วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ความเข้าใจผิด เรื่อง การปล่อยวาง
<<เราจะคิดอย่างไรหากพบกรณีอย่างนี้>>
** เด็กปล่อยห้องรกเป็นรังหนู ขยะเกลื่อน พอผู้ใหญ่เตือนก็บอก อย่าไปยึดมั่นถือมั่น ต้องรู้จักปล่อยวาง ทุกอย่างอยู่ที่ใจ
** โจรใต้ต้องการแบ่งแยกดินแดน แล้วมีคนพูดว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา
ไม่ใช่ของของเรา อย่าไปยึดมั่นถือมั่น ต้องรู้จักปล่อยวาง ยกให้เขาไปเถิด
** มีคนลบหลู่ดูหมิ่นพระรัตนตรัยอย่างรุนแรง แล้วมีชาวพุทธบางคนบอกช่างเขา
ปล่อยเขาทำไป ต้องรู้จักปล่อยวาง อย่าไปยึดมั่นถือมั่น สำคัญที่ใจ
** คนยากจนไม่ยอมทำงาน คอยแต่ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น มีคนไปบอกให้หางานทำ
เขาก็บอกว่าอย่าติดวัตถุ ต้องรู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น
** พุทธศาสนิกชนในไทยเหลือน้อยลงทุกที ถ้าปล่อยต่อไปพุทธอาจสูญจากไทยเหมือนอินเดีย
แล้วชาวพุทธบางคนบอกมันก็เป็นอย่างนี้แหละ ทุกอย่างไม่เที่ยง ต้องเสื่อมสูญไปเป็นธรรมดา ปล่อยมันไปไม่ต้องทำอะไร
<<ความจริงธรรมะมีทั้งระดับโลกียะเพื่อการดำรงอยู่ในโลกนี้และระดับโลกุตตระเพื่อความหลุดพ้น
คนบางคนแยกไม่ออก เอาธรรมะระดับโลกุตตระมาใช้กับเรื่องโลกียะ
พูดให้ดูเหมือนเท่มีหลักการ แต่ความจริงคือ การดูดาย ความไม่รับผิดชอบ
*** ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพานพระองค์ยังทรงรับสั่งให้ชาวพุทธบำเพ็ญประโยชน์ตน
และประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเลย พระองค์ไม่ได้สอนให้ชาวพุทธดูดาย ไม่รับผิดชอบ ***
<<เห็นใครที่ใช้ธรรมะผิดระดับ พูดเรื่องปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่ศีล 5 ยังไม่ครบ
สมาธิภาวนาไม่ค่อยได้ทำ ให้ช่วยกันสอนให้เขาเข้าใจเรื่องความรับผิดชอบ
การทำหน้าที่ของตนด้วย ถ้าเราปล่อยให้ความเห็นผิดเรื่องการปล่อยวาง
ซึ่งจริงๆ คือ การดูดาย ไม่รับผิดชอบ ขยายวงกว้างออกไป
จะเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากประเทศไทยไปได้เช่นกัน
คนเราถ้าไม่รับผิดชอบต่อประเทศ ประเทศก็ล่มสลายได้
ไม่รับผิดชอบต่อตนเอง ก็จะลำบากยากจนไปตลอดชาติ
<<คนที่จะพูดคำว่าไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง ไม่ยึดติดวัตถุมุ่งแต่จิตใจได้นั้น
อย่างน้อยที่สุดต้องเป็นคนที่มีศีล 5 ครบบริบูรณ์ หมั่นเจริญสมาธิภาวนาอย่างจริงจัง
จนใกล้จะหลุดพ้น เข้าสู่ภูมิอริยบุคคลแล้ว
<<< ถ้าศีลยังไม่รักษา สมาธิยังไม่นั่ง แล้วอะไรเกิดขึ้นก็พูดช่างมัน ไม่ยึดติด ก็คือ การหนีความจริง การไม่รับผิดชอบ ทั้งยังเกียจคร้านอีกด้วย>>>
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น