วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พระทำอาหารได้ด้วยหรือ ? แล้วหลวงจีนทำอาหารได้ยังไง ?

ผมเป็นคนนึงที่มีคำถามในใจว่า

พระทำอาหารได้หรือไม่ ?
ทำไมหลวงจีนทำอาหารได้ ?
พระที่3จังหวัดชายแดนได้อาหารแห้งแล้วจะนำไปฉันยังไง ?


เราอาจจะเคยเห็นในหนังกำลังภายใน
ที่มีพระเอกไปฝึกวิชากับหลวงจีนเส้าหลินโดยเริ่มต้นจากหั่นผักในครัว



แต่ว่าสำหรับพระเถรวาทอย่างในประเทศไทย พระทำอาหารได้หรือไม่
คำตอบในใจค่อนข้างจะชัดเจนว่าไม่ได้เพราะ ... ไม่เคยเห็น
ที่ผ่านมาเห็นแต่พระบิณฑบาต จึงลองไปหาข้อมูลในพระวินัยได้ความว่า



กัปปิยะ   = สมควรกับสมณะสารูป เช่น ปัจจัยสี่
อกัปปิยะ = ไม่สมควรกับสมณะสารูป


แล้วหลวงจีนทำอาหารได้ยังไง ?




พอค้นต่อไปอีกหน่อย พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ
ช่วงที่เกิดทุกขภิกขภัยข้าวยากหมากแพงในกรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้
- เก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่
- ให้หุงต้มอาหารในที่อยู่
- ให้หุงต้มเองได้
แต่เมื่อบ้านเมืองกลับสู่สภาพปกติ ก็ทรงยกเลิกข้อยกเว้นเรื่องทุพภิกขภัย



หลังจากเอาข้อมูลมารวมกับที่เคยฟังพระเทศน์เรื่องกุศโลบายในพระพุทธศาสนาทางฝ่ายมหายาน
ท่านเล่าให้ฟังว่าในจีนวัดส่วนใหญ่อยู่บนยอดเขาเดินทางลำบาก
ประกอบกับในช่วงแรกคนจีนไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา
จึงมีกลุ่มโจรมาคอยปล้นระหว่างทางทำให้การเดินทางมาบิณฑบาตไม่ปลอดภัยทั้งของพระและโยม

คาดว่าท่านคงจะอุปมาว่านี่ก็เป็น ทุพภิกขภัย เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงอย่างหนึ่ง
เลยไปดึงข้อยกเว้นที่พระพุทธเจ้าริบคืนไปแล้วกลับมาใช้ใหม่
จากนั้นก็ทำต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้



พอได้ฟังเคสของพระในจีนแล้ว ทำให้มองกลับมาที่สถานการณ์ใกล้ตัว เรื่องพระทำอาหาร
เห็นหลายๆหน่วยงานเขาจัดตักบาตร ได้ข้าวสารอาหารแห้ง ส่งไปช่วยเหลือ
วัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส



เมื่อมีผู้ก่อความไม่สงบ ทำให้พระไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ตามปกติ

ถึงแม้จะไม่เรียกว่า ทุพภิกขภัย แต่ก็น่าจะประเมินได้ว่า
อยู่ในสถานการณ์ที่มีความอันตรายต่อชีวิต คงพออนุโลมได้เหมือนกัน
เพราะถ้าจะให้เลือกระหว่างออกไปบิณฑบาตแล้ว เสี่ยงทั้งพระและโยม (ทหารที่คอยเดินตามด้วย) กับ ปลงอาบัติ 
การเลือกในวิธีการอย่างหลังน่าจะเหมาะกว่านะครับ




เขียนไปเหมือนจะเริ่มต้นที่พระไตรปิฏก แล้วมาจบด้วย ความไม่สงบได้ยังไงก็ไม่รู้
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ
(เห็นข้อมูลใน blog น่าสนใจเลยเอามายำรวมกับสถานการณ์ใกล้ตัวในปัจจุบันดูซะหน่อย)


ข้อมูลจาก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/5.3.html
http://www.dhammahome.com/webboard/topic3762.html
http://www.84000.org/tipitaka/read/?5/49

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น