปัญหาได้ทุกครั้งไป
โดยมีคำติดปากที่ว่า “ใช้ 'หมอง...นั่ง ‘มาธิ” (ใช้สมอง...นั่งสมาธิ)



ในขณะเดียวกัน ก็มีเพื่อนๆ ผู้คอยอยู่เคียง “อิคคิว” อย่างซามูไร “ชินเอมอนซัง” 新右エ門さん
เด็กหญิง “ซาโยจัง” さよちゃん และ “หลวงพ่อ” (ไกคัง โอะโช 外観和尚) ผู้คอยสอนสั่ง “อิคคิว”

สำหรับฉากหลักที่ปรากฏอยู่ในเรื่อง คือ “วัดอังโคะขุจิ” 安国寺 วัดที่ “อิคคิว” อาศัยอยู่และปฏิบัติธรรม
และ “ปราสาทคิงคะขุ” 金閣 ที่เป็นที่พำนักของ “ท่านโชกุน”

สำหรับความยาวทั้งหมดของซีรี่นี้ก็ไม่มากไม่มาย รวมทั้งสิ้น 296 ตอนเท่านั้น T_T

แต่ทั้งหมดที่กล่าวมา...ไม่ว่าจะเป็นทั้งตัวละครหรือสถานที่ที่ปรากฏ ท่านคิดว่า
“มีปรากฏอยู่จริงหรือไม่ ?"

เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลย...
พร้อมหรือยังครับที่จะโลดแล่นไปในโลกแห่งจินตนาการและโลกแห่งความเป็นจริง ?
ถ้าพร้อมแล้ว...กระโดดขึ้น time machine ของ โดราเอมอน ย้อนไปสัก 600 ปีก่อนหน้านี้กันเลย !!



(โนบิตะ : คนละเรื่องแล้วพี่...)
(Jedi Consular : เอาน่ะ เอาน่ะ ยืมนิด อย่าทำงกเลย)
(โนบิตะ : แง...ฟ้องโดราเอมอนด้วย)
(Jedi Consular : ......)

มาเริ่มต้นกันที่... “ยุคสมัย” กันก่อน

เรื่องของ “อิคคิว” เกิดขึ้นใน “สมัยมุโรมาจิ” 室町時代 (พ.ศ.1879-2116 ; ค.ศ.1336-1573)
ซึ่งเป็นยุคที่ “โชกุน” เรืองอำนาจ มีอำนาจในการควบคุมเบ็ดเสร็จ
“จักรพรรดิ” ตกอยู่ในสภาพคล้ายกับหุ่นเชิดก็ไม่ปาน
(หากจะว่าไปแล้วตำแหน่ง “โชกุน” ถ้าเป็นในสมัยนี้ก็ประมาณ “ผู้บัญชาการทหารสูงสุด” น่ะครับ)

ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น...ยุคที่ “โชกุน” เรืองอำนาจมีอยู่ด้วยกัน 2 ยุคใหญ่ๆ คือ
“มุโรมาจิ” 室町時代 และ “เอโดะ” 江戸時代

สำหรับเรื่องของ “อิวคิว” ก็เป็นเรื่องราวในสมัย "มุโรมาจิ” นี้แหละครับท่านผู้ชม
สรุปว่า...เรื่องของ “ยุคสมัย” ในการ์ตูนนี้...จริง !!

เพี้ยนชนะเลิศ

มาต่อกันที่สถานที่ที่เป็นฉากหลักของเรื่อง คือ “วัดอังโคะขุจิ” 安国寺



วัดที่ “อิคคิว” ได้พำนักอาศัยและฝึกฝนตนเองตามหลักปฏิบัติของนิกาย “เซน” 禅
ในช่วงอายุระหว่าง 6-17 ปี กับเพื่อนๆ สหายเณร
คือ "วัดอังโคะขุจิ” ตามที่เนื้อเรื่องกล่าวไว้นั้น...

จริง !! แต่...แค่ครึ่งเดียวนะครับ (อ้าว...ไหงเป็นงั้น ??)

เพราะว่า “วัดอังโคะขุจิ” นั้น แท้ที่จริงแล้วมีอยู่ถึง 68 แห่งทั่วประเทศ (66ヶ国2島)
สำหรับ “วัดอังโคะขุจิ” ในเรื่อง เป็น 1 ใน 68 ดังที่กล่าวมา
แล้ว...ตรงไหนล่ะครับที่บอกว่า “จริงแค่ครึ่งเดียว”
ตรงนี้ครับ...ตรงที่ "วัดอังโคะขุจิ...ที่อิคคิวอยู่ในเรื่อง” กับ “วัดอังโคะขุจิ...ที่อิคคิวอยู่จริง” เป็นคนละวัดกัน !!

และนี่เป็น “ภาพสถานที่จริง” เมื่อเทียบกับในการ์ตูน คล้ายคลึงกันไหมครับ





ซึ่งปัจจุบันวัดนี้ก็ยังคงอยู่
อยู่ที่ จ.เกียวโต นี่เอง แต่อยู่นอกเมืองออกไป (อ.อายาเบะ 綾部市)

แต่แท้ที่จริงแล้ว “วัดอังโคะขุจิ...ที่อิคคิวอยู่จริง” ไม่ใช่ที่นี่ครับ...แต่อยู่ในตัวเมืองเกียวโตเลย
ผมเองพอมารู้เข้า ก็ถึงกับอิ้งไปชั่วขณะ เพราะสถานที่ของ "วัดอังโคะขุจิ...ที่อิคคิวอยู่จริง” นี้
นั่งรถผ่านบ่อยมากก...กกก
แต่ก็อีกละครับ..."วัดอังโคะขุจิ...ที่อิคคิวอยู่จริง” นี้ ปัจจุบันไม่เหลือสภาพดั้งเดิมแล้ว
คงเหลือเพียงร่อยรองทางประวัติศาสตร์เอาไว้เท่านั้น

สรุปว่า...เรื่องของ “วัดอังโคะขุจิ” ในการ์ตูนนี้...จริง...แต่ครึ่งเดียว !!

เพี้ยนกินมาม่า

จาก “วัดอังโคะขุจิ” เรามาต่อกันที่ “ปราสาทคิงคะขุ” 金閣 ของท่านโชกุนกันนะครับ...



ที่นี่เองปัจจุบันเป็น “วัด” ครับ ชาวไทยเรามักเรียกติดปากว่า “วัดทอง” บ้าง “วัดปราสาททอง” บ้าง
บางทีเรียก “วัดอิคคิวซัง” ก็มี

แต่แรกเดิมที...ไม่ได้เป็นวัดหรอกครับ เป็นสถานที่พำนักของท่านโชกุนในเรื่องนี้แหละ
แล้วก็ชอบนิมนต์ “อิคคิว” ไปแก้ปัญหาบ่อยๆ
ผู้สร้าง “ปราสาทคิงคะขุ” นี้ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน...ก็ท่านโชกุนท่านนี้อีกแหละครับ

ครั้นมาในภายหลัง ได้มีการยก “ปราสาทคิงคะขุ” ให้เป็นส่วนหนึ่งของวัดในนิกายเซน
ดังนั้น ปัจจุบันสถานที่นี้จึงเป็น “วัด" ในพระพุทธศาสนาไปแล้ว



สรุปว่า...เรื่องของ “ปราสาทคิงคะขุ” ในการ์ตูนนี้...เป็นเรื่องจริง !!

เพี้ยนแช๊ะ

เพื่อความต่อเนื่อง...มาต่อกันที่ “ท่านโชกุน” เจ้าปัญหากันเลยนะครับ...



“ท่านโชกุน” ในเรื่องดูแล้วเป็นคนที่ว่างๆ ไม่ค่อยมีอะไรทำ ชอบคิดปัญหายากๆ มาทดสอบ “อิวคิว"
แถมดูเป็นคนเอาแต่ใจตนเองอีก
แต่...”ท่านโชกุน” นี้เองที่เป็นคนรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น ซึ่งจากเดิมที่มีอยู่ 2 ราชวงศ์
ผู้คนแบ่งออกเป็น 2 ฝัก 2 ฝ่าย ท่านเป็นคนรวบรวมเข้ามาในปี พ.ศ.1935 (ค.ศ.1392)
(ดูไม่ออกเลย...หุหุหุ)

“ท่านโชกุน” นี้มีชื่อจริงในประวัติศาสตร์ว่า "อาชิคางะ โยชิมิทสึ" (足利義満)
เป็นโชกุนรุ่นที่ 3 ในสมัยมุโรมาจิ เป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ.1901-1951 (ค.ศ.1358-1408)



สรุปว่า... "ท่านโชกุน" นี้ก็มีจริง...แต่ จริงครึ่งเดียว !! (อีกแล้วครับท่าน)
ไหงเป็นงั้นละครับ ?? (งั้นก็เป็นอย่างงี้ละกัน)

อย่างที่บอกว่า “ท่านโชกุน” เป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ.1901-1951 (ค.ศ.1358-1408)
ครั้นต่อมาในภายหลังได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ ในเดือนธันวาคม พ.ศ.1937 (ค.ศ.1394)



สำหรับสาเหตุของการบวชนั้น ไม่ทราบว่าจะเป็นเพราะท่านเกิดกุศลศรัทธาหรือนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด
แต่ที่มีการกล่าวขานกันมากคือ ท่านต้องการให้ลูกชายสืบต่อเชื้อสายการปกครองระบอบโชกุนเป็นรุ่นที่ 4
ท่านจึงออกบวช และยกตำแหน่งโชกุนให้ลูกชาย แต่ลูกชายของท่านยังไม่เข้มแข็งพอ
ท่านจึงเป็นผู้ที่คอยควบคุมอยู่เบื้องหลังในเพศภาวะของนักบวชอีกชั้นหนึ่ง

แต่ “อิคคิว” พระเอกของเราเกิดในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.1937 (ค.ศ.1394) ปีเดียวกับที่ท่านโชกุนออกบวช
ในการ์ตูนเราจะเห็นว่า “อิคคิว” ไปพบ “ท่านโชกุน” ที่ “ปราสาทคิงคะขุ” บ่อยมาก
แต่ทว่าในประวัติศาสตร์ที่มีตามบันทึก พบว่า “อิคคิว” ไปพบ “ท่านโชกุน” เมื่ออายุ 8 ปี คือ พ.ศ.1945 (ค.ศ.1402)
หลังจากที่มาอยู่ที่วัดอังโคะขุจิได้ 2 ปี

ดังนั้น...ถ้า “อิคคิว” มาเจอ “ท่านโชกุน” ตัวเป็นๆ แล้วล่ะก็
จะไม่ใช่หน้าตาอย่างในภาพที่ปรากฏในการ์ตูนแล้วล่ะครับ จะต้องอยู่ในสภาพของ “นักบวช” เหมือนกัน

แต่ก็อีกล่ะ...ครั้นในการ์ตูนจะแสดงให้เห็นว่า “ท่านโชกุน” แม้ออกบวชแล้ว
แต่ยังคงมีอำนาจในการปกครองและอยู่เบื้องหลังของโชกุนรุ่นที่ 4 ผู้เป็นลูก เดี๋ยวเด็กๆ ก็งงไปกันใหญ่
ด้วยเหตุนี้...ทางผู้จัดทำคงทำออกมาให้เด็กๆ เข้าใจง่ายๆ กัน (กระมังครับ)

สรุปว่า...”ท่านโชกุน...ที่อยู่ในการ์ตูน" เป็นบุคคลจริงในประวัติศาสตร์
ต่างแต่ “ช่วงเวลา” ที่แสดงออกมา คลาดเคลื่อนจากประวัติศาสตร์ไปครับ
จึงกล่าวว่า “จริงครึ่งเดียว"


จากเรื่องราว สถานที่ บุคคลต่างๆ ที่ปรากฏในการ์ตูน “อิคคิว” กับความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์
ก็มีจุดที่ทั้ง “ใช่” และ “ไม่ใช่” อยู่ในตัว...นี่ถ้าไม่ได้ดูกันจริงๆ จังๆ ก็คงมีความเข้าใจที่ผิดๆ ติดไปยาว
เกี่ยวกับเรื่อง “อิคคิว” ที่เราเห็น กับ “อิคคิว” ที่ท่านเป็นไป
(นี่ก็เข้าใจผิดมาเป็นสิบๆ ปี...ประมาณว่าเข้าใจผิดจนลูกบวชได้แล้ว ประมาณนั้น)

และนี่เป็นตอนแรกของ “ตอนพิเศษ : “อิคคิว” ที่เราเห็น VS “อิคคิว” ที่ท่านเป็น"
ยังมีตัวเอกอีกหลายท่านไม่ยังไม่ได้นำมากล่าว...อย่างเช่น
ซามูไรผู้อยู่เคียงข้าง “ชินเอมอนซัง” 新右エ門さん
หรือเด็กหญิง “ซาโยจัง” さよちゃん
และ “หลวงพ่อ” (ไกคัง โอะโช 外観和尚) ผู้คอยสอนสั่ง “อิคคิว”
รวมถึงตัว "อิคคิว” เองด้วย...
แล้วมาติดตามกันต่อนะครับ



"อิคคิว อิคคิว”
"จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน พักเดี๋ยวนึงซิ นะคร้าบ"
「一休、一休」
「慌てない、慌てない、一休み、一休み」

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ 

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

กุมารทอง (ตอน 1)

จุดประสงค์ที่ตั้งกระทู้ เพื่อจะบอกว่า ใจผูกพันกับอะไรก็จะไปอยู่กับสิ่งนั้น
ผูกพันกับคนก็ไปอยู่กันคน  ผูกพันกับสิ่งของ ผูกพันกับสัตว์  ผูกพันกับวิชา
หรือผูกพันกับสิ่งที่ตัวนับถืออย่างไร มันก็จะไปอยู่อย่างนั้น

เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์จึงสอนให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น
ไม่ให้ผูกพันกับสิ่งใดที่ไม่เป็นสาระแก่นสาร
แต่ให้มาผูกพันกับพระรัตนตรัย  เพราะพระรัตนตรัยเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง

----------------------





กุมารทอง (ตอน 1)

เรื่องกุมารทอง  ไม่ไช่เป็นการเล่าเรื่องผี และไม่ใช่เป็นการเล่าวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน แต่เป็นเรื่องกฎแห่งกรรมที่นำมาเล่าสู่กันฟัง  เพื่อให้เห็นการเวียนว่ายตาย เกิดของมนุษย์ ที่เป็นไปตามการกระทำของตน และไม่น่าเชื่อแต่ก็เป็นความจริงว่า วิทยาศาสตร์ทางวัตถุกับวิทยาศาสตร์ทางใจจะเคียงคู่ไปด้วยกัน ในขณะที่โลกกำลังเจริญรุ่งเรืองด้วยเทคโนโลยี  แต่วิทยาศาสตร์ทางใจก็ไม่ได้ หายไปไหน และดูเหมือนว่ากำลังจะถูกบดบัง แต่ถึงอย่างไรก็บังไม่หมด ก็จะมีเคียงคู่กันไปอย่างนี้
 
กุมารทอง เป็นเรื่องที่น่าศึกษา เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นไปของชีวิตที่เกี่ยวข้องกับกฎแห่งกรรม  เป็น เรื่องของอดีตมนุษย์ในปรโลก ที่มีภพติดกับภพภูมิมนุษย์  ซ้อนกันอยู่อีกมิติหนึ่ง คือ อยู่ที่เดียวกับมนุษย์แต่ซ้อนกันอยู่ เหมือนกายมนุษย์ละเอียดซ้อนอยู่ในกายมนุษย์หยาบอย่างนั้น  

กุมารทองจะมีอายุยืนยาวกว่ามนุษย์ แต่สั้นกว่าอากาศเทวา สั้นกว่าชาวสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นต้น อายุจะอยู่ช่วงประมาณห้าร้อยถึงพันปีมนุษย์  ตายแล้วอาจจะเกิดซ้ำอย่าง เดิม  หรืออาจจะอยู่ถึงอายุในภพภูมินั้น หรืออาจจะไม่ถึง เหมือนมนุษย์มีอายุเฉลี่ย  ๗๕ ปี บางคนก็อยู่ถึง บางคนก็อยู่ไม่ถึง บางคนก็อยู่เกิน




วิบากกรรมที่ทำให้มาเกิดเป็นกุมารทอง

ก่อนอื่นเรามาดูวิบากกรรมที่ทำให้เป็นกุมารทอง คือ กรรมที่บางคนเคยทำแท้งสมัยเป็นมนุษย์   ชาติก่อนที่จะเป็นกุมารทอง เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ เคยทำแท้งเอาไว้ จึงทำให้ตายในท้อง แบบตายท้องกลม ตายทั้งแม่และลูก  เมื่อตายแล้วก็กลายเป็นผีเด็ก คือ ถ้าตายตอนเด็กก็เป็นผีเด็ก ตายตอนแก่เป็นผีแก่ ตายหนุ่มสาวก็ผีหนุ่มสาว และอีกวิบากกรรมหนึ่ง ตอนที่เป็นมนุษย์ชอบเรียนวิชาพวกนี้ด้วย ซึ่งก็เป็นภาพในอดีตชาติของตนครั้งยังเป็นมนุษย์ ที่ได้ไปผ่าท้องเอาเด็กออกมาทำตามขั้นตอนพิธีกรรม จึงทำให้ต้องมาเป็นกุมารทอง 

ไม่ใช่ว่าจะนำมาทำกุมารทองได้หมดทุกคน ต้องมีวิบากกรรมที่เคยทำเขาไว้ คือ วิบากกรรมทำแท้งจึงต้องมาตายในท้อง  ตายแล้วร่างก็ออกมาเป็นผีเด็ก   แล้วก็เคยไปเรียนวิชาพวกนี้มาก่อน  จึงมีคนที่เรียนวิชานี้ นำไปประกอบพิธีกรรมแบบที่ตัวเคยทำ  แล้วก็เรียกวิญญาณของตัวมาเลี้ยง ไว้  และก็นำมาใช้งาน โดยมีวิทยาธรเจ้าของวิชากำกับด้วยมนตร์  





วิทยาธรที่เป็นเจ้าของวิชา คือ อดีตมนุษย์ที่ชอบเรียนวิชานี้ ตายแล้วก็ไปเป็นวิทยาธรอยู่ที่ป่าหิมพานต์ และก็จะรักษาวิชาสืบต่อกันมาอย่างนี้ ควบคู่กับไปกับเทคโนโลยี  แต่ถ้าไม่มีกรรมด้านนี้ก็เรียกมาใช้งานไม่ได้ 

กุมารทองส่วนใหญ่ เป็นเด็กผมจุก นุ่งโจงกระเบน ไม่ใส่เสื้อ สวมสร้อยสังวาล ถูกเลี้ยงโดยผู้ที่มีวิชาไสยศาสตร์ วิชาที่เรียนนี้ ต้องใช้ศพคนตายท้องกลม คือ ตายทั้งแม่และลูก มีอยู่  ๒ ประเภท คือ ประเภทที่มีวิบากกรรมด้านนี้ จึงจะนำไปทำกุมารทองได้  และประเภทที่ไม่มีวิบากกรรมด้านนี้ ก็ไม่สามารถนำไปทำกุมารทองได้ ซึ่งถ้าไม่มีกรรมด้านนี้ทั้งแม่และลูกที่ตายก็จะไปเกิดตามกรรมของตน แต่ถ้ามีวิบากกรรมประเภทนี้ ก็จะดึงดูดให้ผู้ที่เรียนวิชาไสยเวทย์ที่เป็นมนุษย์นำไปใช้งาน  โดยมี อาจารย์วิทยาธรจะเป็นผู้กำกับ คอยแนะนำว่า ให้ไปเอาตรงนั้น ตรงนี้ ทำอย่างนั้น อย่างนี้ 


โปรดติดตามตอนต่อไป
[Spoil] คลิกเพื่อซ่อนข้อความกำเนิดกุมารทอง
การเลี้ยงดูกุมารทอง
ทรงเจ้าเข้าผีมาเป็นกุมารทอง
วิธีการเลี้ยง และใช้งาน กุมารทอง
วิธีการติดต่อกับกุมารทอง
สังคมของกุมารทอง
กุมารีทอง กุมารเทย กุมารีเทย
นางกวัก
ลูกกรอกสัตว์ และสัตว์ประหลาดต่าง ๆ
วิธีปลดปล่อยกุมารทอง
รู้ได้อย่างไรว่า...กุมารทองไปเกิดใหม่แล้ว
พิธีอัญเชิญเครื่องรางของขลังออกจากบ้าน
อาจารย์วิทยาธรที่รักษาวิชา...ได้รับประโยชน์อะไร  และมีผลเสียอย่างไร
ผลเสียจากการเลี้ยงกุมารทอง
ตี่จู๋เอี๊ยะ และ ศาลพระภูมิ
ผีถ้วยแก้ว
ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง
บทส่งท้าย บ๊ายบาย...กุมารทอง


ทรรศนะ...คุณครูไม่ใหญ่

=====

แล้วพวกลูกเทพ นี้เป็นกุมารทองประเภทหนึ่งหรือเปล่าครับ




เขาว่าไว้ว่า

รักยม คือ ต้นรักต้นยม
กุมารทอง จะทำมาจากวิญญาณเด็ก ปลุกเสกด้วยดิน 7 ป่าช้า มวลสารต่างๆ เป็นต้น
ตุ๊กตาลูกเทพ จะเป็นการอันเชิญดวงเทพมาอยู่ในตุ๊กตา ไม่มีมวลสารใดๆ โดยมีคนจะเป็นผู้ปลุกเสกตามวันเดือนปีเกิดวันตกฝากของเรา

ส่วนวิธีการดูแลนั้นก็จะแตกต่างจากกุมารทอง โดยจะได้รับส่วนบุญของเราจากการที่เราสวดมนต์ ส่วนเรื่องของการพาไปเที่ยวด้วย ไปไหนมาไหนด้วยนั่นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะ หรือคุณสมบัติของนิพพาน 40 อย่าง

เพราะดัดแปลงมาจากสูตร
ของพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

            [๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ย่างลงสู่สัมมัตต  นิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯ

            ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑  เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑

เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑  เป็นอย่างอื่น ๑ เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑

เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑ เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑ 

เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑ เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑

เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑ เป็นโทษ ๑ เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑

เป็นของหาสาระมิได้ ๑ เป็นมูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑ เป็นความเสื่อมไป ๑

เป็นของมีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑ เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ๑

เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑

เป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑

เป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑

====================
เอาง่ายๆเลยนะครับ ทุกอย่างที่ว่ามามันจะเป็นตรงข้ามกันหมด
เพราะนิพพานมันคือธรรมที่เข้าไปสงบระงับซึ่งสังขารทั้งปวง
เป็นธรรมสุงสุด เป็นบรมธรรม เป็นปรมัตถ์ธรรม


สรูปก็คือ นิพพานเป็นตรงกันข้ามกับขันธ์ 5 นั่นแหละครับ
 
====================

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระไตรปิฎกมีอะไรมากกว่าที่คิด ตอน 2


วันนี้ผมมีสิ่งที่น่าสนใจมาฝาก 3 เรื่องครับ คือ ท่านอน, ยาดองน้ำมูตรเน่า และ การผ่าตัดในสมัยพุทธกาล

1.นอนท่าไหนดีที่สุด ?

อ่านข่าวเจอมาครับ นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
กล่าวว่า ท่านอนที่ดีที่สุด คือ ท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก
และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ส่วนท่านอนตะแคงซ้ายจะช่วยลดอาการปวดหลังได้
แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน
อย่างไรก็ตาม ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่
เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร

ส่วนท่านอนคว่ำเป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ
เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน
ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ

แต่คนทั่วไปคนเรานิยมนอนหงาย การนอนหงายใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว
เพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ
เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก
ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น ด้วย

ในสังคีติสูตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ตอนหนึ่งว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะและมิทธะ
สารีบุตรจงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยแล้ว เราพึงพักผ่อน 
... ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น
แล้ว “ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงกระทำในพระทัยถึงสัญญาในอันที่จะเสด็จลุกขึ้น”

คำว่า สีหไสยาสน์ หมายถึง นอนอย่างราชสีห์ (ราชสีห์คือสัตว์ในป่าหิมพานต์ไม่ใช่สิงโตบนโลกมนุษย์นะครับ) 
“พระปรัศว์” แปลว่า “ข้าง” พูดง่ายๆ คือ พระองค์ทรงนอนตะแคงขวา นั่นเองครับ



ผมลองฝึกนอนดูแล้วครับ แรกๆก็ไม่คุ้น แต่พอทำไปสักระยะเป็นท่าที่สบายที่สุดและดีที่สุดจริงๆครับ
ลองดูนะครับ  เอหิปสฺสิโก  ลองพิสูจน์ดูครับ

2. ยาดองน้ำมูตรเน่ารักษาโรคได้จริงหรือ ?



มูตร แปลว่า น้ำปัสสาวะ คำว่า  “น้ำมูตรเน่า”Ž ก็คือน้ำมูตรนั่นเอง
เพราะร่างกายของคนเราได้ชื่อว่าเป็นสิ่งเปื่อยเน่า  น้ำมูตรที่ออกมาใหม่ ๆ
และรองเอาไว้ในทันทีทันใด ก็ได้ชื่อว่าเป็นน้ำมูตรเน่าเพราะออกมาจากร่างกายที่เปื่อยเน่า        

การนำน้ำมูตรเน่ามาทำเป็นยาจะทำโดยวิธีการดองด้วยตัวยาอื่น ๆ เช่น สมอ เป็นต้น
จึงมักจะเรียกว่า  “ยาดองน้ำมูตรเน่า”Ž ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆได้หลายชนิด 
น้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรคหลักของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งใน  “นิสสัย 4”Ž
ที่พระภิกษุจะต้องใช้เป็นประจำ ซึ่งพระอุปัชฌาย์จะบอกในวันบวชว่า 
“ให้อยู่โคนไม้เป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และฉันน้ำมูตรเน่าเป็นยา”Ž

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระภิกษุไว้ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ว่า 
“บรรพชาอาศัยน้ำมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต...Ž
และพระองค์ยังตรัสไว้ในสันตุฏฐสูตรว่า “น้ำมูตรเน่านั้นเป็นของหาง่าย และไม่มีโทษ”



น.พ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล กล่าวว่า มีการประชุมระดับโลก เกี่ยวกับน้ำปัสสาวะรักษาโรคแล้ว 3 ครั้ง
คือที่อินเดีย เยอรมนี และบราซิล มีรายงานว่า น้ำปัสสาวะรักษาอาการปวดข้อ ไมเกรน ภูมิแพ้ โรคเอสแอลอี
โรคปวดข้อรูมาตอยด์ แผลไฟไหม้ เบาหวาน มะเร็งลำไส้ใหญ่ ทารักษาเชื้อราตามผิวหนัง สวนล้างช่องคลอดแก้อาการตกขาว
น้ำปัสสาวะรักษาอาการปวดเรื้อรังได้ เช่น ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดไมเกรน ปวดเมื่อยไม่มีสาเหตุ
รักษาโรคภูมิแพ้ ผื่นคัน สะเก็ดเงิน มะเร็ง ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ใช้ผ้าชุบน้ำปัสสาวะปิดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ส่วนประกอบของปัสสาวะเป็นน้ำร้อยละ 95 ยูเรียร้อยละ 2.5 และสารอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.5
การใช้น้ำปัสสาวะบำบัดโรคอธิบายได้ด้วยหลักฮีโมโอพาธี หรือ “หลักพิษต้านพิษ”
เช่น ฉีดพิษงูทีละน้อย ๆ เข้ากระแสเลือดม้าจนได้ซีรั่ม หรือน้ำเหลืองม้ากลายเป็นเซรุ่มฉีดแก้พิษงู
นำพิษของต้นควินินที่ทำให้หนาวสั่นมาเป็นยารักษาไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น

นอกจากดื่มแล้ว น้ำปัสสาวะยังเอาทาแผลได้ด้วย มีคนทดลองแล้วหายจริงๆครับ
และมีกรณีศึกษาอื่นๆอีกเยอะครับเพื่อนๆลองศึกษาดูใน Youtube นะครับ  

ตัวอย่างครับ : น้องอุ๋มใช้น้ำฉี่ทาแผลหายเป็นอัศจรรย์

กรณีทาแผลน่าสนใจครับ เพราะเป็นการรักษาภายนอก ไม่ถึงกับดื่มเข้าไป ใครยังไม่กล้าดื่มจะทดลองวิธีนี้ก่อนก็ดีครับ 55555


3. การผ่าตัดในสมัยพุทธกาล



เพื่อนๆครับ ผมก็เพิ่งทราบว่า การผ่าตัดในประเทศไทยเกิดขึ้นช้ากว่าในสมัยพุทธกาลถึง 2,000 กว่าปีทีเดียวครับ
ข้อมูลที่ผมค้นเจอ คือ การผ่าตัดครั้งแรกของไทยเกิดขึ้น ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2378 สมัยรัชกาลที่ 3 
โดยได้มีการผ่าก้อนเนื้องอกที่หน้าผากของผู้ป่วยรายหนึ่งออก 

ส่วนการผ่าตัดที่มีชื่อเสียงที่สุดซึ่งทำให้คนไทยทั่วไปรู้จักการผ่าตัด คือ การผ่าตัดของหมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน
ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2379  ในวันนั้นหมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดโดยการตัดแขนของพระภิกษุรูปหนึ่งทิ้ง
เพราะพระรูปนี้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปืนใหญ่ระเบิดทำให้แขนเป็นแผลฉกรรจ์ จึงจำเป็นต้องตัดแขนทิ้งเพื่อรักษาชีวิตไว้

ส่วนการผ่าตัดในสมัยพุทธกาลเมื่อ 2,500 กว่าปีที่ผ่านมานั้น มีตัวอย่างบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก 2 ครั้งครับ



1). สมัยนั้นเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์คนหนึ่งป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่ 7 ปี
นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคน มารักษาก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้
แพทย์บางพวกได้ทำนายไว้ว่า เศรษฐีคนนี้จักตายในวันที่ 5 บางพวกทำนายไว้ว่าเศรษฐีจักตายในวันที่ 7
พระเจ้าพิมพิสารจึงให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ไปช่วยรักษาเศรษฐีท่านนี้  

เมื่อหมอชีวกตรวจดูอาการแล้ว จึงให้เศรษฐีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียง ถลกหนังศีรษะ เปิดรอยประสานกะโหลกศีรษะ
นำตัวสัตว์ที่อยู่ในศีรษะของเศรษฐีออกมาสองตัวแล้วแสดงแก่ประชาชนว่า
จงดูสัตว์ 2 ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง ใหญ่ตัวหนึ่ง โดยสัตว์ตัวใหญ่จะเจาะกินมันสมองของเศรษฐีในวันที่ 5
เมื่อมันกินมันสมองจนหมดเศรษฐีก็จักตาย

สัตว์ตัวเล็กจะเจาะกินมันสมองของเศรษฐีในวันที่ 7
เมื่อมันกินมันสมองจนหมดเศรษฐีก็จักตายเช่นกัน เมื่อหมอชีวกนำสัตว์ 2 ตัวนั้นออกแล้ว
จึงปิดแนวประสานกะโหลกศีรษะ เย็บหนังศีรษะ ทายาสมานแผล ให้เศรษฐีนอนพักฟื้นอยู่ 3 สัปดาห์จึงหายป่วย



2). ในสมัยนั้น บุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้
ทำให้ข้าวยาคูที่ดื่ม และข้าวสวยที่รับประทานไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก
ซูบผอม เศร้าหมอง ตัวเหลืองขึ้นๆ สะพรั่งด้วยเส้นเอ็น 

หมอชีวกจึงช่วยรักษาบุตรเศรษฐีนั้น เมื่อได้ตรวจดูอาการแล้ว จึงเชิญประชาชนให้ออกไปข้างนอก
ขึงม่าน มัดบุตรเศรษฐีไว้กับเสา แล้วทำการผ่าหนังท้อง ตัดเนื้องอกในลำไส้นั้นออก
สอดใส่ลำไส้กลับไว้เหมือนเดิม เย็บหนังท้อง ทายาสมานแผล ต่อมาไม่นานบุตรเศรษฐี ก็หายป่วยเป็นอัศจรรย์  



เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พระไตรปิฎกมีอะไรมากกว่าที่คิดใช่ไหมครับ 5555 โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ 

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

Social sanction สมัยพุทธกาล ยาวนานถึงยุคปัจจุบัน



เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ที่ถูกนางมาคันทิยา ที่ทำตัวเป็นขาใหญ่ในเมือง เจ๊คนนี้เคียดแค้นพระพุทธเจ้าจากเรื่องในอดีต มาจ้างให้คนอื่น ตามด่าพระพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ ต่างๆนานา ด้วยคำหยาบ เสียดสี หรือเยาะเย้ยก็ตาม เรียกว่าท่านไปที่ไหน เจ๊ก็ให้คนไปตามด่า



พระพุทธศาสนาในไต้หวัน ep.3: ปรมาจารย์อิ้นซุ่น(1)






ตัวอักษรจีนที่ผมนำมาเปิดหัวกระทู้ในวันนี้ เป็นตัวอักษรจีน緣อ่านว่า “หยวน”
緣 จะแปลว่ามูลเหตุก็ได้ พรหมลิขิตก็ได้ บุพเพสันนิวาสก็ได้
แต่สำหรับในพระพุทธศาสนา ในเรื่องดี ผมชอบแปลว่า
“สายบุญ”!

แม้เราอยู่ไกลกันเป็นพันลี้ ถ้ามีสายบุญด้วยกัน ยังไงก็มาเจอกันจนได้
แต่หากแม้เราไร้ซึ่งสายบุญ แม้นอยู่ตรงหน้ากัน เราก็มิอาจจะรู้จักกันได้
คุณเชื่อเรื่องสายบุญไหม?
คุณผูกสายบุญไว้กับพระพุทธศาสนาแน่นแค่ไหน?
วันนี้มาฟังเรื่องชาวจีน ที่ผูกสายบุญกับพระพุทธศาสนาไว้อย่างแนบแน่น
แล้วก็ส่งต่อสายบุญไปยังทั่วไต้หวัน และทั่วโลก !


หยิบกระบี่ขึ้นมา แล้วเดินตามข้าพเจ้ามาติด ๆ ณ บัดนี้เถิด

โลกนิยายกำลังภายในของกิมย้งได้กล่าวไว้ว่า
ก๊วยเซียง ลูกสาวของก๊วยเจ๋งที่ไปตั้งสำนักง้อไบ๊
เตียซำฮง ที่ไปตั้งสำนักบู๊ตึ๊ง
ก็ล้วนแต่เอาเคล็ดวิชาเก้าเอี๊ยง ที่ได้ฟังจากกักเอี๊ยงไต้ซือ
มาพัฒนาเป็นเคล็ดวิชาของสำนักตัวเอง ฉันใด

จตุรบรรพตรุ่นใหม่ในไต้หวัน
ไม่ว่าจะเป็นท่านซิงหวิน ตั้งวัดฝอกวงซาน
ท่านเจิ้งเหยียน ตั้งองค์กรพุทธฉือจี้
ท่านเซิ่งเหยียน ตั้งวัดฝากู่ซาน
ก็ล้วนแต่ได้แนวคิดมาจากปรมาจารย์ท่านหนึ่ง
มาพัฒนาเป็นจุดแข็งของสำนักตนเอง ฉันนั้นเช่นกัน !

พระพุทธศาสนาในไต้หวัน ep.3 ขอนำเสนอประวัติ และแนวคิดของพระภิกษุมหายานรูปหนึ่ง
ผู้ที่มีสายบุญอันแนบแน่นกับพระพุทธศาสนา
และเป็นผู้ขับเคลื่อนแนวคิด “พุทธศาสนามนุษย์นิยม人間佛教”
ไปสู่พุทธศาสนิกชนชาวไต้หวัน และกระจายไปยังหลายประเทศทั่วโลก
พระภิกษุผู้นี้มีนามว่า “ปรมาจารย์อิ้นซุ่น 印順導師”


แสวงหาสัมมาทิฏฐิชอบ 追尋正見
หมั่นประกอบตั้งศรัทธาให้คงมั่น確立正信
เพียรอดทนปฏิบัติมุ่งฝ่าฟัน 堅忍正行
สานสืบทอดธรรมอันเป็นสัจจาฯ 傳承正法

สี่ประโยคนี้ คือเป้าหมายที่ท่านอิ้นซุ่น พยายามทุ่มเททั้งชีวิต เพื่อให้บังเกิดขึ้น
ท่านไม่ใช่แค่ทำได้ แต่ทำได้ดีมาก ๆ เสียด้วย
ท่านอิ้นซุ่น มีชื่อเดิมว่า จางลู่ฉิน 張鹿芹 เกิดในปีค.ศ.1906
ที่มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน มณฑลเจ้อเจียงอยู่ตรงไหน ผมมีภาพชี้พิกัดครับ


จางลู่ฉิน ถือกำเนิดในครอบครัวที่ความพร้อมทางด้านการเงินไม่ค่อยดีนัก
แถมเป็นช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 พอดี
ชีวิตเด็กน้อยที่ดูแลตัวเองไม่ค่อยเป็น ไม่รู้การทำความสะอาด ไม่รู้จักการจัดข้าวของ
ยิ่งพวกเรื่องเสื้อผ้า ของเล่น ก็ไม่มีอย่างเพื่อน ๆ คนอื่นเขา
มีแต่ความโดดเดี่ยวเป็นเพื่อนสนิทที่ไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด
ไม่ว่าเจออะไรมา ก็ไม่กล้าจะเอ่ยปากระบายให้คนอื่นฟัง

ส่วนความสามารถของเด็กชายจางลู่ฉินน่ะหรือครับ
ไม่ถนัดวาดรูป
ไม่ถนัดดนตรี
ไม่ถนัดพละ
ไม่ถนัดหลายอย่างเลย
เหตุผลที่ไม่ถนัดก็เพราะไม่มีความสนใจ
แต่สิ่งที่สนใจเป็นพิเศษคือ “การอ่าน”

อ่านหนังสือทั้งของลัทธิเต๋า ปรัชญาจีนของเล่าจื๊อ จวงจื่อ
หนังสือพันธสัญญาเดิม พันธสัญญาใหม่ของคริสต์
เรียกว่าหนังสือเกี่ยวกับแนวปรัชญา ศาสนาที่พอจะหาได้ตรงแถวบ้านเกิด
จางลู่ฉินอ่านเรียบ!

จนวันหนึ่งเมื่อจางลู่ฉินอายุ 20 ปีเต็ม
ได้อ่านเจอ อักษรจีน คำว่า 佛法 (ฝอฝ่า) แปลว่า “ธรรมะ”
พอเห็นคำว่าธรรมะ ก็มีความรู้สึกคุ้นเคยมาก ๆ
คุณเคยเจอใครครั้งแรกแล้วรู้สึกว่าคนนี้คุ้นจังเลย
เหมือนเราเคยรู้จักเขามาก่อน ทั้ง ๆ ที่เจอกันครั้งแรกไหม?
อารมณ์นั้นล่ะครับ
จางลู่ฉินตื่นเต้น ที่ได้เจอเพื่อนคนใหม่ที่ชื่อว่า “ธรรมะ” แล้ว


ตัวอักษรตัวใหญ่ คือ ฝอฝ่า (ธรรมะ)



ในใจมีแต่ความกระหายอยากจะรู้ว่าธรรมะนั้นเป็นยังไงกันแน่
เลยไปตามวัดที่พอจะไปถึง อยากจะไปหาหนังสือธรรมะอ่าน
พอเปิดประตูวัดเข้าไป กลับเจอแต่คนจุดธูปขอให้พรพระ
ขอให้ชีวิตสงบสุข ให้แข็งแรง ให้ร่ำรวย เท่านั้น
แถมนักบวชที่อยู่ที่นั่น ก็ดูลักษณะไม่มีอะไรแตกต่างกับโยมที่มาไหว้พระเลย
คือเน้นพิธีกรรมทางศาสนาเป็นหลัก โดยไม่ได้ศึกษาว่า ธรรมะที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร

หันซ้าย หันขวาเจอตำราพระสูตรจีนเล่มหนึ่ง
ก็ยืมมาอ่านที่บ้านด้วยความกระหาย
แต่เนื่องจากในวัยเด็ก จางลู่ฉินเรียนหนังสือมาน้อย
ดังนั้นการอ่านพระสูตรจีน จึงเป็นเรื่องยาก
ยากจริง ๆ นะคุณ ผมเคยไปเปิดอ่านดู
หน้าแรกจะทำให้ตาพร่า
หน้าที่สองจะทำให้มึน ๆ
หน้าที่สามสติจะหายไป
เหมือนมีค่ายกลอะไรอยู่ในนั้น
คือต้องบอกก่อนว่าศัพท์ทีใช้ในพระไตรปิฎกจีน เป็นศัพท์โบราณ
แล้วก็เป็นภาษาคัมภีร์ อ่านยากกว่าภาษาปัจจุบันเยอะเลย
แต่สิ่งที่เป็นเรื่องยากนั้น กลับทำให้จางลู่ฉินยิ่งรักที่จะอ่านพระไตรปิฎกมากขึ้น


มีอยู่วันหนึ่ง หนุ่มน้อยจางลู่ฉิน ไปเจอหนังสือพจนานุกรมอธิบายศัพท์พระพุทธศาสนาเล่มหนาเล่มหนึ่ง
อยากได้มาก แต่ไม่มีเงินจะซื้อ แล้วจะทำยังไง?
เป็นคุณ ๆ จะทำยังไง เมื่อไม่มีห้องสมุดให้ยืมหนังสือได้
ไม่มีเครื่องถ่ายเอกสารด้วย
ถึงมีเครื่องถ่าย ก็คงไม่มีตังค์ที่จะใช้จ้างถ่ายอยู่ดี ?
แต่จางลู่ฉิน ไม่ท้อเลย ไม่ได้มองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรค ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนา
เขาไปสอบถามเพื่อนแต่ละคน จนรู้ว่ามีคนหนึ่งที่มีพจนานุกรมเล่มนี้
เลยไปยืมเพื่อน ยืมมาจดศัพท์ที่ไม่เข้าใจรึ?
ไม่ใช่หรอก เขายืมมาเพื่อมาคัดลอกศัพท์ทีละตัวๆ ด้วยลายมือของตนเอง จนจบเล่ม !
พจนานุกรมนะคุณ ไม่ใช่ โปสเตอร์ที่ภาพเยอะ ๆ ตัวอักษรน้อย ๆ


พจนานุกรม ฉือหยวน 辭源 ที่จางลู่ฉินคัด



การคัดลอกศัพท์ก็ไม่ใช่การคัดแบบตะบี้ตะบันส่งคุณครู
แต่เป็นการอ่านไป ทำความเข้าใจไป ตกผลึกความคิดไป
ดังนั้นมือก็เขียนไป ตาก็มองไป สมองก็คิดไป
ใจก็ดื่มด่ำไปกับรสพระธรรมที่ผ่านตัวอักษรตัวแล้วตัวเล่า
จนการคัดลอกศัพท์พระพุทธศาสนาครั้งนี้ได้ทำให้ความเข้าใจในธรรมะของจางลู่ฉินก้าวหน้าไปอีกขั้น


ชีวิตของมนุษย์นั้น เมื่อได้มา ก็สูญเสีย เมื่อมีเจอ ก็มีจาก
นี่เป็นเรื่องที่เราทุกคนรู้กันอยู่แล้ว
แต่พอเจอเข้ากับตัว หลาย ๆ คนก็รับไม่ได้ หลายคนรับไม่ทัน
แล้ววันนั้นก็มาถึงตัวของจางลู่ฉิน
เมื่อเขาอายุได้ 23 ปี มารดาอันเป็นที่รักของเขาได้ละโลกไป
ผ่านไปอีกปี พ่อก็ป่วยและเสียชีวิตไปอีก
ในสองปีนี้เขาพยายามแสวงหาหมอมารักษาบิดา และมารดา
แต่ก็ไม่เป็นผล....

ความโศกเศร้าเสียใจปกคลุมใจของจางลู่ฉินเสียสนิท
แต่ก็เพราะความโศกเศร้านี่ล่ะ ที่เป็นกัลยาณมิตรชี้แนะให้เห็นชัดความไม่เที่ยงของชีวิตมนุษย์
การสูญเสียกลับเป็นการหลอมละลายกาย และใจของจางลู่ฉิน ให้เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมะ
จนตัดสินใจอยากจะออกบวชในที่สุด...

สำหรับจางลู่ฉินแล้ว การบวชไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ลำพังแค่หาที่จะบวชก็ยากแล้ว
เพราะธรรมะในชนบทที่เขาอยู่นั้น ช่างหาศึกษาได้ยากจริง ๆ
แต่มันต้องมีสิ จะต้องมีที่ใดที่หนึ่ง ที่เป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนา ธรรมะรุ่งเรืองแน่ ๆ

ถึงตอนนี้ดูเหมือนสายบุญที่จางลู่ฉิน ได้ทำเอาไว้กับพระพุทธศาสนาในอดีต
จะได้โอกาสทำหน้าที่แล้ว สายบุญค่อย ๆ ดึงเขาไป ๆ
จนวันหนึ่งได้เห็นแผ่นประชาสัมพันธ์วิทยาลัยสงฆ์เป่ยผิงผูถี北平菩提佛學院
ที่อยู่ในมณฑลปักกิ่งในปัจจุบัน กำลังรับสมัครนักเรียน
ข่าวนี้เหมือนกับประทีปสว่างที่ถูกจุดขึ้น ในยามท้องฟ้าอันธการ เพื่อจางลู่ฉินโดยแท้

เขารีบเขียนจดหมายสมัครสอบทันที
และไม่นานก็ได้จดหมายตอบรับว่าสอบผ่าน
ให้เข้าเรียนได้ !

จางลู่ฉิน อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน เพื่อที่จะรอฟังข่าวว่าเมื่อไหร่จะเปิดเรียน
อยากศึกษาธรรมะ อยากศึกษาธรรมะ อยากศึกษาธรรมะ !
ยิ่งรอ ยิ่งร้อนรน จนในที่สุดอดรนทนไม่ไหว
จึงรีบเดินทางทางทะเล เพื่อจะไปปักกิ่ง ก่อนที่จะเปิดเรียน
บุกเดี่ยวไม่มีใครที่รู้จักไปด้วย นี้เป็นครั้งแรกของจากลู่ฉิน ที่ออกเดินทางไกลขนาดนี้
และการเดินทางในครั้งนี้ ก็เป็นการจากบ้านเกิด โดยไม่ได้กลับไปอีกเลย


ส่วนสายบุญจะทำหน้าที่พาจางลู่ฉิน ไปพบธรรมะที่เขาปรารถนาไหม?
แล้วความปรารถนาที่จะบวชของเขาจะสำเร็จเมื่อใด?

โปรดติดตามตอนต่อไป
แล้วเจอกันใหม่ครับ ไจ้เจี้ยน 再見

พระพุทธเจ้าคือ เซนต์โจซาฟัต ในศาสนาคริสต์ จริงหรือไม่

เห็นในวิกิพีเดียอังกฤษลงไว้


Western world

The Christian Saint Josaphat is based on the Buddha. The name comes from the Sanskrit Bodhisattva via Arabic Būdhasaf and Georgian Iodasaph. The only story in which St. Josaphat appears, Barlaam and Josaphat, is based on the life of the Buddha. Josaphat was included in earlier editions of the Roman Martyrology (feast day 27 November) — though not in the Roman Missal — and in the Eastern Orthodox Church liturgical calendar (26 August).

In the ancient Gnostic sect of Manichaeism, the Buddha is listed among the prophets who preached the word of God before Mani.
https://en.wikipedia.org/wiki/Gautama_Buddha#Other_religions


Christianity
The Greek legend of "Barlaam and Ioasaph", sometimes mistakenly attributed to the 7th century John of Damascus but actually written by the Georgian monk Euthymius in the 11th century, was ultimately derived, through a variety of intermediate versions (Arabic and Georgian) from the life story of the Buddha. The king-turned-monk Ioasaph (Georgian Iodasaph, Arabic Yūdhasaf or Būdhasaf: Arabic "b" could become "y" by duplication of a dot in handwriting) ultimately derives his name from the Sanskrit Bodhisattva, the name used in Buddhist accounts for Gautama before he became a Buddha.[10][11] Barlaam and Ioasaph were placed in the Greek Orthodox calendar of saints on 26 August, and in the West they were entered as "Barlaam and Josaphat" in the Roman Martyrology on the date of 27 November.
https://en.wikipedia.org/wiki/Gautama_Buddha_in_world_religions

https://en.wikipedia.org/wiki/Buddhism_and_Christianity

จากบทความอื่นที่เคยมีการวิเคราะห์ไว้

ในคัมภีร์โบราณ แห่งวินัย โดยคริสต์ คาทอลิกเซ้นท์ ชื่อว่า " เจตสิก มิเนอิ ( Cheixi Minei) " หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า คัมภีร์ " เบอร์ลัม ( Burlam ) " มีว่า

"...หลายศตวรรษนานมาแล้ว มีดินแดนที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง เรียกว่า " ศรีอินเดีย (Serindia) "
ซึ่งได้ถูกปกครอง โดยพระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า " อะวีเนีย ( Avenir ) " พระราชโอรสของ พระองค์ทรงพระนามว่า " โจอาซาฟ ( Joasaphat ) " เป็นผู้มีมีคุณลักษณะ อันประเสริฐประจำพระองค์หลายประการ ซึ่งเป็นเครื่องหมาย อันแสดงถึงการพัฒนาอำนาจจิต ที่สูงส่ง พระราชาได้ ให้บรรดานักบวช และโหราจารย์ทั้งหลายมา ทำนายอนาคต ของราชโอรสของพระองค์ พวกเขาได้พิจารณา ลักษณะรูปร่าง ของราชโอรสแล้วทำนายว่า เจ้าชาย โจอาซาฟ ผู้นี้จะเป็นผู้ที่มีอำนาจ อย่างยิ่งใหญ่ มากกว่าบรรพบุรุษทั้งหลาย ของพระองค์ แต่มีโหราจารย์ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่ได้เรียนรู้ วิชาโหราศาสตร์ เชี่-ย-วชาญ กว่าผู้อื่น ได้ทำนายว่า " เจ้าชาย โจอาซาฟ จะได้เป็นพระราชา แห่งอาณาจักร ทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ กว่าใคร ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด "

เจดีย์ ทรง จานบิน สองพันปี เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของอินเดีย


มหาสถูปแห่งเกสเรีย มีการค้นพบเมื่อปี1998 เป็นสถานที่ทางโบราณคดีที่สำคัญมาก ห่างจากเมืองกุสินารา 120 กิโลเมตร (ตรงจุดที่ตั้งเป็นจุดที่อยู่ของชาวกาลามชนแคว้นโกศล ที่ๆพระพุทธเจ้าเคยแสดงธรรมกาลามสูตร)

https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2

มีความเชื่อสองอย่างอย่างแรกคือคนสมัยก่อนเห็นจานบินแล้วเอามาสร้างเพราะชอบ เรียกเจดีย์ลักษณะนี้(หมายถึงธรรมกายเจดีย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้) ว่าจานบินเพราะพูดตามๆคนที่มีความคิดเป็นลบต่อลักษณะเจดีย์ที่ตัวเองไม่เคย เห็นมาก่อน

ความเชื่อที่สอง เป็นคนไม่ติดในเรื่องสถาปัตยกรรมและคิดว่าเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปล้าน องค์และสามารถดำรงอยู่ได้เป็นพันปีเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงศรัทธาของคน สมัยก่อนและทำให้พระพุทธศาสนามีอายุยืนยาว





ผมไม่ค่อยชอบความคิดแบบแรกเท่าไหร่ เพราะแปลว่ามนุษย์ต่างดาวมาเยือนโลกตั้งแต่สองพันปีมาแล้ว
คุณว่ามันตลกไหมล่ะ แต่ผมคงห้ามไม่ได้หรอก ใครอยากเรียกต่อไปก็เอาที่สบายใจล่ะกัน

ปล.รูปที่เปรียบเทียบกันมันเหมือนกันโดยบังเอิญเกินไปว่าไหม



วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัดพระธรรมกาย อาจจะไม่ใช่วัดที่ดีเลิศสมบูรณ์ที่สุด

 

เปิดประเด็น ครับ กับคุณ "แม่" ทัศนคติ เรื่องวัดพระธรรมกายนิดนึงครับ






เรื่องปูพื้นฐาน บาป-บุญ-คุณ-โทษ วัดทำได้ดีจริงครับ ผมยังไม่เคยเห็นที่ไหนทำได้ผลขนาดนี้มาก่อนเหมือนกัน

และขอบคุณที่แยกแยะ เรื่องดีก็ชม เรื่องไม่ดีก็ท้วงติงครับ

ผมตอบตามที่เห็นมาตลอด 30 ปีนะครับ

ความจริงเวลาคนพูดถึงวัด ก็มักจับเอาสิ่งที่เห็นในปัจจุบันมาว่ากันเลย เช่น วัดใหญ่ คนมาก กิจกรรมเยอะ เงินทำบุญมาก เป็นต้น คือเห็นตอนที่วัดโตแล้ว

แต่ถ้าอยากรู้จักวัดนี้จริง ๆ ต้องไปดูพัฒนาการมาตั้งแต่ต้นครับ คือ ตั้งแต่วัดยังไม่เป็นวัด ยังไม่มีอะไร แล้วภาพมันจะชัด การทำความเข้าใจวัดจะง่ายและถูกต้องยิ่งขึ้น

ถ้าเล่าก็จะยาวไป ขอแลกเปลี่ยนเท่าที่ได้ก่อนนะครับ

วิชชาธรรมกาย เป็นวิธีปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4

วิชชาธรรมกาย เป็นวิชชาที่พระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้ค้นพบ วิธีเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ให้ถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์ ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการปฏิบัติอย่างชัดเจนภายหลังจากพุทธปรินิพพานประมาณ 500 ปี

วิชชาธรรมกายเป็นวิธีปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 มีวิธีปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนชัดเจน ให้ถึงธรรมกาย ให้เกิดอภิญญา และวิชชา คือความรู้ความสามารถพิเศษ ได้แก่ วิชชา 3 วิชชา 8 (รวมอภิญญา 6) ชื่อว่า "วิชชาธรรมกาย" ให้เข้าถึงและรู้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม สามารถให้ทั้งเห็นและทั้งรู้สภาวธรรมทั้งสังขารและวิสังขารคือพระนิพพาน และเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานคู่กัน เป็นพื้นฐานสำคัญแก่การเจริญวิปัสสนาปัญญาถึงโลกุตตรปัญญา ได้อย่างดี จึงเป็นวิธีปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง

วิชชาธรรมกายที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำสั่งสอนศิษยานุศิษย์จนตลอด ชีวิตของท่าน และได้ถ่ายทอดสืบต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน

ความลับของความรัก ตอน เจ้าชายสิทธัตถะกับพระนางพิมพา อธิษฐานขอเคียงคู่สร้างบุญบารมีร่วมกันทุกชาติไป

เจ้าชายสิทธัตถะกับพระนางพิมพา
อธิษฐานขอเคียงคู่สร้างบุญบารมีร่วมกันทุกชาติไป


          พระนางพิมพานั้นทรงติดตามเป็นคู่บารมีพระโพธิสัตว์ ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุข และร่วมสร้างบารมีมากับพระโพธิสัตว์ยาวนานกว่าสตรีอื่น ด้วยผลจากการที่พระนางได้อธิษฐานจิตขอติดตามสร้างบารมีกับพระโพธิสัตว์ เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเป็นฤาษีนามว่าสุเมธดาบส และพระนางชื่อสุมิตตาพราหมณี พระนางเลื่อมใสในการอุทิศร่างกายของตนทอดบนโคลนตมเป็นทางให้พระทีปังกรสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงย่างผ่านของพระโพธิสัตว์ถึงกับเอ่ยวาจาว่า

พระไตรปิฎกมีอะไรมากกว่าที่คิด ตอน 1




เมื่อพูดถึงพระไตรปิฎก เพื่อนๆคิดถึงอะไรครับ
ของขลังที่อยู่ในตู้เก่าๆ อะไรบางอย่างที่เอาไว้โชว์ ...
เมื่อก่อนตอนไปวัด เห็นพระไตรปิฎกอยู่ในตู้ ไม่เคยนึกอยากหยิบมาอ่านเลย
แม้พระภิกษุเอง ผมก็ไม่ค่อยเห็นอ่านกัน ญาติโยมที่ไปวัดยิ่งแล้วใหญ่
พระไตรปิฎกจึงถูกเก็บไว้เฉยๆ และก็ผุพังไปตามกาลเวลา .... น่าเสียดาย
แต่หนังสือฝรั่ง กลับขายดีครับ .... คนไทยเห่อของนอก 5555

มีคนกล่าวว่า พระไตรปิฎกเปรียบเสมือนภูเขาทองที่กองอยู่อย่างเปิดเผย แต่ไม่ค่อยมีใครเหลียวแล
ผมว่า จริงนะ
เพราะหลังจากที่ผมได้ไปวัด ฟังพระเทศน์มากเข้า
พระยกเอาพระสูตรนั้นพระสูตรนี้มาเล่าให้ฟัง น่าสนใจครับ จึงลองเอาพระไตรปิฎกมาอ่านดู
ผมถึงกับ อึ้ง ครับ อ่านไปอ่านมา โห ความรู้ในพระไตรปิฎกกว้างขวางและลึกซึ้งมากครับ
ผมไม่ได้เชี่ยวชาญนะครับ
เพียงแต่ชอบอ่านและพยายามเอาความรู้ต่างๆมาเปรียบเทียบและเชื่อมโยงกัน



จะยกตัวอย่างเรื่อง “การแพทย์ในพระไตรปิฎก” ครับ

เพื่อนๆครับ รู้ไหม การดีท็อกซ์ (Detox) มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วครับ
ดีท็อกซ์ (Detox) มาจากคำว่า ดีท็อกซิฟิเคชั่น (Detoxification)
หมายถึง การกำจัด  “ท็อกซิน” หรือพิษออกจากร่างกาย 
การที่เรารับประทานอาหารไม่ถูกหลักอนามัยเป็นระยะเวลานาน ๆ
จะทำให้สารพิษสะสมอยู่ในร่างกายจึงจำเป็นต้องขับออก 

มีบันทึกไว้ว่า สมัยพุทธกาลทายกทายิกาในพระนครเวสาลีจัดปรุงอาหารประณีตขึ้นตามลำดับ
ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารนั้นแล้ว มีโทษสั่งสมในร่างกายมาก จึงมีอาพาธมาก         
หมอชีวกโกมารภัจจ์เห็นภิกษุมีอาพาธมาก จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
กราบทูลว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย มีโทษสั่งสมในร่างกายมาก ทำให้มีอาพาธมาก
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้โปรดทรงอนุญาต  “ที่จงกรม” และ  “เรือนไฟ” เถิด
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลายจักมีอาพาธน้อย 

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  “เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ”         

การจงกรมถือเป็นการออกกำลังกายวิธีหนึ่ง เพราะต้องเดินกลับไปกลับมาหลายรอบ
ทำให้ร่างกายได้ออกกำลังเป็นเหตุให้เหงื่อออก พิษต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในร่างกายก็จะถูกขับออกด้วยเหงื่อนั้น



เรือนไฟ หมายถึง โรงเรือนสำหรับอบร่างกายของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล
การอบร่างกายก็เป็นการขับพิษอีกวิธีหนึ่ง เพราะการอบจะทำให้เหงื่อออกมาก
พิษในร่างกายก็จะถูกขับออกมาพร้อมกับเหงื่อ       

เรือนไฟที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เป็นอาคาร มีฝาผนังโดยรอบ
มีประตูเข้าออก 1 ประตู ภายในเรือนไฟมี  “เตาไฟ” สำหรับจุดไฟเพื่ออบร่างกาย
ถ้าเรือนมีขนาดใหญ่จะตั้งเตาไฟไว้ตรงกลาง
ถ้าเรือนไฟมีขนาดเล็กจะตั้งเตาไฟไว้ข้างใดข้างหนึ่ง 
และมีปล่องควันอยู่บนหลังคาเพื่อระบายควันออก         

ภายในเรือนไฟยังมี  “อ่างน้ำ” หรือ  “รางน้ำ” เพื่อให้ความชุ่มเย็น
ช่วยลดความร้อนจากเตาไฟ ในบริเวณรอบ ๆ เตาไฟก็จะมี  “ตั่ง” สำหรับให้พระภิกษุนั่งเพื่ออบร่างกาย          
ในบริเวณใกล้เรือนไฟพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังอนุญาตให้สร้าง  “ศาลาเรือนไฟ”  “บ่อน้ำ” และ  “สระน้ำ” ไว้ด้วย
สำหรับให้พระภิกษุปฏิบัติกิจหลังจากออกจากเรือนไฟแล้ว  เช่น  ซักจีวร ตากจีวรและสรงน้ำ เป็นต้น
โดยสระน้ำนั้นจะเป็นที่สำหรับให้พระภิกษุลงอาบชำระล้างร่างกายหลังจากออกจากเรือนไฟ  

เรือนไฟ คืออะไรครับ เมื่อเปรียบเทียบกับยุคนี้ 5555
ซาวน่า (Sauna) ไงครับ

ซาวน่า (Sauna) แปลว่า  “การอบไอน้ำ” เป็นวิธีล้างพิษที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นวิธีชักนำให้ร่างกายขับเหงื่อโดยใช้ความร้อน ตามด้วยการอาบน้ำหรือแช่ร่างกายด้วยน้ำเย็น
การทำซาวน่าจะช่วยล้างพิษที่อยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของร่างกายได้อย่างสะอาด
ซาวน่า (Sauna) ก็เป็นการดีท็อกซ์ (Detox) คือ "ขับพิษ" ออกทางเหงื่อครับ



ส่วน ดีท็อกซ์ (Detox) อีกวิธีที่นิยมกันคือ ล้างลำไส้ด้วยการสวนกาแฟ เพื่อกระตุ้นให้ขับถ่าย ครับ
ใครเคยทำยกมือขึ้น 5555



ในสมัยพุทธกาล ก็มีครับ แต่เจ๋งกว่ามาก ไม่ต้องใช้กาแฟ แต่ใช้ “ก้านบัวอบด้วยยา” ครับ
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกับพระอานนท์ว่า กายของตถาคตหมักหมมไปด้วยโทษ ตถาคตต้องการจะฉันยาถ่าย
พระอานนท์จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่หมอชีวกโกมารภัจจ์

หมอชีวกคิดว่า การที่เราจะพึงทูลถวายพระโอสถถ่ายที่หยาบแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่สมควรเลย
เราควรอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วทูลถวายพระตถาคต        
ท่านจึงอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วนำไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมทั้งกราบทูลว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสูดก้านอุบล 1 ก้าน จะทำให้พระองค์ถ่ายถึง 10 ครั้ง
เมื่อทรงสูดก้านอุบลครบทั้ง 3 ก้าน ก็จะทรงถ่ายถึง 30 ครั้ง          

เมื่อท่านถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเสร็จแล้ว
ขณะเดินกลับไปถึงนอกซุ้มประตูท่านนึกขึ้นได้ว่า
พระกายของพระตถาคตหมักหมมไปด้วยโทษ จะทรงถ่ายไม่ครบ 30 ครั้ง
แต่เมื่อทรงถ่ายครั้งที่ 29 แล้ว ได้สรงพระกาย ก็จะทรงถ่ายอีกครั้งหนึ่งจึงจะครบ 30 ครั้ง          

พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดนั้นของชีวกโกมารภัจจ์
พระองค์จึงทรงปฏิบัติตามนั้น จึงถ่ายครบ 30 ครั้ง
เมื่อทรงถ่ายครบแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลว่า ช่วงนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ควรเสวย  
พระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่าง ๆ จนกว่าจะมีพระกายเป็นปกติ 
ต่อมาไม่นานพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หายเป็นปกติ





วิธีการของตาหมอชีวกนั้นนะ  ดีท็อกซ์ ชัดๆครับ
แต่ต้องค้นต่อว่า ยาที่เอามาอบด้วยก้านบัว ประกอบด้วยอะไรบ้าง ถ้าเพื่อนๆมีข้อมูล เอามาแชร์หน่อยนะครับ 5555

การแพทย์ในพระไตรปิฎก ยังไม่จบเท่านี้นะครับ โปรดติดตามภาค 2 ครับ อิอิ