หนุนลูกหลานพระยามังรายสองเมืองคึกคักประกาศก้อง เวียงป่าเป้ามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำหมู่บ้าน
@ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ คือ วันแห่งการตั้ง สมาพันธ์ชาวพุทธเชียงราย โดยชาวเชียงราย เพื่อพิทักษ์ศาสนาของเชียงรายคือพระพุทธศาสนา ตาม ปากคาดโมเดล ที่กล้าประกาศ จังหวัดบึงกาฬมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำจังหวัด
@ การประกาศตั้งสมาพันธ์ชาวพุทธเชียงรายเกืดขึ้นต่อหน้าคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชีบงรายจำนวนมาก ณ ที่แห่งหนึ่งซึ่งถือว่าเป็น "Landmark" แห่งหนึ่งของจังหวัด
@ เชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่ถูกหมายตาโดยศาสนาจากอาหรับแย่งชิงพื่นที่ โดยศาสนานั้นชอบอ้างสิทธืในความเป็นคนไทย สิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมมนูญ ดังนั้นเขาจะทำอะไรที่ไหนก็ได้ตามสิทธิทางกฏหมาย
@ ชาวเชียงรายเห็นว่ารัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธและกฏหมายไทยในยุคปัจจุบันคงจะรักษาศาสนาของบรรพบุรุษไว้คู่แผ่นดินเชียงรายไม่ได้แน่ จึงรวมตัวกันเองและประกาศก้องขอพิทักษ์ศาสนาของเชียงรายคือพระพุทธศาสนาไว้ให้ลูกหลานนานเท่านาน
@ ไม่น่าเชื่อว่าพระสงฆ์เชียงรายจะตื่นตัวกันมากในเรื่องนี้ พระครูรูปหนึ่งเล่าว่า..
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีการพยายามกว้านซื้อที่ดืนสร้างมัสยิดในอำเภอ...ท่านเองคัดค้านและเรียกกำนันผู้ใหญ่บ้านพร้อมเจ้าหน้าที่ของรัฐมาชี้แจง สุดท้ายท่านประกาศว่า หากจะมีมัสยิดเกิดขึ้นในอำเภอนี้ให้ข้ามศพท่านไปก่อน
@ เชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการต่อต้านการสร้างมัสยิดสูงมาก เมื่อปีที่แล้วก็มีการระดมคนต่อต้านการที่จะสร้างมัสยิดริมแม่น้ำกก แม้ว่าจะถูกทหารขัดขวางก็ตาม
@ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการที่ระดับแกนนำศาสนาอิสลามเร่งเปิดเกมระดมสร้างมัสยิดเพื่อให้ปิดเกมได้ทันในรัฐบาลทหารชุดนี้ จึงทำให้ชาวพุทธรู้ตัวไหวทันและเห็นเป็นภัยที่ร้ายแรงต่อศาสนาของเขา
@ ชาวเชียงรายเหมือนคนเหนือมั่วไปคือมีนิสัยอ่อนโยนยึดมั่นในพระพุทธศาสนา
ต้อนรับคนแปลกหน้าด้วยมิตรไมตรี ยิ่งสำหรับเรื่องศาสนาแล้วเขามีทัศนคติที่ดีต่อทุกศาสนา แต่มาระยะไม่กี่ปีมานี้พวกเขาเริ่มไม่ไว้วางใจบางศาสนาที่ทำงานเชืงรุกอย่างหนักโดยหวังจะรีบปืดบัญชีการสร้างศาสนสถานของตนให้เร็วที่สุดในยุคที่รัฐบาลทหารเป็นใจ จึงทำให้กระแสการต่อต้านเกืดขึ้นสวนกลับอย่างแรงทุกเรื่อง
"ขอบคุณเขามากที่รีบรุก เราจึงตั้งรับได้ทัน ขอบคุณจริงๆ แต่ก็ระวังอยู่ว่าจะมาไม้ไหนอีก"
ชาวเชียงรายคนหนึ่งกล่าว พลางยกมือไหว้อนุสาวรีย์พ่อขุนมังรายมหาราช ผู้ฝากพระพุทธศาสนาไว้ให้เป็นศาสนาของชาวช้างหาย.
@ ทั้งหมดนี้ เบื้องหลังที่แข็งแกร่ง คือ สมาพันธ์ชาวพุทธภาคเหนือ นำโดย อ.มาณพ และสมาพันธ์ชาวพุทธเชียงใหม่ นำโดย ดร.อภิรมย์ และทีมงานที่แข็งแกร่งเดินทางมาร่วมประชุมร่วมคิดและให้คำปรึกษา ทุกคนควักเงินตัวเองมาเป็นค่าเดินทาง น้อมถวายเป็นพุทธบูชา
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สมความปรารถนาด้วยอานิสงส์การทำความสะอาดพระเจดีย์ น่าลองทำดูนะคะ
ความสะอาดไม่เพียงแต่จะพัฒนาคนให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ชื่อเสียงเกียรติยศเท่านั้น แม้ความสำเร็จอันสูงสุดในชีวิตคือการบรรลุธรรม ความสะอาด ก็สามารถพาเราไปถึงได้ ดังตัวอย่าง เช่น การบรรลุธรรมของพระปุสสเทวะ
พระปุสสเทวะ เป็นพระเถระแห่งกาลันทกาฬวิหาร ท่านเป็นผู้มีใจรักในการทำความสะอาดลานพระเจดีย์เป็นอย่างยิ่ง ท่านจะคอยปัดกวาด แล้วเกลี่ยพื้นทรายให้ราบเรียบงดงาม ท่านจะยืนมองภาพอันสะอาดตานั้น ด้วยใจที่เลื่อมใส และอาศัยจิตใจที่มีความเลื่อมใสนั้น เป็นพื้นฐานเจริญพุทธานุสติอย่างมีความสุข ท่านทำอย่างนี้เสมอมา
วันหนึ่งพญามารประสงค์จะแกล้งท่าน จึงแปลงร่างเป็นลิงดำ เอาขี้วัวมาทำเรี่ยราดให้ ลานพระเจดีย์สกปรก ท่านเห็นเข้าก็โกรธ เป็นผลให้ความปีติปราโมชเสื่อม แต่ด้วยใจรักในความสะอาด ท่านจึงไม่ยอมแพ้ ยังคงตั้งใจกวาดลานพระเจดีย์ต่อไป
วันที่สอง มารก็แปลงร่างเป็นวัวแก่ มาทำความสกปรกเช่นเดิม แม้วันที่สาม มารก็แปลงร่างมาเป็นคนแก่ขาเก เอาเท้าคุ้ยเขี่ยทรายไปทั่วลานพระเจดีย์ พระเถระไม่เคยเห็นคนลักษณะประหลาดเช่นนี้ มาก่อน จึงถามว่า “ท่านเป็นมารใช่ไหม”
มารจึงรับว่า “ใช่” พระเถระทราบดีว่า มารมีฤทธิ์มาก สามารถเนรมิตเป็นรูปต่าง ๆ ได้ จึงขอร้องให้ มารนั้นช่วยแปลงร่างเป็นพระพุทธเจ้าให้ดู
มารต้องการแสดงฤทธิ์ จึงแปลงร่างเป็น พระพุทธเจ้า ซึ่งก็สามารถทำได้เพียงคล้าย ๆ เท่านั้นเอง
เมื่อพระเถระ มองดูรูปที่มารเนรมิต ก็ คิดว่า “นี่ขนาดมารผู้เต็มไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อแปลงกายเป็นพระพุทธเจ้ายังงาม ถึงเพียงนี้ แล้วถ้าเป็นพระพุทธเจ้าองค์จริงจะ งดงามสักเพียงใด”
พระเถระจึงเกิดความปีติ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ และอาศัยความสงบใจนั้นเป็นพื้นฐานเจริญวิปัสสนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในขณะนั้นเอง
พระปุสสเทวะบรรลุธรรมได้อย่างง่ายดาย ก็เพราะทุกครั้งที่ท่านทำความสะอาดกวาด ลานพระเจดีย์ ใจของท่านย่อมได้รับการทำความสะอาดขัดเกลาไปด้วยใจที่สะอาดผ่องใส ย่อมเป็นใจที่พร้อมจะบรรลุธรรม
จึงอาจกล่าวได้ว่า พระปุสสเทวะสมความปรารถนาก้าวสู่ความสำเร็จอันสูงสุดในชีวิตได้ ด้วยอุปนิสัยรักความสะอาดนั่นเอง
สวนสัตว์->สถานที่แห่งนี้คือการทรมานสัตว์ เป็นบาป หรือเป็นสถานที่ช่วยเหลือสัตว์ เป็นที่ศึกษาผ่อนคลายของมนุษย์ขอรับ?
ได้เวลาเสวนาเรื่องราวที่เห็นกันอยู่โต้งๆตรงหน้า เกิดขึ้นจริงในสังคม
แต่เราต่างเนียมอายหรือไม่กล้าที่จะยกเอาเรื่องที่ว่านั้นมาเสวนากัน
สวนสัตว์ หรือ Zoo
มุมหนึ่ง นี่คือคุกของสัตว์นานาชนิดที่ไม่ได้ทำผิดอะไร พวกมันถูกบังคับให้มาอยู่ในพื้นที่อันจำกัด ถูกพาข้ามน้ำข้ามทวีป
มาอยู่ในสถานที่ๆหนึ่งที่มีรั้วรอบขอบชิด บางตัวโชคร้ายกว่าตัวอื่นๆที่ต้องไปอยู่ในสวนสัตว์ที่สกปรก ไม่ได้รับการดูแล
เจ็บป่วยซึมเศร้า เพราะอะไร? มนุษย์อาจจะอ้างว่าเพื่อไม่ให้พวกมันสูญพันธุ์ไป เพื่อให้มนุษย์ได้เห็นได้ศึกษาสัตว์ป่าตัวเป็นๆ
แต่แท้จริงแล้วคือมนุษย์เรานั้นไปทำลายไปแย่งที่อยู่อาศัยของพวกมัน ไปจับพวกมันมาแบบ Against their will
มุมหนึ่ง สัตว์บางชนิดหากอยู่ในธรรมชาติอาจจะถูกสัตว์ผู้ล่าตัวอื่นๆฆ่ากินอย่างเจ็บปวดทรมาน เจ็บป่วยมาก็ไม่มีสัตว์แพทย์คอยรักษา
ไหนจะเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะพรากชีวิตของพวกมันไปอีก ยังไม่นับเรื่องที่อาจถูกพวกพรานใจเหี้ยมล่าหรือจับมาทรมานเล่น
สัตว์บางสายพันธ์ุอาจจะสืบพันธ์ุยากขึ้นหรือไม่อาจออกลูกได้ตามปกติเพราะสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป การได้มาอยู่ในสวนสัตว์
อาจจะเป็นชีวิตที่สุขสบายและอาจจะปลอดภัยมากกว่าอยู่เองตามธรรมชาติเสียด้วยซ้ำในอีกมุมหนึ่ง
ยังไม่นับเรื่องประโยชน์ที่มนุษย์อาจจะได้รับจากการวิจัยหรือเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้
รวมถึงเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวที่มนุษย์เช่นชาวไทยสามารถไปดูม้าลายตัวเป็นๆได้โดยไม่ต้องบินไปถึงแอฟริกา
หรือไม่ต้องไปยืนดูฝูงม้าลายตามศาลที่คนเอาไปแก้บนกัน
ในมุมของท่าน
สวนสัตว์นั้นคือคุกของเหล่าสัตว์ป่าที่มารับโทษแบบบาปบริสุทธิ์ ระบบสวนสัตว์คือระบบบาป?
หรือสวนสัตว์คือแหล่งที่อยู่ที่สะดวกสบายมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าอยู่เองตามธรรมชาติที่ทรุดโทรมและเสี่ยงต่ออันตราย?
ด้วยรักและอยากเห็นม้าลายในทุงหญ้าซาวันน่า
กอดแมว
แต่เราต่างเนียมอายหรือไม่กล้าที่จะยกเอาเรื่องที่ว่านั้นมาเสวนากัน
สวนสัตว์ หรือ Zoo
มุมหนึ่ง นี่คือคุกของสัตว์นานาชนิดที่ไม่ได้ทำผิดอะไร พวกมันถูกบังคับให้มาอยู่ในพื้นที่อันจำกัด ถูกพาข้ามน้ำข้ามทวีป
มาอยู่ในสถานที่ๆหนึ่งที่มีรั้วรอบขอบชิด บางตัวโชคร้ายกว่าตัวอื่นๆที่ต้องไปอยู่ในสวนสัตว์ที่สกปรก ไม่ได้รับการดูแล
เจ็บป่วยซึมเศร้า เพราะอะไร? มนุษย์อาจจะอ้างว่าเพื่อไม่ให้พวกมันสูญพันธุ์ไป เพื่อให้มนุษย์ได้เห็นได้ศึกษาสัตว์ป่าตัวเป็นๆ
แต่แท้จริงแล้วคือมนุษย์เรานั้นไปทำลายไปแย่งที่อยู่อาศัยของพวกมัน ไปจับพวกมันมาแบบ Against their will
มุมหนึ่ง สัตว์บางชนิดหากอยู่ในธรรมชาติอาจจะถูกสัตว์ผู้ล่าตัวอื่นๆฆ่ากินอย่างเจ็บปวดทรมาน เจ็บป่วยมาก็ไม่มีสัตว์แพทย์คอยรักษา
ไหนจะเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะพรากชีวิตของพวกมันไปอีก ยังไม่นับเรื่องที่อาจถูกพวกพรานใจเหี้ยมล่าหรือจับมาทรมานเล่น
สัตว์บางสายพันธ์ุอาจจะสืบพันธ์ุยากขึ้นหรือไม่อาจออกลูกได้ตามปกติเพราะสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป การได้มาอยู่ในสวนสัตว์
อาจจะเป็นชีวิตที่สุขสบายและอาจจะปลอดภัยมากกว่าอยู่เองตามธรรมชาติเสียด้วยซ้ำในอีกมุมหนึ่ง
ยังไม่นับเรื่องประโยชน์ที่มนุษย์อาจจะได้รับจากการวิจัยหรือเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้
รวมถึงเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวที่มนุษย์เช่นชาวไทยสามารถไปดูม้าลายตัวเป็นๆได้โดยไม่ต้องบินไปถึงแอฟริกา
หรือไม่ต้องไปยืนดูฝูงม้าลายตามศาลที่คนเอาไปแก้บนกัน
ในมุมของท่าน
สวนสัตว์นั้นคือคุกของเหล่าสัตว์ป่าที่มารับโทษแบบบาปบริสุทธิ์ ระบบสวนสัตว์คือระบบบาป?
หรือสวนสัตว์คือแหล่งที่อยู่ที่สะดวกสบายมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าอยู่เองตามธรรมชาติที่ทรุดโทรมและเสี่ยงต่ออันตราย?
ด้วยรักและอยากเห็นม้าลายในทุงหญ้าซาวันน่า
กอดแมว
============
หน้าที่ของสวนสัตว์
1. จัดแสดงเพื่อให้คนทั่วไปได้รับชม สัตว์ย่อมมีความเครียด แต่มันก็ปรับตัวได้ และถูกดูแลเป็นอย่างดี มีขั้นตอนมากมายกว่าจะนำสัตว์ออกแสดงได้ไม่ใช่จู่ ๆ บินมาปั๊บใส่คอกโชว์เลย
2. เพื่อการอนุรักษ์ มีสัตว์หลายกลุ่มเลยถูกจัดเป็นสัตว์ที่กำลังถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ ทั้งจากเนื้อมือมนุษย์เอง และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ดังนั้นเพื่อการดำรงอยู่ของสัตว์ต่อคนรุ่นหลัง การอนุรักษ์คือหน้าที่ของสวนสัตว์อย่างหนึ่ง
3. เพื่อศึกษา วิจัย และขยายพันธุ์ ซึ่งทำให้โอกาสการรอดชีวิตไม่ว่าจากการเกิด การอยู่ในธรรมชาติ หรือจากโรคภัย มีมากขึ้น โดยเฉพาะสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ยกตัวอย่าง ขยายพันธุ์หมีแพนด้า สส.เชียงใหม่ นั่นก็ฝีมือคนไทย
บางทีอย่าไปคิดแทนสัตว์ครับ อย่าเอาความรู้สึกที่เราใช้กับคนไปประเมินกับสัตว์ เพราะพฤติกรรมคนกับสัตว์ย่อมแตกต่างกันอยู่แล้ว
1. จัดแสดงเพื่อให้คนทั่วไปได้รับชม สัตว์ย่อมมีความเครียด แต่มันก็ปรับตัวได้ และถูกดูแลเป็นอย่างดี มีขั้นตอนมากมายกว่าจะนำสัตว์ออกแสดงได้ไม่ใช่จู่ ๆ บินมาปั๊บใส่คอกโชว์เลย
2. เพื่อการอนุรักษ์ มีสัตว์หลายกลุ่มเลยถูกจัดเป็นสัตว์ที่กำลังถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ ทั้งจากเนื้อมือมนุษย์เอง และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ดังนั้นเพื่อการดำรงอยู่ของสัตว์ต่อคนรุ่นหลัง การอนุรักษ์คือหน้าที่ของสวนสัตว์อย่างหนึ่ง
3. เพื่อศึกษา วิจัย และขยายพันธุ์ ซึ่งทำให้โอกาสการรอดชีวิตไม่ว่าจากการเกิด การอยู่ในธรรมชาติ หรือจากโรคภัย มีมากขึ้น โดยเฉพาะสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ยกตัวอย่าง ขยายพันธุ์หมีแพนด้า สส.เชียงใหม่ นั่นก็ฝีมือคนไทย
บางทีอย่าไปคิดแทนสัตว์ครับ อย่าเอาความรู้สึกที่เราใช้กับคนไปประเมินกับสัตว์ เพราะพฤติกรรมคนกับสัตว์ย่อมแตกต่างกันอยู่แล้ว
=======
วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ชาติแรกของ "พระนางพิมพา" พบ "พระโพธิสัตว์" นางอธิษฐานอย่างไร ? จึงเกิดมาพบกันทุกชาติ
ได้อ่านบทความนี้แล้ว จึงเข้าใจถึงคำว่า "ผลที่ได้รับ" ทุกอย่างย่อมมี "เหตุ" เป็นปัจจัยก่อให้เกิด.....
ชาติแรกของพระนางพิมพา พบกับ พระโพธิสัตว์ (สุเมธฤาษี) ยุคสมเด็จพระทีปังกรพุทธเจ้า และชาติสุดท้ายบรรลุพระอรหันตเถรีเข้าสู่นิพพาน สมัยพุทธกาลนี้ ที่เพิ่งผ่านมา
พระนางพิมพาพบพระโพธิสัตว์ และอธิษฐานจิต ครั้งแรก ให้ได้เป็นสามีภรรยาและช่วยเหลือกันตลอดไปต่อสมเด็จพระพุทธทีปังกรพุทธเจ้า (พระโพธิสัตว์เป็นสุเมธฤาษี)
พระนางพิมพาได้ตั้งความปรารถนาเป็นพระสาวิกา ตั้งแต่สมัยเมื่อ ๔ อสงไขยล่วงมาแล้ว โดยสมัยนั้น พระนางได้เกิดเป็นกุมารีนางหนึ่ง ซึ่งเป็นสาวแรกรุ่นโสภาอายุได้ ๑๖ ปี เป็นบุตรีของคฤหบดีชาวปัจจันตคาม วันนั้นเมื่อมีการประกาศว่า ให้มหาชนช่วยกันแผ้วถางทางเพื่อรับเสด็จ สมเด็จพระทีปังกรบรมโลกนาถเจ้า ก็มีศรัทธามาร่วมถากทางกับชาวบ้านปัจจันตคามทั้งหลายด้วย
ครั้นได้เห็น สุเมธฤาษี ผู้มีฤทธิ์เหาะมาจากป่าใหญ่ มหาชนพากัน ชี้มือบอกฤาษีผู้ขออนุญาตให้ไปทำทาง ณ บริเวณที่เต็มไปด้วยโคลนเลน ซึ่งเป็นสถานที่จะทำให้สำเร็จได้ยากลำบาก แต่ฤาษีผู้มีฤทธิ์ ก็รับทำจำยอมแต่โดยดี เจ้าสุมิตตากุมารี ก็มีความเห็นใจแลสงสารท่านฤาษี จึงช่วยแผ้วถางและขนดินจากที่อื่นมาเทถมในที่นั้นด้วยใจภักดี ต่อฤาษีผู้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์เหาะเหิรเดินอากาศได้อยู่ไปมา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกรบรมศาสดา ทรงประกาศแก่ปวงมหาชนว่า สุเมธฤาษีจักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลอีกนานหนักหนา สุมิตตากุมารีก็บังเกิดความยินดีปรีดา รีบวิ่งไปแสวงหาดอกไม้ ได้ดอกอุบลสดใหม่มา ๘ ดอก แล้วจึงซบกายถวายบังคมลงตรงเบื้องพระพักตร์กระทำการสักการะบูชาสมเด็จพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าววาจาตั้งปณิธานตามความประสาใจของนางในขณะนั้นว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐเป็นพระบรมโลกุตมาจารย์ ด้วยเดชาอานิสงส์ที่ข้าพระบาทได้กระทำสักการะบูชาแก่สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าในกาลบัดนี้ ขอให้สุเมธฤาษี จงเป็นสามีของข้าพระบาทสมใจปรารถนาในภายภาคหน้าด้วยเถิด
สุเมธฤาษีโพธิสัตว์ผู้ซึ่งได้รับคำพยากรณ์จากพระโอษฐ์ แห่งองค์สมเด็จพระทีปังกรเจ้า ว่าจักได้สำเร็จซึ่งพระพุทธภูมิในอนาคตภายภาคหน้า ครั้นกุมารีงามโสภาชาวปัจจันตคาม เจ้ามาตั้งความปรารถนาและจะได้ตนเป็นสามี เฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระทีปังกรพุทธเจ้าก็พลันสะดุ้งตกใจเป็นอันมาก
ทั้งนี้ก็เพราะว่า จะได้มีตัณหาความยากได้ใคร่ดีในนางกุมารีน้อยแม้แต่สักนิดหนึ่งก็หามิได้ ดังนั้น ท่านสุเมธฤาษีผู้มีฤทธิ์จึงกล่าวห้ามปรามความปรารถนาแห่งเจ้าสุมิตตากุมารีขึ้นว่า
สุมิตตากุมารีสาวงามแห่งปัจจันตคาม ซึ่งมีความปรารถนาในใจอันมั่นคงแรงกล้า แม้จะถูกฤาษีออกวาจากล่าวห้ามปรามฉะนี้เป็นหลายหนหลายครั้ง นางก็ยังยึดมั่นอยู่ในความปรารถนาดั้งเดิม หาแปรไปเป็นอื่นไม่
สมเด็จพระทีปังกรบรมศาสดาจารย์ พระองค์ผู้ทรงมีพระญาณอันไม่ขัดข้องในทุกกรณี จึงตรัสแก่สุเมธดาบสว่า
สุเมธฤาษีได้ฟังองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มีความเลื่อมใสเชื่อฟังด้วยดี รับพระพุทธฎีกา สาธุ สาธุ สาธุ
สมัยพุทธกาลนี้
ปรากฏว่าเป็นเวลามากมายหลายชาติทีเดียว ในกาลครั้งยังต้องท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร เพื่ออบรมบ่มพระสัมโพธิญาณพุทธบารมีอยู่นี้ ที่อดีตสุเมธฤาษีได้เป็นสามีร่วมรักกับเจ้าสุมิตตากุมารี ตามแรงอธิษฐานของนาง เมื่อครั้งถวายดอกอุบล ๘ ดอก แด่สมเด็จพระมิ่งมงกุฎทีปังกรพุทธเจ้า
บางคราวเกิดเป็นมนุษย์ทั้งสองก็ต้องเป็นคู่สามีภริยากัน แม้บางคราวจะเกิดในกำเนิดสัตว์เดียรฉาน ก็ได้เป็นคู่สู่สมภิรมย์รักไม่พรากจากกันไป ตลอดกาลอันแสนจะยาวนานถึง ๔ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป นี้
ชาติสุดท้าย สุเมธฤาษีและสุมิตตากุมารี บุรุษสตรีซึ่งเป็นสามีภรรยาคู่สร้างกันมาแต่ปางบรรพ์ สุดจะนับประมาณชาติที่เกิดได้นั้น ต่างก็พากันมาบังเกิดในมนุษยโลกเรานี้ โดยสุเมธฤาษีได้มาอุบัติในขัตติยะตระกูล ณ กรุงกบิลพัสดุ์บุรี ทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าชายอังคีรสราชกุมาร หรืออีกพระนามหนึ่งว่า เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร
ส่วนสุมิตตากุมารีสาวโสภาแห่งปัจจันตคาม ได้มาบังเกิดในขัตติยะตระกูล ณ กรุงเทวทหนคร ได้เป็นเอกอัครมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระพิมพายโสธราเทวี
เสด็จโปรดพระญาติ แต่พระนางยโสธรา ไม่ยอมมาฟังธรรมเพราะน้อยใจ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า พระนางพิมพาเป็นคู่บารมีกันมาตั้งแต่ต้นจนอวสาน การแสดงพระธรรมเทศนาโปรดหมู่พระประยูรญาติ ปรากฏว่าพระนางพิมพาไม่ยอมไปฟังเทศน์ มีคนไปกราบทูลให้ทรงทราบพระนางก็ตรัสว่า
“ในเมื่อพระลูกเจ้าเสด็จมาถึงประเทศนี้แล้ว และองค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ทรงรู้จักตำหนักนี้ดี เคยอยู่มาก่อน ถ้าองค์สมเด็จพระชินวรไม่เสด็จมาโปรดเราถึงที่ เราก็ไม่ไป”
เพราะอาศัยน้ำใจที่พระนางมีความรัก ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่พระพุทธเจ้า พระนางก็เกิดการน้อยใจว่า ตำหนักนี้เคยอยู่ ทำไมองค์สมเด็จพระบรมครูจึงไม่มาเทศน์โปรดสอนเราถึงตำหนัก เมื่อท่านไม่มาเราก็ไม่ไป
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรู้ จึงทรงตั้งใจไปโปรดพระนางพิมพาถึงตำหนัก การไปคราวนี้ พระนางพิมพาอาศัยที่มีความรักความอาลัยอยู่เดิม จะเข้ามากอดที่ขาของพระองค์แล้วก็พร่ำรำพันถึงความทุกข์และความรักในอดีต เป็นอันว่าผลที่ติดตามมาถึงสี่อสงไขยกับแสนกัปจะไม่เกิดผล
เพราะจิตใจของตถาคตไม่มีกิเลสแล้ว จึงได้ทรงชวนพระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร ๒ ท่านไปด้วย คือให้ทั้งสองท่านรับทราบไว้ด้วย จะได้ช่วยแก้ความเข้าใจผิดของคนต่อภายหลัง ขณะที่เดินไปจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
“พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลาน์ ถ้าเข้าไปในตำหนักของพระนางพิมพาแล้ว ถ้าพระนางพิมพาจะมากอดขาตถาตค ขอเธอทั้งสองจงอย่าห้าม และขอเธอจงเข้าใจว่า เวลานี้จิตใจของตถาคต ไม่มีอะไรแล้ว แต่ทว่ามีความห่วงใยในพระนางพิมพา ถ้าเธอทั้งสองห้าม เธอจะอกแตกตาย เพราะการบำเพ็ญบารมีมาในกาลก่อน เธอไม่ได้ทำเอง มีหน้าที่อย่างเดียวคือโมทนาความดีที่ตถาคตทำ ฉะนั้นการบรรลุมรรคผลของพระนางพิมพาจึงต้องเนื่องด้วยตถาคต จะหาทางช่วยตนเองให้บรรลุมรรคผลนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้”
กล่าวถึงสมเด็จพระนางพิมพาราชเทวี ซึ่งทรงคุณวิเศษในพระพุทธศาสนาเป็นพระโสดาบันอริยบุคคล และทรงเป็นพระราชชนนีของพระราหุลอรหันต์ วันหนึ่งพระนาง
ทรงเห็นคุณแห่งบรรพชา จึงเสด็จ พานางศักยราชนารีกับทั้งบริวารเสด็จคมนาการออกจากรุงกบิลพัสดุ์ไปสู่เมืองสาวัตถี ครั้งถึงจึงกราบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลขอบรรพชา ก็ทรงพระกรุณาโปรดประทานภิกษุณีอุปสมบทกรรมด้วยอัฏฐครุธรรม ๘ ประการ พร้อมกับนารีที่เป็นบริวารสมตามความปรารถนา
รับกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าและเจริญวิปัสสนายังไม่ทันถึง ๑๕ วัน ก็บรรลุพระอรหัต พระนางเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในอภิญญาทั้งหลายระลึกชาติได้ถึงอสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัป โดยการระลึกถึงเพียงครั้งเดียว
ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก ภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระภัททากัจจานาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายผู้ได้บรรลุอภิญญาใหญ่ คำว่า "ได้อภิญญาใหญ่" นั้น หมายถึงพระสาวกผู้ที่ได้อภิญญาและสามารถระลึกชาติได้อสงไขยหนึ่งกับอีกแสนกัป ในขณะที่พระสาวกผู้ที่มิได้อภิญญาใหญ่นั้นสามารถระลึกชาติได้ไม่เกินแสนกัปเท่านั้น
ในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ใดพระองค์หนึ่งนั้น จะมีผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่ได้เพียง ๔ ท่านเท่านั้น ในสมัยของพระพุทธเจ้าของพวกเรานี้ ผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่ ๔ ท่านนั้นก็คือ คือ พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานะเถระ พระพากุลเถระ และ พระนางภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธราพิมพา) สามารถระลึกชาติได้ประมาณเท่านี้.
พระภัททากัจจานาเถรี หรือพระยโสธราเถรี ได้เข้านิพพานเมื่ออายุ ๗๘ พรรษา ก่อนพระพุทธเจ้า ๒ ปี
ชาติแรกของพระนางพิมพา พบกับ พระโพธิสัตว์ (สุเมธฤาษี) ยุคสมเด็จพระทีปังกรพุทธเจ้า และชาติสุดท้ายบรรลุพระอรหันตเถรีเข้าสู่นิพพาน สมัยพุทธกาลนี้ ที่เพิ่งผ่านมา

พระนางพิมพาพบพระโพธิสัตว์ และอธิษฐานจิต ครั้งแรก ให้ได้เป็นสามีภรรยาและช่วยเหลือกันตลอดไปต่อสมเด็จพระพุทธทีปังกรพุทธเจ้า (พระโพธิสัตว์เป็นสุเมธฤาษี)
พระนางพิมพาได้ตั้งความปรารถนาเป็นพระสาวิกา ตั้งแต่สมัยเมื่อ ๔ อสงไขยล่วงมาแล้ว โดยสมัยนั้น พระนางได้เกิดเป็นกุมารีนางหนึ่ง ซึ่งเป็นสาวแรกรุ่นโสภาอายุได้ ๑๖ ปี เป็นบุตรีของคฤหบดีชาวปัจจันตคาม วันนั้นเมื่อมีการประกาศว่า ให้มหาชนช่วยกันแผ้วถางทางเพื่อรับเสด็จ สมเด็จพระทีปังกรบรมโลกนาถเจ้า ก็มีศรัทธามาร่วมถากทางกับชาวบ้านปัจจันตคามทั้งหลายด้วย
ครั้นได้เห็น สุเมธฤาษี ผู้มีฤทธิ์เหาะมาจากป่าใหญ่ มหาชนพากัน ชี้มือบอกฤาษีผู้ขออนุญาตให้ไปทำทาง ณ บริเวณที่เต็มไปด้วยโคลนเลน ซึ่งเป็นสถานที่จะทำให้สำเร็จได้ยากลำบาก แต่ฤาษีผู้มีฤทธิ์ ก็รับทำจำยอมแต่โดยดี เจ้าสุมิตตากุมารี ก็มีความเห็นใจแลสงสารท่านฤาษี จึงช่วยแผ้วถางและขนดินจากที่อื่นมาเทถมในที่นั้นด้วยใจภักดี ต่อฤาษีผู้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์เหาะเหิรเดินอากาศได้อยู่ไปมา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกรบรมศาสดา ทรงประกาศแก่ปวงมหาชนว่า สุเมธฤาษีจักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลอีกนานหนักหนา สุมิตตากุมารีก็บังเกิดความยินดีปรีดา รีบวิ่งไปแสวงหาดอกไม้ ได้ดอกอุบลสดใหม่มา ๘ ดอก แล้วจึงซบกายถวายบังคมลงตรงเบื้องพระพักตร์กระทำการสักการะบูชาสมเด็จพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าววาจาตั้งปณิธานตามความประสาใจของนางในขณะนั้นว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐเป็นพระบรมโลกุตมาจารย์ ด้วยเดชาอานิสงส์ที่ข้าพระบาทได้กระทำสักการะบูชาแก่สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าในกาลบัดนี้ ขอให้สุเมธฤาษี จงเป็นสามีของข้าพระบาทสมใจปรารถนาในภายภาคหน้าด้วยเถิด
"ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ บุญกุศลใดๆ อันเกิดจากพลีกำลังกายถากถางทางเพื่อเสด็จพระพุทธดำเนินในครั้งนี้ก็ดี และบุญกุศลที่ได้ถวายสักการบูชาสมเด็จพระทศพลด้วยดอกอุบลอันงามนี้ ก็ดี ขอให้สุเมธฤาษีนี้จงได้เป็นสามีร่วมรักแห่งข้าพระบาทผู้มีวาสนาน้อย ในอนาคตด้วยเถิด”
สุเมธฤาษีโพธิสัตว์ผู้ซึ่งได้รับคำพยากรณ์จากพระโอษฐ์ แห่งองค์สมเด็จพระทีปังกรเจ้า ว่าจักได้สำเร็จซึ่งพระพุทธภูมิในอนาคตภายภาคหน้า ครั้นกุมารีงามโสภาชาวปัจจันตคาม เจ้ามาตั้งความปรารถนาและจะได้ตนเป็นสามี เฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระทีปังกรพุทธเจ้าก็พลันสะดุ้งตกใจเป็นอันมาก
ทั้งนี้ก็เพราะว่า จะได้มีตัณหาความยากได้ใคร่ดีในนางกุมารีน้อยแม้แต่สักนิดหนึ่งก็หามิได้ ดังนั้น ท่านสุเมธฤาษีผู้มีฤทธิ์จึงกล่าวห้ามปรามความปรารถนาแห่งเจ้าสุมิตตากุมารีขึ้นว่า
“ดูกร เจ้าซึ่งมีพักตร์อันเจริญ อันความปรารถนาแห่งเจ้าที่จะได้เราเป็นสามีนี้ แม้จะเป็นความปรารถนาที่ดี แต่เราจะได้ชอบใจไปด้วยแม้แต่สักนิดหนึ่งก็หามิได้ ขอเจ้าจงถอนความปรารถนาเช่นนั้นเสียในกาลบัดนี้ ขอเจ้าอย่าพึงกระทำความปรารถนาอย่างนั้นเลย จงปรารถนาอย่างอื่นเถิด”
สุมิตตากุมารีสาวงามแห่งปัจจันตคาม ซึ่งมีความปรารถนาในใจอันมั่นคงแรงกล้า แม้จะถูกฤาษีออกวาจากล่าวห้ามปรามฉะนี้เป็นหลายหนหลายครั้ง นางก็ยังยึดมั่นอยู่ในความปรารถนาดั้งเดิม หาแปรไปเป็นอื่นไม่
สมเด็จพระทีปังกรบรมศาสดาจารย์ พระองค์ผู้ทรงมีพระญาณอันไม่ขัดข้องในทุกกรณี จึงตรัสแก่สุเมธดาบสว่า
“ดูกร สุเมธดาบสเอ๋ย ตัวท่านอย่าได้ห้ามซึ่งความปรารถนาแห่งกุมารีน้อยนี้เลย ด้วยว่าในอนาคตกาลภายหน้า เมื่อตัวท่านบำเพ็ญพุทธบารมีธรรมเพื่อบ่มพระบรมโพธิญาณให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์นั้น กุมารีมีจิตมั่นคงนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่าน และท่านจักได้บำเพ็ญบารมีเป็นภริยาทานบริจาคในกาลภายหน้าได้ ก็โดยอาศัยกุมารีนี้แลเป็นปัจจัยสำคัญ
ดูกร สุเมธดาบสเอ๋ย ถึงเราตถาคตนี้เมื่อยังสร้างพระบารมีท่องเที่ยวอยู่ในกระแสวัฏสงสาร ได้อาศัยสตรีภาพจึงมีโอกาสบำเพ็ญภริยาทานเหมือนกัน เพราะฉะนั้นขอท่านจงอย่าห้ามความปรารถนาแห่งนาง จงปล่อยให้เป็นไปตามประสาแห่งใจนางในกาลบัดนี้เถิด”
ดูกร สุเมธดาบสเอ๋ย ถึงเราตถาคตนี้เมื่อยังสร้างพระบารมีท่องเที่ยวอยู่ในกระแสวัฏสงสาร ได้อาศัยสตรีภาพจึงมีโอกาสบำเพ็ญภริยาทานเหมือนกัน เพราะฉะนั้นขอท่านจงอย่าห้ามความปรารถนาแห่งนาง จงปล่อยให้เป็นไปตามประสาแห่งใจนางในกาลบัดนี้เถิด”
สุเมธฤาษีได้ฟังองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มีความเลื่อมใสเชื่อฟังด้วยดี รับพระพุทธฎีกา สาธุ สาธุ สาธุ

สมัยพุทธกาลนี้
ปรากฏว่าเป็นเวลามากมายหลายชาติทีเดียว ในกาลครั้งยังต้องท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร เพื่ออบรมบ่มพระสัมโพธิญาณพุทธบารมีอยู่นี้ ที่อดีตสุเมธฤาษีได้เป็นสามีร่วมรักกับเจ้าสุมิตตากุมารี ตามแรงอธิษฐานของนาง เมื่อครั้งถวายดอกอุบล ๘ ดอก แด่สมเด็จพระมิ่งมงกุฎทีปังกรพุทธเจ้า
บางคราวเกิดเป็นมนุษย์ทั้งสองก็ต้องเป็นคู่สามีภริยากัน แม้บางคราวจะเกิดในกำเนิดสัตว์เดียรฉาน ก็ได้เป็นคู่สู่สมภิรมย์รักไม่พรากจากกันไป ตลอดกาลอันแสนจะยาวนานถึง ๔ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป นี้
ชาติสุดท้าย สุเมธฤาษีและสุมิตตากุมารี บุรุษสตรีซึ่งเป็นสามีภรรยาคู่สร้างกันมาแต่ปางบรรพ์ สุดจะนับประมาณชาติที่เกิดได้นั้น ต่างก็พากันมาบังเกิดในมนุษยโลกเรานี้ โดยสุเมธฤาษีได้มาอุบัติในขัตติยะตระกูล ณ กรุงกบิลพัสดุ์บุรี ทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าชายอังคีรสราชกุมาร หรืออีกพระนามหนึ่งว่า เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร
ส่วนสุมิตตากุมารีสาวโสภาแห่งปัจจันตคาม ได้มาบังเกิดในขัตติยะตระกูล ณ กรุงเทวทหนคร ได้เป็นเอกอัครมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระพิมพายโสธราเทวี
เสด็จโปรดพระญาติ แต่พระนางยโสธรา ไม่ยอมมาฟังธรรมเพราะน้อยใจ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า พระนางพิมพาเป็นคู่บารมีกันมาตั้งแต่ต้นจนอวสาน การแสดงพระธรรมเทศนาโปรดหมู่พระประยูรญาติ ปรากฏว่าพระนางพิมพาไม่ยอมไปฟังเทศน์ มีคนไปกราบทูลให้ทรงทราบพระนางก็ตรัสว่า
“ในเมื่อพระลูกเจ้าเสด็จมาถึงประเทศนี้แล้ว และองค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ทรงรู้จักตำหนักนี้ดี เคยอยู่มาก่อน ถ้าองค์สมเด็จพระชินวรไม่เสด็จมาโปรดเราถึงที่ เราก็ไม่ไป”
เพราะอาศัยน้ำใจที่พระนางมีความรัก ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่พระพุทธเจ้า พระนางก็เกิดการน้อยใจว่า ตำหนักนี้เคยอยู่ ทำไมองค์สมเด็จพระบรมครูจึงไม่มาเทศน์โปรดสอนเราถึงตำหนัก เมื่อท่านไม่มาเราก็ไม่ไป
องค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรู้ จึงทรงตั้งใจไปโปรดพระนางพิมพาถึงตำหนัก การไปคราวนี้ พระนางพิมพาอาศัยที่มีความรักความอาลัยอยู่เดิม จะเข้ามากอดที่ขาของพระองค์แล้วก็พร่ำรำพันถึงความทุกข์และความรักในอดีต เป็นอันว่าผลที่ติดตามมาถึงสี่อสงไขยกับแสนกัปจะไม่เกิดผล

เพราะจิตใจของตถาคตไม่มีกิเลสแล้ว จึงได้ทรงชวนพระโมคคัลลาน์และพระสารีบุตร ๒ ท่านไปด้วย คือให้ทั้งสองท่านรับทราบไว้ด้วย จะได้ช่วยแก้ความเข้าใจผิดของคนต่อภายหลัง ขณะที่เดินไปจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
“พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลาน์ ถ้าเข้าไปในตำหนักของพระนางพิมพาแล้ว ถ้าพระนางพิมพาจะมากอดขาตถาตค ขอเธอทั้งสองจงอย่าห้าม และขอเธอจงเข้าใจว่า เวลานี้จิตใจของตถาคต ไม่มีอะไรแล้ว แต่ทว่ามีความห่วงใยในพระนางพิมพา ถ้าเธอทั้งสองห้าม เธอจะอกแตกตาย เพราะการบำเพ็ญบารมีมาในกาลก่อน เธอไม่ได้ทำเอง มีหน้าที่อย่างเดียวคือโมทนาความดีที่ตถาคตทำ ฉะนั้นการบรรลุมรรคผลของพระนางพิมพาจึงต้องเนื่องด้วยตถาคต จะหาทางช่วยตนเองให้บรรลุมรรคผลนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้”
กล่าวถึงสมเด็จพระนางพิมพาราชเทวี ซึ่งทรงคุณวิเศษในพระพุทธศาสนาเป็นพระโสดาบันอริยบุคคล และทรงเป็นพระราชชนนีของพระราหุลอรหันต์ วันหนึ่งพระนาง
ทรงเห็นคุณแห่งบรรพชา จึงเสด็จ พานางศักยราชนารีกับทั้งบริวารเสด็จคมนาการออกจากรุงกบิลพัสดุ์ไปสู่เมืองสาวัตถี ครั้งถึงจึงกราบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลขอบรรพชา ก็ทรงพระกรุณาโปรดประทานภิกษุณีอุปสมบทกรรมด้วยอัฏฐครุธรรม ๘ ประการ พร้อมกับนารีที่เป็นบริวารสมตามความปรารถนา
รับกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าและเจริญวิปัสสนายังไม่ทันถึง ๑๕ วัน ก็บรรลุพระอรหัต พระนางเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในอภิญญาทั้งหลายระลึกชาติได้ถึงอสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัป โดยการระลึกถึงเพียงครั้งเดียว
ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก ภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระภัททากัจจานาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายผู้ได้บรรลุอภิญญาใหญ่ คำว่า "ได้อภิญญาใหญ่" นั้น หมายถึงพระสาวกผู้ที่ได้อภิญญาและสามารถระลึกชาติได้อสงไขยหนึ่งกับอีกแสนกัป ในขณะที่พระสาวกผู้ที่มิได้อภิญญาใหญ่นั้นสามารถระลึกชาติได้ไม่เกินแสนกัปเท่านั้น
ในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ใดพระองค์หนึ่งนั้น จะมีผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่ได้เพียง ๔ ท่านเท่านั้น ในสมัยของพระพุทธเจ้าของพวกเรานี้ ผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่ ๔ ท่านนั้นก็คือ คือ พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานะเถระ พระพากุลเถระ และ พระนางภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธราพิมพา) สามารถระลึกชาติได้ประมาณเท่านี้.
พระภัททากัจจานาเถรี หรือพระยโสธราเถรี ได้เข้านิพพานเมื่ออายุ ๗๘ พรรษา ก่อนพระพุทธเจ้า ๒ ปี
"กินเจไม่ได้บุญอย่างที่คิด กินเนื้อก็ไม่บาปอย่างที่เข้าใจ" สมเด็จพระญาณสังวรฯ
การกินเจ จริงๆไม่ได้บุญอธิบาย คือ เราไม่กินข้าวขาหมู แล้วคิด(จินตนาการ)
ว่า หมูจะไม่ถูกฆ่า เปรียบได้กับเรานั่งอยู่บ้านเฉยๆแล้วคิด(จินตนาการ) ว่า
เราไปช่วยสอนหนังสือคนอนาถา บุญที่เราไปสอนหนังสือคนอนาถานั้น ไม่มี
ไม่เกิด เพราะเรา นึกๆคิดๆไปเองไม่ได้ทำ ไม่ได้กระทำจริง ถ้าอยากได้บุญ
เราต้องช่วยชีวิตสัตว์ มี ๒ ข้อ คือ
๑.ช่วยชีวิตมันโดยการไถ่ชีวิต ซื้อสัตว์ที่กำลังถูกฆ่านำมาปล่อย
๒.เมตตาสัตว์ไม่ทำร้ายมัน อย่างนี้เป็นบุญ
แต่การกินเจ บุญไม่เกิด เพราะเราไม่ได้ลงมือกระทำจริง(ช่วยชีวิตสัตว์) เป็นเพียงแต่คิดไปเอง
พระเทวทัตเคย มาเสนอให้ชาวพุทธไม่กินเนื้อสัตว์พระพุทธเจ้าปฏิเสธ พร้อมให้เหตุผลว่า
๑. เนื้อสัตว์ไม่ใช่ของเหม็น อกุศลกรรมต่างหากที่เป็นของเหม็น
๒. พระต้อง ควรเป็นผู้เลี้ยงง่าย
๓. อนุญาตในการกินเนื้อสัตว์ที่ -ไม่เห็น -ไม่รู้ -ไม่ใช่เนื้อที่ฆ่าโดยเฉพาะให้ตน
๔. อาหารเป็นแค่ของเลี้ยงกายไม่ให้ตาย อย่าสนใจมาก
การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?
การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
๕. เตนมรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ ๑ เป็นบาป แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย
๑.ช่วยชีวิตมันโดยการไถ่ชีวิต ซื้อสัตว์ที่กำลังถูกฆ่านำมาปล่อย
๒.เมตตาสัตว์ไม่ทำร้ายมัน อย่างนี้เป็นบุญ
แต่การกินเจ บุญไม่เกิด เพราะเราไม่ได้ลงมือกระทำจริง(ช่วยชีวิตสัตว์) เป็นเพียงแต่คิดไปเอง
พระเทวทัตเคย มาเสนอให้ชาวพุทธไม่กินเนื้อสัตว์พระพุทธเจ้าปฏิเสธ พร้อมให้เหตุผลว่า
๑. เนื้อสัตว์ไม่ใช่ของเหม็น อกุศลกรรมต่างหากที่เป็นของเหม็น
๒. พระต้อง ควรเป็นผู้เลี้ยงง่าย
๓. อนุญาตในการกินเนื้อสัตว์ที่ -ไม่เห็น -ไม่รู้ -ไม่ใช่เนื้อที่ฆ่าโดยเฉพาะให้ตน
๔. อาหารเป็นแค่ของเลี้ยงกายไม่ให้ตาย อย่าสนใจมาก
การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?
การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
๕. เตนมรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ ๑ เป็นบาป แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย
วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559
ศาสนาพุทธจะล่มสลาย เพราะชาวพุทธ(ถูกยุให้)แตกกันเอง ????
ไม่รู้ทำไมพอผมอ่านบทความนี้จบ สิ่งที่นึกถึงสิ่งแรกเลยคือภาพคนไทยที่เป็นชาวพุทธ กำลังทะเลาะกัน... และยิ่งเห็นผู้ใหญ่บ้านเมืองตอนนี้ไม่สนับสนุนงานพระพุทธศาสนาเหมือนในอดีตที่ผ่านมา... ฤาว่าศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของเหล่าท่านผู้นำเริ่มเสื่อมสลายไป จึงไม่คิดใยดีว่าพระพุทธศาสนาในเมืองไทยจะอยู่ หรือจะล่มสลายไปเหมือนหลายประเทศที่เคยเป็นอดีตเมืองพุทธ!!!!
บทความที่ผมนำมาลงนี้ ไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับศาสนาแต่อย่างใด แต่ด้วยยุทธวิธีการขยายอาณาจักรที่ หากไม่พิจารณาดีๆ ก็ไม่รู้ ....
การยึดเมืองๆหนึ่ง โดยอาศัยพลเมืองของเมืองนั้นเอง เหมือนน้ำเซาะทราย เอาผลประโยชน์มาเป็นตัวล่อ กว่าที่คนในประเทศจะรู้ตัว ก็สายไปเสียแล้ว...
ประวัติศาสตร์โลก:อังกฤษใช้เวลา100ปียึดครองอินเดียสำเร็จ เพราะการทรยศของคนในรัฐ
…ราชวงศ์โมกุลหลังพระเจ้าออรังเซบเสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว ประเทศราชและเขตปกครองต่างๆ ของโมกุลทยอยแยกตัวเป็นอิสระ จนเมื่อถึงกลางศตวรรษที่ 18 เขตปกครองของกษัตริย์โมกุลหดเหลือเพียงพื้นที่รอบนครเดลีเท่านั้น ชาวตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสนี้เร่งขยายอำนาจและยึดครองพื้นที่ในอินเดีย เพื่อแปลงแคว้นต่างๆ ในอินเดียให้เป็นอาณานิคมและรัฐในอารักขาที่อยู่ใต้การปกครองของตน
อังกฤษได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก เพื่อทำการค้ากับดินแดนต่างๆ ในทวีปเอเชียตั้งแต่ปี ค.ศ.1600 อังกฤษได้ก่อตั้งสถานีการค้าที่อินเดียครั้งแรกเมื่อปี 1611 ต่อมาได้ตั้งที่มั่น 3 แห่งขึ้นตามชายฝั่งของอินเดียคือ มัดราส (ค.ศ.1639) บอมเบย์ (ค.ศ. 1668) และกัลกัตตา (ค.ศ.1698) แล้วใช้ที่มั่นทั้งสามแห่งนี้ขยายการค้าและอิทธิพลทางการเมืองในอินเดีย
ส่วนฝรั่งเศสได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกเมื่อปี 1664 และตั้งสถานีการค้าที่อินเดียครั้งแรกในปี 1668 ต่อมาก็ได้สร้าง พอนดิเชอร์รี ขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าการปกครองของตนในอินเดียเมื่อปี 1674
แม้ฝรั่งเศสจะเข้ามาอินเดียหลังชาติยุโรปอื่นๆ แต่กลับกลายเป็นประเทศตะวันตกที่ทรงอิทธิพลที่สุดในอินเดียในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนเป็นที่ริษยาแก่ชาติยุโรปอื่นโดยเฉพาะอังกฤษ
อังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นคู่ปรับที่แข่งขันกันล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ 18 อินเดียเป็นสมรภูมิแข่งขันที่สำคัญแห่งหนึ่งของสองประเทศนี้ ฝรั่งเศสเริ่มรับสมัครชาวอินเดียจัดตั้งเป็นกองทหารรับจ้าง แล้วใช้กองทหารนี้แทรกแซงกิจการภายในของรัฐต่างๆ ในภาคใต้อินเดียตั้งแต่ปี ค.ศ.1742 อังกฤษได้จัดตั้งกองทหารรับจ้างตามอย่างฝรั่งเศสและเข้าขัดขวางการขยายอำนาจของฝรั่งเศส ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศนี้ได้นำไปสู่สงครามคาร์เนติกสามครั้งในปี 1746-1748, 1749-1754 และ 1756-1763
ผลของสงครามปรากฏว่าฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงยอมยุติบทบาทของตน ปล่อยให้อังกฤษเป็นฝ่ายขยายอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในอินเดีย
อังกฤษเริ่มทำสงครามขยายอำนาจในอินเดียด้วยการเอาชนะนาวาบ (ผู้ว่าการ) แห่งเบงกอลที่พลาสซีย์เมื่อปี ค.ศ.1757 จากนั้น ได้ทำสงครามยึดครองเบงกอล (ค.ศ.1763-1764 ) สงครามไมซอร์สี่ครั้ง (ค.ศ.1767-1769 , 1780-1784 , 1790-1792 , 1799) สงครามมาราทาสามครั้ง (ค.ศ.1775-1782 , 1803-1805 , 1817-1818) สงครามซินด์ (ค.ศ.1843) และสงครามซิกข์สองครั้ง (ค.ศ.1845-1846 , 1848-1849)
รวมใช้เวลาเกือบร้อยปี จึงยึดครองดินแดนอินเดียได้ทั้งหมด
การที่อังกฤษสามารถเอาชนะอินเดียที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีประชากรมากกว่าตนถึงสิบเท่าได้นั้น เป็นเพราะอินเดียขณะนั้นแตกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อย รัฐต่างๆ ยังมีเรื่องขัดแย้งกัน และเกิดสงครามติดพันกันตลอดเวลา อังกฤษจึงสามารถเลือกเป้าโจมตีได้ตามใจชอบ บางครั้งยังดึงรัฐอื่นเป็นพันธมิตรมาโจมตีอีกรัฐหนึ่ง
อังกฤษยังนิยมใช้วิธีซื้อบุคคลสำคัญของรัฐที่ตนโจมตีเป็นไส้ศึก]]อังกฤษยังนิยมใช้วิธีซื้อบุคคลสำคัญของรัฐที่ตนโจมตีเป็นไส้ศึก รัฐจำนวนมากประสบความพ่ายแพ้ต่ออังกฤษเพราะการทรยศของคนในรัฐนั้นเอง
อังกฤษยังมีวิธีแยบยลในการแก้ปัญหากำลังทหารไม่เพียงพอกับการขาดแคลนงบประมาณทางทหาร อังกฤษรับสมัครชาวอินเดียมาเป็นทหารรับจ้างจำนวนมาก เมื่ออังกฤษรบชนะรัฐใดหรือบีบให้รัฐใดยอมจำนน อังกฤษจะทำสัญญาให้รัฐนั้นยินยอมให้ตนส่งทหารมาตั้งประจำและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของทหารเหล่านั้น สำหรับบางรัฐจะทำสัญญาให้มีหน้าที่ส่งทหารจำนวนตามที่ระบุมาช่วยรบเมื่ออังกฤษต้องการ
ดังนั้น จึงเท่ากับอังกฤษใช้คนของอินเดียและเงินของอินเดียมายึดครองอินเดีย โดยใช้กำลังคนจากอังกฤษน้อยมาก และแทบไม่ต้องใช้เงินงบประมาณโดยตรงจากอังกฤษ…
ที่มา: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 ก.ย. – 27 ก.ย. 2550 บทความพิเศษ โดย ภูมิ พิทยา ในเรื่อง ปัญหาชนชาติและศาสนา (9)
บทความที่ผมนำมาลงนี้ ไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับศาสนาแต่อย่างใด แต่ด้วยยุทธวิธีการขยายอาณาจักรที่ หากไม่พิจารณาดีๆ ก็ไม่รู้ ....
การยึดเมืองๆหนึ่ง โดยอาศัยพลเมืองของเมืองนั้นเอง เหมือนน้ำเซาะทราย เอาผลประโยชน์มาเป็นตัวล่อ กว่าที่คนในประเทศจะรู้ตัว ก็สายไปเสียแล้ว...
ประวัติศาสตร์โลก:อังกฤษใช้เวลา100ปียึดครองอินเดียสำเร็จ เพราะการทรยศของคนในรัฐ
…ราชวงศ์โมกุลหลังพระเจ้าออรังเซบเสื่อมอำนาจลงอย่างรวดเร็ว ประเทศราชและเขตปกครองต่างๆ ของโมกุลทยอยแยกตัวเป็นอิสระ จนเมื่อถึงกลางศตวรรษที่ 18 เขตปกครองของกษัตริย์โมกุลหดเหลือเพียงพื้นที่รอบนครเดลีเท่านั้น ชาวตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสนี้เร่งขยายอำนาจและยึดครองพื้นที่ในอินเดีย เพื่อแปลงแคว้นต่างๆ ในอินเดียให้เป็นอาณานิคมและรัฐในอารักขาที่อยู่ใต้การปกครองของตน
อังกฤษได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก เพื่อทำการค้ากับดินแดนต่างๆ ในทวีปเอเชียตั้งแต่ปี ค.ศ.1600 อังกฤษได้ก่อตั้งสถานีการค้าที่อินเดียครั้งแรกเมื่อปี 1611 ต่อมาได้ตั้งที่มั่น 3 แห่งขึ้นตามชายฝั่งของอินเดียคือ มัดราส (ค.ศ.1639) บอมเบย์ (ค.ศ. 1668) และกัลกัตตา (ค.ศ.1698) แล้วใช้ที่มั่นทั้งสามแห่งนี้ขยายการค้าและอิทธิพลทางการเมืองในอินเดีย
ส่วนฝรั่งเศสได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกเมื่อปี 1664 และตั้งสถานีการค้าที่อินเดียครั้งแรกในปี 1668 ต่อมาก็ได้สร้าง พอนดิเชอร์รี ขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าการปกครองของตนในอินเดียเมื่อปี 1674
แม้ฝรั่งเศสจะเข้ามาอินเดียหลังชาติยุโรปอื่นๆ แต่กลับกลายเป็นประเทศตะวันตกที่ทรงอิทธิพลที่สุดในอินเดียในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนเป็นที่ริษยาแก่ชาติยุโรปอื่นโดยเฉพาะอังกฤษ
อังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นคู่ปรับที่แข่งขันกันล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ 18 อินเดียเป็นสมรภูมิแข่งขันที่สำคัญแห่งหนึ่งของสองประเทศนี้ ฝรั่งเศสเริ่มรับสมัครชาวอินเดียจัดตั้งเป็นกองทหารรับจ้าง แล้วใช้กองทหารนี้แทรกแซงกิจการภายในของรัฐต่างๆ ในภาคใต้อินเดียตั้งแต่ปี ค.ศ.1742 อังกฤษได้จัดตั้งกองทหารรับจ้างตามอย่างฝรั่งเศสและเข้าขัดขวางการขยายอำนาจของฝรั่งเศส ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศนี้ได้นำไปสู่สงครามคาร์เนติกสามครั้งในปี 1746-1748, 1749-1754 และ 1756-1763
ผลของสงครามปรากฏว่าฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงยอมยุติบทบาทของตน ปล่อยให้อังกฤษเป็นฝ่ายขยายอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในอินเดีย
อังกฤษเริ่มทำสงครามขยายอำนาจในอินเดียด้วยการเอาชนะนาวาบ (ผู้ว่าการ) แห่งเบงกอลที่พลาสซีย์เมื่อปี ค.ศ.1757 จากนั้น ได้ทำสงครามยึดครองเบงกอล (ค.ศ.1763-1764 ) สงครามไมซอร์สี่ครั้ง (ค.ศ.1767-1769 , 1780-1784 , 1790-1792 , 1799) สงครามมาราทาสามครั้ง (ค.ศ.1775-1782 , 1803-1805 , 1817-1818) สงครามซินด์ (ค.ศ.1843) และสงครามซิกข์สองครั้ง (ค.ศ.1845-1846 , 1848-1849)
รวมใช้เวลาเกือบร้อยปี จึงยึดครองดินแดนอินเดียได้ทั้งหมด
การที่อังกฤษสามารถเอาชนะอินเดียที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีประชากรมากกว่าตนถึงสิบเท่าได้นั้น เป็นเพราะอินเดียขณะนั้นแตกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อย รัฐต่างๆ ยังมีเรื่องขัดแย้งกัน และเกิดสงครามติดพันกันตลอดเวลา อังกฤษจึงสามารถเลือกเป้าโจมตีได้ตามใจชอบ บางครั้งยังดึงรัฐอื่นเป็นพันธมิตรมาโจมตีอีกรัฐหนึ่ง
อังกฤษยังนิยมใช้วิธีซื้อบุคคลสำคัญของรัฐที่ตนโจมตีเป็นไส้ศึก]]อังกฤษยังนิยมใช้วิธีซื้อบุคคลสำคัญของรัฐที่ตนโจมตีเป็นไส้ศึก รัฐจำนวนมากประสบความพ่ายแพ้ต่ออังกฤษเพราะการทรยศของคนในรัฐนั้นเอง
อังกฤษยังมีวิธีแยบยลในการแก้ปัญหากำลังทหารไม่เพียงพอกับการขาดแคลนงบประมาณทางทหาร อังกฤษรับสมัครชาวอินเดียมาเป็นทหารรับจ้างจำนวนมาก เมื่ออังกฤษรบชนะรัฐใดหรือบีบให้รัฐใดยอมจำนน อังกฤษจะทำสัญญาให้รัฐนั้นยินยอมให้ตนส่งทหารมาตั้งประจำและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของทหารเหล่านั้น สำหรับบางรัฐจะทำสัญญาให้มีหน้าที่ส่งทหารจำนวนตามที่ระบุมาช่วยรบเมื่ออังกฤษต้องการ
ดังนั้น จึงเท่ากับอังกฤษใช้คนของอินเดียและเงินของอินเดียมายึดครองอินเดีย โดยใช้กำลังคนจากอังกฤษน้อยมาก และแทบไม่ต้องใช้เงินงบประมาณโดยตรงจากอังกฤษ…
ที่มา: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21 ก.ย. – 27 ก.ย. 2550 บทความพิเศษ โดย ภูมิ พิทยา ในเรื่อง ปัญหาชนชาติและศาสนา (9)
วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559
พระธรรมาจารย์ซุยยวิ๋น พระผู้ทรงธรรมมีมหาเมตตา แม้จะโดนทำร้ายแทบปางตาย
พระธรรมาจารย์ ซุยยวิ๋น 虚云老和尚(ค.ศ.1840-1959) พระเถระนักปฏิบัติธรรม ผู้มีอายุถึง 118 ปี
ท่านเคยเดินธุดงค์ข้ามประเทศ และภาวนาเข้าฌานสมาบัติยาวถึง ๙ วันบ้าง ๑๘ วันบ้าง และท่านยังเคยเดินทางมาทำภาวนาที่เมืองไทย ในคราวนี้ขอนำเสนอ เวลาในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ที่คล้ายๆ พระโมคัลลานะ คือถูกทำร้าย จึงแปลบ่างส่วนของบทความคร่าวๆที่ได้จากห้องเรียนอ.เจินเจิน มาฝาก ว่าพระเถระท่านได้ผ่านชีวิตในยุคคอมมิวนิสต์นั้นอย่างไร
พระธรรมาจารย์ ซุยยวิ๋น ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ เมื่อท่านอายุราว ๔๐ ปี ท่านได้กระทำการสักการะพระพุทธเจ้าด้วยการ เดิน ๓ ก้าว กราบ ๑ ครั้ง เหมือนที่ชาวทิเบตทำ จากภูเขาผู่ถัว ถึง ภูเขาอู่ไถ เพื่อเป็นการทดแทนคุณบุพการี ในช่วงที่ท่านนั่งเข้าฌานสมาบัติ บนภูเขาสูงเป็นครั้งแรกนั้น ขณะที่ท่านกำลังต้มมันเพื่อฉันเป็นอาหาร ระหว่าที่รออยู่นั้นท่านได้ทำสมาธิรอ แต่ปรากฏว่า แม้อากาศบนภูเขาในขณะนั้นจะหนาว แต่ท่านกลับทำสมาธิรวดเดียว โดยไม่ลืมตาเลยเป็นเวลาถึง ๑๘ วัน ซึ่งเมื่อพระเพื่อนของท่านมาเยี่ยมในวันตรุษจีนจึงได้พบท่านนั่งทำ สมาธิอยู่จึงได้เรียกชื่อท่าน ท่านซุยยวิ๋นจึงออกจากสมาธิและทราบว่าเวลาได้ผ่านไปแล้วถึง๑๘ วัน อีกครั้งท่านได้เดินทางมาที่ประเทศไทยและได้เข้าฌานสมาบัติ ๙ วัน ปรากฎว่าหลังจากนั้นท่านก็ไม่สามารถขยับตัวได้เป็นเวลาหลายวัน ท่านจึง ภาวนาถึงพระมหากัสสปะ ในคืนนั้นท่านฝันถึงพระภิกษุผู้สูงอายุรูปหนึ่ง โดย ในฝันได้พระภิกษุรูปนั้นบอกท่านว่าอย่าอยู่ห่างจากจีวรและบาตร จงเอาจีวรและบาตรเป็นหมอน ทุกอย่างจะดีเอง ต่อมาไม่นาน ท่านจึงกลับมาขยับตัวได้ และท่านได้เข้าฌานสมาบัติอีกครั้งเมื่อบั้นปลาย ชีวิต
เมื่อท่านอายุ ๑๑๒ ปี เป็นช่วงยุคปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน ที่คอมมิวนิสต์มีความต้องการทำลายศาสนาและความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น เต๋า ขงจื้อ หรือแม้แต่พุทธศาสนา ในช่วงนั้นพระลูกวัดท่านจำนวน ๒๖ รูปถูกจับกุมและโดนทำร้าย ท่านจึงได้เข้าฌานสมาบัติโดยล็อกห้อง ไม่มีการส่งอาหารและน้ำ ในห้องมืด ที่เหมือนถ้ำที่มืดทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อผ่านไปสามวัน พวกเรดการ์ด (อาสาสมัครเพื่อพรรคคอมมิวนิสต์) ๑๐ คนได้พังประตู และเข้าไปทำร้ายร่างกายท่าน ด้วยไม้และเหล็ก และลากท่านมาทำร้ายต่อที่ พื้น แม้ว่าท่านจะโดนทำร้ายสักกี่ครั้ง ตัวของท่านจะกลับไปสู่ท่านั่งสมาธิและ หลับตาเสมอ วันนั้นพวกเรดการ์ดได้ทุบตีท่านถึง ๔ ครั้ง จนคิดว่าท่านคงเสียชีวิตแล้ว จึงเดินทางกลับไป พอตกค่ำท่านซุยยวิ๋นจึงพยายามพยุงตัวขึ้นมาบนเตียงและ กลับมาสู่ท่านั่งสมาธิอีกเหมือนเดิมในวันที่ ๕ พวกเรดการ์ดเข้ามาเห็นท่านยังคงอยู่ในท่านั่งสมาธิ จึงลากท่านลงมาที่ พื้น แล้วรุมกระทืบท่าน เมื่อพวกนั้นกลับไป อุปัฏฐากได้พยุงท่านขึ้นบนเตียงอีกครั้ง ในเช้าวันที่ ๑๐ ท่านได้เปลี่ยนท่านั่ง เป็นท่าศรีไสยาส เมื่อใกล้เช้าวันที่ ๑๑ อุปัฏฐากได้ยินเสียงครางของพระเถระ จึงพยุงและบอกว่าท่านได้อยู่ในสมาธิกี่วัน พระเถระได้เล่าว่าในช่วงเข้า สมาบัติในสมาธิ ท่านได้ไปฟังธรรมที่ชั้นดุสิต ซึ่งท่านได้เล่ารายละเอียดอีกมากมายถึง เรื่องที่ท่านไปฟังธรรมกับพระศรีอริยเมตไต ที่สวรรค์ชั้นดุสิตเขตใน (จะนำมาแบ่งปันคราวต่อไปหากสนใจ)
ในช่วงหนึ่งที่พวกเรดการ์ดกลับมา แล้วเห็นท่านยังมีชีวิตอยู่ พวกนั้นเริ่มประหลาดใจและเกิดความกลัวขึ้นในใจ หนึ่งในทีมเรดการ์ดจึงพูด ถามพระลูกวัดว่า ทำไมพระเถระจึงยังไม่ตาย พระรูปนั้นได้ตอบกลับมาว่า
“ พระเถระผู้ชราได้ทนทุกขทรมาน และจะไม่ตาย ไม่เอาความ แม้ว่าพวกเธอจะกระทำท่านหนักสักเพียงใด
เพื่อเป็นการให้พรพวกเธอและเพื่อสักวันพวกเธอจะได้กลับใจ ”
เพื่อเป็นการให้พรพวกเธอและเพื่อสักวันพวกเธอจะได้กลับใจ ”
ท่านได้แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นเพื่อโปรดสัตว์ผู้ไม่รู้ ให้ได้มีโอกาสกลับใจไม่กล้าที่จะทำบาปอีก นอกจากนั้นหากท่านมรณภาพด้วย ฝีมือของคนเหล่านี้ จะทำให้ผู้ที่ทำร้ายท่านมีบาปหนักติดตัวไป เพราะได้ฆ่าพระภิกษุผู้ทรงศีล ทรงธรรม จึงเห็นได้ว่าท่านซุยยวิ๋นเป็นพระเถระผู้มีความเมตตาอย่างไม่มี ประมาณ
จะเห็นได้ว่าปัจุบันสังคมไทยเริ่มมีการใช้วาจาจาบจ้วงพระภิกษุ โดยไม่รู้เลยว่าพระเหล่านั้น ท่านเป็นผู้ทรงศีล ทรงธรรมขนาดไหน และด้วย ความเมตตา ท่านจึงนิ่ง ไม่ตอบโต้ และกระทำศาสนกิจของพระภิกษุต่อไป แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ ผู้ที่ไม่รู้ว่าผลจากการพูดจาจาบจ้วงพระภิกษุผู้เป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย นั้นมีผลร้ายแรงเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามก็ยังดีที่ประเทศของพวกเราก้าวยังไปไม่ถึงประเทศที่เป็น คอมมิวนิสต์หรือเผด็จการเต็มใบ หรือถ้าถึงวันนั้นจริงๆ พระพุทธศาสนาในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร คงต้องฝากไว้กับพุทธบริษัท 4 ทุกคน
อ้างอิงจากบทความวิชาการ Prof.Huimin Bhikksu, An Inquiry into master Xuyun’s experience of long dwelling in samādhi, Chung-Hua Buddhist Journal, Vol22, 45-68.
สามารถรับชมสารคดีรายละเอียดของท่านได้ในยูทูปด้านล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=8trXO37lo6A
https://www.youtube.com/watch?v=8trXO37lo6A
วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559
วจีกรรมออนไลน์ โทษหนักแบบนึกไม่ถึง
ไปอ่านเจอมา คือไม่นึกว่าวจีกรรมบนโลกออนไลน์จะมีผลกรรมหนักขนาดนี้
บุญ/บาปทางอินเทอร์เน็ต โดยคุณดังตฤณ
ถาม – การเขียนข้อความหรือนำเสนอเนื้อหาอะไรผ่านอินเตอร์น็ต
โดยใช้นามแฝง ถือเป็นกรรมหรือไม่ ? เพราะไม่มีใครรู้จักชื่อเรา
ไม่มีใครเห็นหน้าเรา ไม่มีใครได้ยินเสียงเรา เหมือนเราไม่มีตัวตน
ตอบ – ผมเห็นว่าคำถามนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจเรื่องกรรมได้ลึกซึ้งขึ้น
เพราะคนส่วนใหญ่ยังนึกว่าการก่อกรรมเป็นเรื่องที่ต้องโชว์ตัว โชว์เสียง
หรืออย่างน้อยก็ต้องมีชื่อแซ่ของเจ้าตัวปรากฏเป็นที่รับรู้เสียก่อน
ความเข้าใจดังกล่าวนั้นคลาดเคลื่อนนะครับ
กรรมนั้นคือเจตนา ต่อให้คุณนอนคิดร้ายอยู่บนยอดเขา
ไม่มีใครเห็น คุณก็ทราบชัดอยู่แก่ใจ และสามารถสำเหนียกรู้สึกได้ว่า
ใจคุณดำมืดเพราะโดนเมฆหมอกอกุศลทาบทับแล้ว
สำหรับกรรมที่ทำอยู่ในใจจริงๆ มีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจคุณเองคนเดียวนั้น
เรียกว่า ‘มโนกรรม’ สำหรับมโนกรรมนั้นจะสำเร็จสมบูรณ์เต็มขั้นในทันที
ที่ตั้งใจคิดและมีความยินดีกับความคิดนั้น
หากจะพูดว่ามโนกรรมคือกรรมที่ก่อแล้ว
ยังไม่ทันส่งผลกระทบดีร้ายกับผู้อื่นก็คงได้
ตัวอย่างเช่น คุณคิดจะด่าเขา แต่ระงับใจไม่ด่า
อย่างนั้นก็เป็นเพียงมโนกรรมอันเป็นอกุศล มีผลให้จิตคุณทุกข์ร้อนอยู่คนเดียว
ยังไม่เป็นวจีกรรม ยังไม่มีเสียงกระทบหูใครให้ใจเป็นทุกข์ขึ้นมา
แต่หากคลื่นความคิดแรงจนทะลักรั้วกั้น หลุดจากสมองไปกระทบผู้อื่น
ไม่ว่าจะทางภาษาพูดหรือภาษาเขียน ทำให้เขาเกิดความเข้าใจว่าคุณคิดอย่างไร
ตรงนั้นจัดว่าเป็นวจีกรรมได้หมด พูดง่ายๆ ว่า ‘ภาษา’ นั่นเอง
คือเครื่องมือก่อวจีกรรมของมนุษย์
ฉะนั้น คุณจะแอบเขียนอะไรทางอินเตอร์เน็ตโดยใช้นามแฝงเฉพาะกิจ
ไม่มีใครอื่นรู้เห็น ไม่มีใครรู้จักเลย
แม้เพียงครั้งเดียวก็นับว่าสร้างวจีกรรมไปแล้วหนึ่งครั้ง
และกรรมก็จะติดตามคุณเป็นเงาตามตัว ไม่ผิดต่างไปจากกรรมอื่นๆ
ที่กระทำโดยเปิดเผยหน้าตาตัวตน เจตนาเกิดขึ้นที่จิตของคุณ
กรรมก็เกิดที่จิตของคุณเช่นกัน เพราะกรรมคือเจตนา เจตนาคือกรรม
ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าบุคคลคิดแล้วจึงก่อกรรมทางกาย วาจา ใจ
อินเตอร์เน็ตเปิดโอกาสให้เราเห็นอะไรหลากหลายจริงๆ
แม้แต่การทำงานของกรรม อย่างเช่นที่ผมรู้จักหลายๆ คน
เห็นกรรมทางวาจาของเขาในเบื้องต้น
แล้วได้เห็นพัฒนาการหรือความเสื่อมทรามทางจิตใจในเวลาต่อมา
เป็นไปตามวิธีคิดเขียนให้ดีให้ร้ายแก่ผู้อื่น
ผู้ก่อความวุ่นวาย นานไปย่อมมีจิตใจที่วุ่นวาย ปั่นป่วนเหมือนพายุ
และแสดงแนวโน้มที่จะฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปในเรื่องเหลวไหล
พูดจาจับต้นชนปลายไม่ติดมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ก่อกระแสความเยือกเย็น นานไปย่อมมีจิตใจเยือกเย็น สงบราบคาบผาสุก
และแสดงแนวโน้มที่จะแน่วนิ่งหนักแน่นในเรื่องเป็นเหตุเป็นผล
พูดจามีต้นมีปลายมากขึ้นเรื่อยๆ
บอกได้เลยครับว่า วจีกรรมที่เกิดขึ้นในโลกอินเตอร์เน็ตนั้น
อาจจะให้ผลเร็วและแรงเสียยิ่งกว่าวจีกรรมที่เกิดขึ้นในโลกความเป็นจริงเสียอีก
ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร ?
เพราะบนอินเตอร์เน็ตอาจมีผู้รับคำพูดของคุณจำนวนมาก
ขอให้ลองนึกดู หากคุณพูดเบาๆ ว่า ‘ไอ้โง่’
ก็อาจมีคุณคนเดียวในโลกที่ได้ยินเสียงอกุศลของตัวเอง
แต่ถ้าคุณพิมพ์คำว่า ‘ไอ้โง่’ ลงในกระทู้ของเว็บบอร์ดที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมคับคั่ง
คุณไม่มีทางปรับให้ดังหรือเบาได้ตามใจชอบได้เลย
คุณทำอกุศลกรรมกับคนแบบไม่เลือกหน้าเข้าแล้ว
คำด่านั้นอาจทำให้คนนับพันนับหมื่นเกิดความแสลงใจ
ความแสลงใจของคนนับไม่ถ้วนนั่นแหละ
จะย้อนกลับมาก่อเหตุให้คุณแสลงใจยิ่งกว่าพวกเขาได้
ผมเห็นแล้วนึกเสียดายครับ หลายคนยังเป็นเด็ก
และมีความสนุกที่จะขีดเขียนข้อความฝากไว้ในอินเตอร์เน็ตด้วยความคึกคะนอง
บางทีไม่รู้ตัวเลยว่าเอาอนาคตมาทิ้งเสียด้วยการสนทนาแบบไร้หน้าไร้เสียงนี่เอง
โอกาสก่อกรรมในยุคไอทีของพวกเรานี้
มีได้เป็นร้อยเป็นพันเท่ามากกว่ายุคอื่นครับ
กระดิกนิ้วง่ายๆ ไม่กี่ที ผล (กรรม) อาจใหญ่หลวงยิ่งกว่า
พยายามพูดในห้องประชุมใหญ่หลายๆ อาทิตย์เสียอีก
หากจิตตั้งไว้ดีแล้วก็สบายตัวไป
แต่หากจิตยังตั้งไว้ในมุมมืด อย่างนั้นก็คงน่าเป็นห่วงหน่อยล่ะ
ว่าด้วยเรื่องของมาร ๕ ฝูง
ในชีวิตของคนเรา อาจเคยเจอะเจอมารผจญกันมาบ้าง แต่ก็เชื่อว่ายังไม่ครบทั้ง 5 ฝูงแน่ๆเลยค่ะ เว้นมัจจุมารไว้สักฝูงนึงก่อนนะคะ แล้วมารฝูงที่เหลือ
เพื่อนสมาชิกเวลาต้องประสบพบเจอมาร ใช้อะไรเป็นตัวช่วยให้เราพ้นวิกฤตมารผจญในตอนนั้นคะ
งานหลักของการเกิดมาเป็นมนุษย์ คือการสั่งสมบุญบารมี ชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ พ้นจากความเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามาร ที่คอยบังคับบัญชาให้เราต้องคิดผิด พูดผิด และทำผิด หลงวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอันยาวไกล ตราบใดที่เรายังเอาชนะกิเลสในตัวไม่ได้ ก็ยังชื่อว่าตกอยู่ในความประมาท ยังตกอยู่ภายใต้การครอบงำของหมู่มารทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร
การที่เราฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อจะทำตนให้หลุดพ้นจากมารร้ายต่างๆ เหล่านี้ แล้วมุ่งไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต คืออายตนนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ พระกาติยานเถระ กล่าวธรรมภาษิตไว้ใน ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ว่า "ประทีปที่ส่องแสง ถ้ามีแสงน้อย ย่อมดับไปด้วยลมได้ เหมือนเถาวัลย์ที่เหี่ยวแห้งไป ฉันใด ท่านก็จงเป็นผู้ไม่ถือมั่น แล้วกำจัดมาร ผู้มีโคตรเสมอด้วยพระอินทร์ฉันนั้นเถิด เมื่อท่านกำจัดมารได้อย่างนี้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดพอใจในเวทนาทั้งหลาย จะเป็นผู้มีความเย็น รอคอยเวลานิพพานในอัตภาพนี้ทีเดียว"
มาร คือผู้ขวางความดี ขัดขวางหนทางของการสร้างบารมี คอยล้างผลาญทำลายความดีของมนุษย์ แล้วชักนำให้คนกระทำในสิ่งที่เป็นบาปอกุศล พอกพูนอาสวกิเลสให้หนาแน่นยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ขวางกั้นไว้ไม่ให้ทำความดีได้เต็มที่ ทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานในสังสารวัฏได้ยาก ในศาสนาต่างๆ มีการเรียกชื่อและให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องมารเอาไว้มากมาย ในทางพระพุทธศาสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ว่า มีอยู่ ๕ ประเภทด้วยกันคือ ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นมารร้ายทีเดียว เพราะบางครั้งก็ทำความลำบากให้กับเรา เช่น เมื่อตัวร้อนเป็นไข้ ปวดหลัง ปวดท้อง ปวดฟัน และโรคต่างๆ สารพัด แทนที่เราจะได้ใช้เวลาที่มีอยู่นี้ไปกับการสั่งสมความดีให้เต็มที่ ก็ต้องเสียเวลาไปกับการเยียวยารักษาบริหารขันธ์ กิเลสมาร
การที่เราฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อจะทำตนให้หลุดพ้นจากมารร้ายต่างๆ เหล่านี้ แล้วมุ่งไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต คืออายตนนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ พระกาติยานเถระ กล่าวธรรมภาษิตไว้ใน ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ว่า "ประทีปที่ส่องแสง ถ้ามีแสงน้อย ย่อมดับไปด้วยลมได้ เหมือนเถาวัลย์ที่เหี่ยวแห้งไป ฉันใด ท่านก็จงเป็นผู้ไม่ถือมั่น แล้วกำจัดมาร ผู้มีโคตรเสมอด้วยพระอินทร์ฉันนั้นเถิด เมื่อท่านกำจัดมารได้อย่างนี้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดพอใจในเวทนาทั้งหลาย จะเป็นผู้มีความเย็น รอคอยเวลานิพพานในอัตภาพนี้ทีเดียว"
มาร คือผู้ขวางความดี ขัดขวางหนทางของการสร้างบารมี คอยล้างผลาญทำลายความดีของมนุษย์ แล้วชักนำให้คนกระทำในสิ่งที่เป็นบาปอกุศล พอกพูนอาสวกิเลสให้หนาแน่นยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ขวางกั้นไว้ไม่ให้ทำความดีได้เต็มที่ ทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานในสังสารวัฏได้ยาก ในศาสนาต่างๆ มีการเรียกชื่อและให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องมารเอาไว้มากมาย ในทางพระพุทธศาสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ว่า มีอยู่ ๕ ประเภทด้วยกันคือ ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นมารร้ายทีเดียว เพราะบางครั้งก็ทำความลำบากให้กับเรา เช่น เมื่อตัวร้อนเป็นไข้ ปวดหลัง ปวดท้อง ปวดฟัน และโรคต่างๆ สารพัด แทนที่เราจะได้ใช้เวลาที่มีอยู่นี้ไปกับการสั่งสมความดีให้เต็มที่ ก็ต้องเสียเวลาไปกับการเยียวยารักษาบริหารขันธ์ กิเลสมาร
วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559
หลักฐาน นิพพานคือเมืองแก้ว จากพระไตรปิฏก
ดูก่อนมหาบพิตร เสียงที่ ๘ เป็นเสียงเปล่งอุทาน คือ
ที่เงื้อมภูเขานันทมูลกะ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งว่า อายุสังขารของตนจะสิ้นแล้ว จึงคิดว่าจักไปแดนมนุษย์ ปรินิพพานในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี พวกมนุษย์จักเผาศพเรา จักเล่นสาธุกีฬา บูชาธาตุบำเพ็ญทางสวรรค์ ดังนี้ แล้วเหาะมาด้วยฤทธานุภาพ เวลามาถึงยอดปราสาทของพระองค์ โดยปลงขันธภาระเปล่งอุทานแสดงเมืองแก้วคือนิพพาน ดังนี้
แล้วกล่าวคาถาที่พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวไว้ ความว่า :-
เราเห็นพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นชาติ ไม่ต้องกลับมานอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้องสงสัย ความเกิดของเรานี้มีในที่สุดแล้ว การนอนในครรภ์เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสารเพื่อภพใหม่ต่อไปของเราสิ้นสุดแล้ว
อ้างถึง
อ้างอิงพระไตรปิฏก....http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1129
ที่เงื้อมภูเขานันทมูลกะ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งว่า อายุสังขารของตนจะสิ้นแล้ว จึงคิดว่าจักไปแดนมนุษย์ ปรินิพพานในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี พวกมนุษย์จักเผาศพเรา จักเล่นสาธุกีฬา บูชาธาตุบำเพ็ญทางสวรรค์ ดังนี้ แล้วเหาะมาด้วยฤทธานุภาพ เวลามาถึงยอดปราสาทของพระองค์ โดยปลงขันธภาระเปล่งอุทานแสดงเมืองแก้วคือนิพพาน ดังนี้
แล้วกล่าวคาถาที่พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวไว้ ความว่า :-
เราเห็นพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นชาติ ไม่ต้องกลับมานอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้องสงสัย ความเกิดของเรานี้มีในที่สุดแล้ว การนอนในครรภ์เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสารเพื่อภพใหม่ต่อไปของเราสิ้นสุดแล้ว
อ้างถึง
อ้างอิงพระไตรปิฏก....http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1129
เมื่อหลวงปู่ปานให้หลวงพ่อฤาษีลิงดำไปเรียนธรรมกาย
หลวงพ่อสดท่านยืนยันเอาจริงเอาจังเรื่องนิพพานไม่สูญ ต่อมาท่านก็สงเคราะห์ ท่านแนะนำวิธีการของท่าน ทุกคนก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพานมีจริง เห็นนิพพานเป็นแก้ว แพรวพราวเป็นระยับ พระที่นิพพานทั้งหมด เป็นแก้วหมด แต่ไม่ใช่แก้วปั้น เป็นแก้วเดินได้ คือแพรวพราวเหมือนแก้ว
อาตมาเองก็เป็นคนงมงายมาก่อน ในกาลก่อนใครพูดเรื่องนิพพานไม่เชื่อ นิพพานมีสภาพสูญ เขาว่าอย่างนั้น
ต่อมา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นอาจารย์ ท่านเห็นว่า เรามีสันดานชั่วละมั้ง ก็ส่งให้ไปหา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ไปเรียนกับหลวงพ่อสดประมาณ ๑ เดือน ก็ทำได้ตามสมควร เรียกว่าพื้นฐานมีอยู่แล้ว
ต่อมาวันหนึ่งประมาณเวลา ๖ ทุ่มเศษ หลังจากทำวัตรสวดมนต์ เจริญกรรมฐานกันแล้ว หลวงพ่อสดท่านก็คุยชวนคุย คนอื่นเขากลับหมด ก็อยู่ด้วยกันประมาณ ๑๐ องค์ วันนั้น ท่านก็บอกว่า ฉันมีอะไรจะเล่าให้พวกคุณฟัง คือ พระที่ไปถึงนิพพานแล้ว มีรูปร่างเหมือนแก้วหมด ตัวเป็นแก้ว เราก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปมากแล้ว นิพพานเขาบอกว่ามีสภาพสูญ แล้วทำไมจะมีตัวมีตน
แล้วท่านก็ยังคุยต่อไปว่า นิพพานนี้เป็นเมือง แต่ว่าเป็นทิพย์พิเศษ เป็นทิพย์ที่ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก มีพระอรหันต์มากมาย คนที่ไปนิพพานได้ เขาเรียกว่า พระอรหันต์ จะตายเมื่อเป็นฆราวาส จะตายเมื่อเป็นพระก็ตาม ต้องถึงอรหันต์ก่อน เมื่อถึงอรหันต์ก่อนแล้วก็ตาย ตายแล้วก็ไปอยู่ที่นั่น ร่างกายเป็นแก้วหมด เมืองเป็นแก้ว สถานที่อยู่แพรวพราวเป็นระยับ
อาตมาก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปเยอะ ตอนก่อนก็ดี สอนดี มาตอนนี้ชักจะไปมากเสียแล้ว แต่ก็ไม่ค้าน ฟังแล้วก็ยิ้ม ๆ ท่านก็คุยต่อไปว่า เมื่อคืนนั้น ขี่ม้าแก้วไปเมืองนิพพาน(เอาเข้าแล้ว) แล้วต่อมาคุยไปคุยมาท่านก็บอกว่า (ท่านคงจะทราบ ท่านไม่โง่เท่าเด็ก เพราะพระขนาดรู้นิพพานไปแล้ว อย่างอื่นก็ต้องรู้หมด แต่ความจริงคำว่า รู้หมด ในที่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ใช่รู้เท่าพระพุทธเจ้า แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ควรจะรู้ ก็สามารถรู้หมด)
ท่านก็เลยบอกว่า เธอดูดาวดวงนี้นะ ดาวดวงนี้สุกสว่างมาก ประเดี๋ยวฉันจะทำให้ดาวดวงนี้ริบหรี่ลง จะค่อย ๆ หรี่ลงจนกระทั่งไม่เห็นแสงดาว ท่านชี้ให้ดู แล้วก็มองต่อไป ตอนนี้เริ่มหรี่ละ ๆ แสงดาวก็หรี่ไปตามเสียงของท่าน ในที่สุด หรี่ที่สุด ไม่เห็นแสงดาว ท่านถามว่า เวลานี้ทุกคนเห็นแสงดาวไหม ก็กราบเรียนท่านว่า ไม่เห็นแสงขอรับ ท่านบอกว่าต่อนี้ไป ดาวจะเริ่มค่อย ๆ สว่างขึ้นทีละน้อย ๆ จนกระทั่งถึงที่สุด แล้วก็เป็นไปตามนั้น
พอท่านทำถึงตอนนี้ก็เกิดความเข้าใจว่า ความดีหรือวิชาความรู้ที่เรามีอยู่ มันไม่ได้ ๑ ในล้านที่ท่านมีแล้ว ฉะนั้นคำว่านิพพานจะต้องมีแน่ ท่านมีความสามารถอย่างนี้เกินที่เราจะพึงคิด
ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่ศึกษามาในด้านกรรมฐานก็ดีหรือที่คุยกันมาก็ดี นี่ท่านรู้จริง ท่านก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพาน คำว่านิพพานสูญท่านไม่ยอมพูด ไปถามท่านเข้าว่านิพพานสูญรึ ท่านนิ่ง
ในที่สุดก็ไปถาม ๒ องค์ คือ หลวงพ่อปาน กับ หลวงพ่อโหน่ง ถามว่านิพพานสูญรึ ท่านตอบว่า ถ้าคนใดสูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกว่านิพพานสูญ แต่คนไหนไม่สูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกนิพพานไม่สูญ ก็รวมความว่า นิพพานไม่สูญแน่
ทีนี้ต่อมา หลวงพ่อสดท่านก็ยืนยันเอาจริงเอาจัง ต่อมาท่านก็สงเคราะห์คืนนั้นเอง ท่านก็สงเคราะห์บอกว่า เรื่องต้องการทราบนิพพาน เขาทำกันอย่างนี้ ท่านก็แนะนำวิธีการของท่าน รู้สึกไม่ยาก เพราะเราเรียนกันมาเดือนหนึ่งแล้ว ตามพื้นฐานต่าง ๆ ท่านบอกว่าใช้กำลังใจอย่างนี้ เวลาผ่านไปประมาณสัก ๑๐ นาที รู้สึกว่านานมากหน่อย
ทุกคนก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพานมีจริง เห็นนิพพานเป็นแก้ว แพรวพราวเป็นระยับ พระที่นิพพานทั้งหมด เป็นแก้วหมด แต่ไม่ใช่แก้วปั้น เป็นแก้วเดินได้ คือแพรวพราวเหมือนแก้ว สวยงามระยับทุกอย่าง
ที่พูดนี้ยังนึกถึงบุญคุณหลวงพ่อสดท่านยังไม่หาย ท่านมีบุญคุณมาก
รวมความว่า เวลานั้นเรายังเป็นคนโง่ อาจจะมีจิตทึมทึก แต่ความจริงขอพูดตามความเป็นจริง เวลานั้นจิตไม่ดำ จิตใสเป็นแก้ว แต่ความแพรวพราวของจิตไม่มี การใสเป็นแก้วนั้น เวลานั้นเป็นฌานโลกีย์ ฌานสูงสุด ใช้กำลังเฉพาะเวลานะ ฌานโลกีย์นี้เอาจริงเอาจังกันไม่ได้ จะเอาตลอดเวลานี้ไม่ได้ เพราะอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์
แล้วท่านก็สั่งว่า หลังจากนี้ต่อไป ทุก ๆ องค์ จงทำอย่างนี้จิตต่อให้ถึงนิพพานทุกวัน ตามที่จะพึงทำได้ อย่างน้อยที่สุด จงพบนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ๑.เช้ามืด และประการที่ ๒.ก่อนหลับ หลังจากนี้ไป เธอกลับไปแล้ว ทีหลังกลับมาหาฉันใหม่ ฉันจะสอบ
เมื่อได้ลีลามาอย่างนั้นแล้วก็กลับมาหาครูบาอาจารย์เดิม คือ หลวงพ่อปาน พอขึ้นจากเรือก็ปรากฏว่าพบหลวงพ่อปานอยู่หน้าท่า ท่านเห็นหน้าแล้วท่านก็ยิ้ม ว่าอย่างไรท่านนักปราชญ์ทั้งหลาย เห็นนิพพานแล้วใช่ไหม
ตกใจ ก็ถามว่า หลวงพ่อทราบหรือครับ บอก เออ ข้าไม่ทราบหรอกวะ เทวดาเขามาบอก บอกว่าเมื่อคืนที่แล้วมานี่ หลวงพ่อสดฝึกพวกเอ็งไปนิพพานใช่ไหม
ก็กราบเรียนท่านบอกว่า ใช่ขอรับ ท่านบอกว่า นั่นแหละ เป็นของจริง ของจริงมีตามนั้น หลวงพ่อสดท่าน มีความสามารถพิเศษในเรื่องนี้
ก็ถามว่า ถ้าหลวงพ่อสอนเองจะได้ไหม ท่านก็ตอบว่า ฉันสอนเองก็ได้ แต่ปากพวกเธอมันมาก มันพูดมาก ดีไม่ดีพูดไปพูดมา งานของฉันก็มาก งานก่อสร้างก็เยอะ งานรักษาคนเป็นโรคก็เป็นประจำวัน ไม่มีเวลาว่าง ถ้าเธอไปพูดเรื่องนิพพาน ฉันสอนเข้าฉันก็ไม่มีเวลาหยุด เวลาจะรักษาคนก็จะไม่มี เวลาที่จะก่อสร้างวัดต่าง ๆ ก็ไม่มี ฉันหวังจะสงเคราะห์ในด้านนี้ จึงได้ส่งเธอไปหาหลวงพ่อสด
ก็ถามว่า หลวงพ่อสดกับหลวงพ่อรู้จักกันดีรึ ท่านก็ตอบว่า รู้จักกันดีมาก เคยไปสอบซ้อมกรรมฐานด้วยกัน สอบกันไปสอบกันมาแล้ว ต่างคนต่างต้นเสมอกัน ก็รวมความว่ากำลังไล่เลี่ยกันบรรดาท่านพุทธบริษัท นี่เป็นจุดหนึ่งที่อาตมาแสดงถึงความโง่กับครูบาอาจารย์………
ปฏิปทาหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตอนที่4 หลวงปู่เสาร์นั้งสมาธิแล้วตัวลอย
จำนวน ๑๒ เล่มนำมาจากโครงการหนังสือบูรพาจารย์ หน้าที่80
จัดทำโดย รศ.ดร.ปฐม - รศ.ภัทรา นิคมานนท์
ขออนุโมทนาขอบพระคุณที่กรุณาเอื้อเฟื้อต้นฉบับ ในการเผยแพร่เป็นธรรมทาน
วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ไม่ควรดูเบาการให้ทาน ว่าไม่สามารถกำจัดกิเลสได้
ประเด็นเรื่องคำสอนวัดพระธรรมกาย มีการพูดถึงการทำทานมาก บางคนออกตัวแรงถึงขนาดว่า การทำทานเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดกิเลส คือ ความโลภ ก็มีหรือ หลาย ๆ ความเห็น ก็มองว่าพระพุทธเจ้าสอนให้สละไม่ยึดติด เพื่อดับกิเลสไปนิพพาน การทำทานซึ่งมีผลเป็นบุญ และบุญนี้มีอานิสงส์ ดึงดูดโภคทรัพย์สมบัติ ความสุข ความสำเร็จต่าง ๆ มาสู่ชีวิต นี้จะทำจึงไม่น่าจะถูกต้อง ทำให้ การให้ทาน กลายเป็นผู้ต้องหา เป็นสิ่งไม่ดีไป ซึ่งไม่ถูกต้อง
เมื่อให้ทาน ซึ่งเป็นสิ่งตรงข้ามกับการแสวงหาจึงเป็นการตัดต้นเหตุ ต่อ ๆ ไป เพื่อการทำอกุศลกรรม เมื่ออกุศลกรรมจึงไม่เกิด จึงไม่มีบาป และไม่มีวิบากกรรมที่เป็นทุกข์ตามมา และการให้ทานยังทำให้ อุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นลดน้อยลง ซึ่งได้แก่ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ซึ่งเป็นฐานในการทำภาวนา เรียกว่า เป็นเครื่องประดับจิตอันประกอบด้วยสมถะ และวิปัสสนา ซึ่ง ในทานสูตร ท่านอธิบายว่าการให้ทานแล้วทำอย่างนี้ มีผลมาก มีอานิสงส์มากเพราะสามารถกำจัดกิเลสไปนิพพานได้ (มมร. อัง.สัต. 47/49/144) “...แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นธรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้...”
การให้ทานเป็นการฝึกจิตอย่างหนึ่ง เพราะทำให้ใจละอุปาทาน ลงเป็นลำดับ เป็นการฝึกจิตในชั้นต้นเพื่อละ ความยึดมั่นถือมั่นโดยเฉพาะเรื่อง กามุปาทาน คือการติดในกามคุณ ด้วยการให้ทานแก่ผู้อื่น และในอรรถกถาก็กล่าวว่า การให้ทานทำให้ใจของทั้งผู้ให้และ ผู้รับอ่อนโยนลง จึงนุ่มนวลควรแก่การงานคือการทำภาวนาต่อไป (มมร. องฺ.สตฺตก.อ. 77/121/472 )
“อทนฺตทมนํ ทานํ อทานํ ทนฺตทูสกํ อเนน ปิยวาเจน โอณมนฺติ มนมฺติ จ.
การให้ทานเป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก การไม่ให้ทานเป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว ชนทั้งหลายมีจิตโอนอ่อน และน้อมลงด้วยปิยวาจานี้.”
มหาอุบาสิกาวิสาขาเป็นตัวอย่างการทำทานเพื่อการละกิเลส ใน พระวินัยปิฎก มหาวรรค ได้กล่าวถึง นางวิสาขา ขอพร 8 ประการ(ขออนุญาต) จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งล้วนแต่เป็นการขอให้ตนได้ถวายทานต่าง ๆ แก่พระภิกษุทั้งสิ้น
(มมร.วิ.ม. 7/153/284) “...วิ. พระพุทธเจ้าข้า สำหรับพระสงฆ์ หม่อมฉันปรารถนาจะถวายผ้าวัส-สิกสาฎก จะถวายภัตเพื่อพระอาคันตุกะ จะถวายภัตเพื่อพระที่เตรียมจะไป จะถวายภัตเพื่อพระอาพาธ จะถวายภัตเพื่อพระที่พยาบาลพระอาพาธ จะถวายเภสัชสำหรับพระอาพาธ จะถวายยาคูประจำ และสำหรับภิกษุณีสงฆ์ หม่อมฉัน ปรารถนาจะถวายอุทกสากฎ จนตลอดชีพ...”
โดยมีเหตุผล นอกจากจะเห็นประโยชน์ที่พระภิกษุจะได้รับแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวของท่านเอง คือเมื่อระลึกถึงกุศลเหล่านั้นแล้วจะเกิด ความปลื้มใจ อิ่มใจ และความสุข เพื่อเป็นฐานสำหรับ การเจริญสมถะ และ วิปัสสนาต่อไป
(มมร.วิ.ม. 7/153/284) “...เมื่อหม่อมฉันระลึกถึงกุศลนั้นอยู่ ความปลื้มใจจักบังเกิด เมื่อหม่อมฉันปลื้มใจแล้ว ความอิ่มใจจักบังเกิด เมื่อมีใจอิ่มเอิบแล้ว กายจักสงบ เมื่อมีกายสงบแล้ว จักเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตจักตั้งมั่น จักเป็นอันหม่อม ฉันได้อบรมอินทรีย์ อบรมพละ อบรมโพชฌงค์นั้น หม่อมฉันเห็นอานิสงส์นี้ จึงขอประทานพร ประการต่อพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทราบเหตุผลอย่างนั้นแล้ว ก็ทรงรับรองความถูกต้องด้วยการ กล่าวอนุโมทนาคาถา เพื่อสรุปอีกครั้งหนึ่งถึงการทำทานเพื่อการกำจัดกิเลสเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และทำได้ทันทีแม้ในตอนนี้ เรายังทำเจตนาในการทำทานให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ทั้งหมดไม่ได้ ยังอาจจะความอยากเข้ามาแทรก ก็ไม่เป็นไร การทำทานจะค่อย ๆ ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น และเป็นอุปการะต่อการทำภาวนาในภายหน้าต่อไป อย่างที่มหาอุบาสิกาวิสาขาท่านใช้คำว่า อบรมอินทรีย์ อบรมพละ
“(มมร.วิ.ม. 7/154/284) [๑๕๔] สตรีใด ไห้ข้าวและน้ำ มีใจ เบิกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นสาวิกาของพระสุคต ครอบงำความตระหนี่แล้วบริจาคทานอันเป็นเหตุแห่งสวรรค์ เป็นเครื่องบรรเทาความโศก นำมาซึ่งความสะ(สุข ฉบับอื่น ๆ ใช้สุขตรงกัน มมร.พิมพ์ผิด) สตรีนั้น อาศัยมรรคปฏิบัติ ปราศจากธุลี ไม่มีกิเลศเครื่องยั่วใจ ย่อมได้กำลังและอายุ เป็นทิพย์ สตรีผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมี สุข สมบูรณ์ด้วยอนามัย ย่อมปลื้มใจใน สวรรค์สิ้นกาลนาน.”
ความไม่เข้าใจในเรื่องการให้ทานตามที่ปรากฏในโซเชียลทั้งหลาย ที่มองว่าการทำทานไม่ต่างกับการซื้อขายแลกเปลี่ยน การทำทานหวังผลเป็นความโลภเพิ่มพูนกิเลส และการทำไม่สามารถกำจัดกิเลสไปนิพพานได้ ทำให้ติดข้องอยู่ในวัฏฏะ เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เกิดจากความไม่รู้ว่าการให้ทานในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร การให้ทานที่ถูกต้อง เป็นความดี เป็นกุศลกรรม จึงประกอบด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย กายทุจริต และวจีทุจริต การให้ทานหวังผลไม่ได้ผิดอะไร แต่การหวังผลที่ถูกต้องจะทำให้ ทานนั้นมีผลมากมีอานิสงส์มาก ซึ่งการให้ทานที่ดีที่สุด คือ การให้ทานเพื่อกำจัดกิเลส หรือดับทุกข์ ดังนั้นจึงควรทำทาน เพราะทานเป็นความดีซึ่งมีผล หากยังไม่หมดกิเลสก็จะทำให้ มีสมบัติหล่อเลี้ยงชีวิตให้ไม่ลำบากสร้างความดีอื่น ๆ ได้ง่ายดาย แม้ตายก็ไปสวรรค์ และยังเป็นการฝึกจิตในเบื้องต้น เพื่อเป็นฐานสนับสนุนการทำภาวนากำจัดกิเลส ให้ง่ายขึ้น ดีขึ้น จนสามารถกำจัดกิเลสบรรลุนิพพานอันเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตได้ในที่สุด
วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
อัตตา-อนัตตา เป็นเรื่องของการปฏิบัติใช่หรือไม่ ???
เรื่องนิพพานเป็น อัตตา อนัตตา เป็นเรื่องของการปฏิบัติ
มาถกเถียงกัน มันไม่เกิดประโยชน์กับใครทั้งนั้น
เห็นมีผู้รู้ ? มากล่าวเรื่องนี้กันเยอะเหลือเกิน
วันนี้จะขอนำทรรศนะของหลวงพ่อธัมมชโยที่ท่านได้กล่าวไว้มาได้ศึกษากันบ้าง ว่าท่านได้กล่าวไว้อย่างไร
---------------------

บวชแล้วก็ต้องศึกษาคำว่า อัตตา กับ อนัตตา ให้ดี
ไม่อย่างนั้นยุ่งชะมัดเลย ที่จริงมันของง่าย ๆ นะ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านพูดตรง ๆ อยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่า แปลว่าอะไร
ในตัวเรามีทั้งอัตตา และอนัตตา
บวชเพื่อหาอัตตาในอนัตตา
วัตถุประสงค์การบวชเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม
เพื่อแสวงหาอัตตา แต่อัตตาอยู่ในอนัตตา
ที่ทะเลาะกันอยู่ เพราะแปลไม่เหมือนกัน
อนัตตา พวกหนึ่ง แปลว่า ไม่มีตัวตน
อีกพวกหนึ่ง แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน
พวกแปลว่า ไม่มีตัวตน จึงโยงไปถึงพระนิพพานสูญ คือไม่มีอะไรเลย
ที่แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน ก็ว่า นิพพานยังมีอยู่ เป็นที่รองรับผู้บริสุทธิ์
เป็นอายตนะหนึ่งที่ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกไหน ไม่มีการไป ไม่มีการมา
ไม่มีการยืน ไม่มีการเดิน ไม่มีการนอน มีแต่นั่งอย่างเดียว ไปอ่านดูเถอะในพระไตรปิฎก
ถ้า "อนัตตา" แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน
แล้ว อมนุษย์ เราจะแปลว่าอะไร ไม่มีมนุษย์ หรือแปลว่า ไม่ใช่มนุษย์
สมมติเราไปเจอตัวอะไรคะยึกคะยือในห้องน้ำ รูปร่างอย่างนั้น
อมนุษย์ จะแปลว่า ไม่มีมนุษย์ หรือจะแปลว่า ไม่ใช่มนุษย์ ก็ต้องแปลว่า ไม่ใช่มนุษย์
เพราะฉะนั้น อวิชชา ก็แปลว่า ไม่ใช่วิชชา ไม่ได้แปลว่า ไม่มีวิชชา
หรือ อรูปพรหม แปลว่า ไม่ใช่รูปพรหม แปลว่า ไม่มีรูปพรหมก็ไม่ใช่ หรือพรหมไม่มีรูปก็ไม่ใช่อีก
แต่แปลว่า ไม่ใช่รูปพรหม จึงเรียกว่า อรูปพรหม เพราะหน้าตาคล้าย ๆ กัน ระหว่างรูปพรหมกับอรูปพรหม
ไม่รู้จะเรียกอะไรก็เลยเรียกว่า ไม่ใช่รูปพรหม ไม่ได้แปลว่า ไม่มีรูปพรหม เพราะฉะนั้นมันขึ้นอยู่กับแปลตรงนี้
ทีนี้ “อนัตตา” ที่แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน เพราะอะไร
เพราะถ้าเราเป็นตัวของเรา (อัตตา) เราก็ต้องเป็นอิสระ
บังคับบัญชาอะไรได้ เป็นตัวของตัวเอง
จะนึกอะไรมันก็สมปรารถนาทุกอย่าง แต่นี่มันไม่อย่างนั้น
จะนึก จะคิด จะพูด จะทำอะไร มันไม่เป็นอย่างที่เราปรารถนา
จึงเรียกว่า ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) ไม่ได้แปลว่า ไม่มีตัวตน
เหตุเพราะไม่เป็นอิสระ ไม่ใช่ตัวตนนี้แหละ จึงเป็นทุกข์ ไม่สบายใจ
เพราะไม่ได้ดังใจ เพราะมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง เดี๋ยวเป็นนั่น เป็นนี่ เป็นโน่น อยู่ตลอดเวลา
ยังตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม
ตอนช่วงไหนประมาทในชีวิต ไม่คิดทำบุญ ชีวิตก็ตกต่ำ
ตอนช่วงไหนไม่ประมาทหมั่นสั่งสมบุญชีวิตก็สูงส่ง ก็จะมีขึ้นมีลง
มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ จึงมีคำว่า อนิจจัง แปลว่า ไม่คงที่ มีขึ้นมีลง เดี๋ยวเป็นโน่นเป็นนี่สารพัด
กายมนุษย์ ไม่ใช่ตัวตน จึงเป็น อนัตตา ไม่ได้แปลว่า กายมนุษย์ไม่มีตัวตน
ก็นี่ไงมีแขน มีขา มีหัว แต่มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง จึงอย่าไปยึดมั่น อย่าไปผูกพันกับมัน
ร่างกายเราเป็นแค่ทางผ่านให้ไปถึงตัวตนจริง ๆ
ที่เป็น อัตตา ที่เป็นตัวตนเพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นอิสระ
พ้นจากการถูกบังคับบัญชาจากกิเลสอาสวะ จากกฎแห่งกรรม มันพ้นแล้ว
จึงเป็นแหล่งแห่งความสุข จึงมีคำว่า นิจฺจํ สุขํ อตฺตา
เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่า แปลว่าอะไร เพราะแปลไม่เหมือนกัน จึงทะเลาะกัน
และที่แปลไม่เหมือนกัน เพราะประสบการณ์ภายในไม่เหมือนกัน
และที่ประสบการณ์ภายในไม่เหมือนกัน เพราะ
๑. ไม่ปฏิบัติ แต่เป็นนักคิด คิดโน่น คิดนี่ไปเรื่อยเปื่อย
๒. ปฏิบัติ แต่ผลแห่งการปฏิบัติ ความหยาบความละเอียดของการปฏิบัติไม่เท่ากัน
ก็เอาที่ไม่เท่ากันมาสรุปว่า มันคืออย่างนี้ ๆ ก็เลยเป็นเหตุให้ทะเลาะกัน
ทีนี้ถ้าจะให้เท่ากัน มันต้องหมดกิเลสเหมือน ๆ กัน
ยกตัวอย่าง ตอนก่อนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไม่กี่นาที
พระองค์ถาม มีใครสงสัยอะไรบ้าง ตรงนั้นมีแต่พระอรหันต์หมดกิเลสแล้ว
ถึงจุดอันเดียวกันไปแล้วหมดสงสัยแล้ว ไม่มีใครสงสัย
เพราะฉะนั้น อัตตา อนัตตา มันก็ตื้น ๆ แค่นี้
เราอย่ามาทะเลาะกันเลย ไปปฏิบัติกันเถิด
แล้วทำประสบการณ์ให้เท่า ๆ กัน
นี่ของตื้น ๆ เราคิดตื้น ๆ ก็ชื่นใจแล้ว เหมือนเดินในน้ำตื้น ๆ ยังชื่นใจ
ที่ว่า อัตตาอยู่ในอนัตตา คือ พระธรรมกายนั่นแหละคือ อัตตา อยู่ในร่างกายที่เป็นอนัตตา
เราก็ทะลวงอนัตตาเข้าไปถึงอัตตา เดี๋ยวเราก็จะรู้ว่าอันไหนอัตตา อันไหนอนัตตา
จะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกัน
มาถกเถียงกัน มันไม่เกิดประโยชน์กับใครทั้งนั้น
เห็นมีผู้รู้ ? มากล่าวเรื่องนี้กันเยอะเหลือเกิน
วันนี้จะขอนำทรรศนะของหลวงพ่อธัมมชโยที่ท่านได้กล่าวไว้มาได้ศึกษากันบ้าง ว่าท่านได้กล่าวไว้อย่างไร
---------------------

บวชแล้วก็ต้องศึกษาคำว่า อัตตา กับ อนัตตา ให้ดี
ไม่อย่างนั้นยุ่งชะมัดเลย ที่จริงมันของง่าย ๆ นะ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านพูดตรง ๆ อยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่า แปลว่าอะไร
ในตัวเรามีทั้งอัตตา และอนัตตา
บวชเพื่อหาอัตตาในอนัตตา
วัตถุประสงค์การบวชเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม
เพื่อแสวงหาอัตตา แต่อัตตาอยู่ในอนัตตา
ที่ทะเลาะกันอยู่ เพราะแปลไม่เหมือนกัน
อนัตตา พวกหนึ่ง แปลว่า ไม่มีตัวตน
อีกพวกหนึ่ง แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน
พวกแปลว่า ไม่มีตัวตน จึงโยงไปถึงพระนิพพานสูญ คือไม่มีอะไรเลย
ที่แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน ก็ว่า นิพพานยังมีอยู่ เป็นที่รองรับผู้บริสุทธิ์
เป็นอายตนะหนึ่งที่ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกไหน ไม่มีการไป ไม่มีการมา
ไม่มีการยืน ไม่มีการเดิน ไม่มีการนอน มีแต่นั่งอย่างเดียว ไปอ่านดูเถอะในพระไตรปิฎก
ถ้า "อนัตตา" แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน
แล้ว อมนุษย์ เราจะแปลว่าอะไร ไม่มีมนุษย์ หรือแปลว่า ไม่ใช่มนุษย์
สมมติเราไปเจอตัวอะไรคะยึกคะยือในห้องน้ำ รูปร่างอย่างนั้น
อมนุษย์ จะแปลว่า ไม่มีมนุษย์ หรือจะแปลว่า ไม่ใช่มนุษย์ ก็ต้องแปลว่า ไม่ใช่มนุษย์
เพราะฉะนั้น อวิชชา ก็แปลว่า ไม่ใช่วิชชา ไม่ได้แปลว่า ไม่มีวิชชา
หรือ อรูปพรหม แปลว่า ไม่ใช่รูปพรหม แปลว่า ไม่มีรูปพรหมก็ไม่ใช่ หรือพรหมไม่มีรูปก็ไม่ใช่อีก
แต่แปลว่า ไม่ใช่รูปพรหม จึงเรียกว่า อรูปพรหม เพราะหน้าตาคล้าย ๆ กัน ระหว่างรูปพรหมกับอรูปพรหม
ไม่รู้จะเรียกอะไรก็เลยเรียกว่า ไม่ใช่รูปพรหม ไม่ได้แปลว่า ไม่มีรูปพรหม เพราะฉะนั้นมันขึ้นอยู่กับแปลตรงนี้
ทีนี้ “อนัตตา” ที่แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน เพราะอะไร
เพราะถ้าเราเป็นตัวของเรา (อัตตา) เราก็ต้องเป็นอิสระ
บังคับบัญชาอะไรได้ เป็นตัวของตัวเอง
จะนึกอะไรมันก็สมปรารถนาทุกอย่าง แต่นี่มันไม่อย่างนั้น
จะนึก จะคิด จะพูด จะทำอะไร มันไม่เป็นอย่างที่เราปรารถนา
จึงเรียกว่า ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) ไม่ได้แปลว่า ไม่มีตัวตน
เหตุเพราะไม่เป็นอิสระ ไม่ใช่ตัวตนนี้แหละ จึงเป็นทุกข์ ไม่สบายใจ
เพราะไม่ได้ดังใจ เพราะมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง เดี๋ยวเป็นนั่น เป็นนี่ เป็นโน่น อยู่ตลอดเวลา
ยังตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม
ตอนช่วงไหนประมาทในชีวิต ไม่คิดทำบุญ ชีวิตก็ตกต่ำ
ตอนช่วงไหนไม่ประมาทหมั่นสั่งสมบุญชีวิตก็สูงส่ง ก็จะมีขึ้นมีลง
มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ จึงมีคำว่า อนิจจัง แปลว่า ไม่คงที่ มีขึ้นมีลง เดี๋ยวเป็นโน่นเป็นนี่สารพัด
กายมนุษย์ ไม่ใช่ตัวตน จึงเป็น อนัตตา ไม่ได้แปลว่า กายมนุษย์ไม่มีตัวตน
ก็นี่ไงมีแขน มีขา มีหัว แต่มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง จึงอย่าไปยึดมั่น อย่าไปผูกพันกับมัน
ร่างกายเราเป็นแค่ทางผ่านให้ไปถึงตัวตนจริง ๆ
ที่เป็น อัตตา ที่เป็นตัวตนเพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นอิสระ
พ้นจากการถูกบังคับบัญชาจากกิเลสอาสวะ จากกฎแห่งกรรม มันพ้นแล้ว
จึงเป็นแหล่งแห่งความสุข จึงมีคำว่า นิจฺจํ สุขํ อตฺตา
เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่า แปลว่าอะไร เพราะแปลไม่เหมือนกัน จึงทะเลาะกัน
และที่แปลไม่เหมือนกัน เพราะประสบการณ์ภายในไม่เหมือนกัน
และที่ประสบการณ์ภายในไม่เหมือนกัน เพราะ
๑. ไม่ปฏิบัติ แต่เป็นนักคิด คิดโน่น คิดนี่ไปเรื่อยเปื่อย
๒. ปฏิบัติ แต่ผลแห่งการปฏิบัติ ความหยาบความละเอียดของการปฏิบัติไม่เท่ากัน
ก็เอาที่ไม่เท่ากันมาสรุปว่า มันคืออย่างนี้ ๆ ก็เลยเป็นเหตุให้ทะเลาะกัน
ทีนี้ถ้าจะให้เท่ากัน มันต้องหมดกิเลสเหมือน ๆ กัน
ยกตัวอย่าง ตอนก่อนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไม่กี่นาที
พระองค์ถาม มีใครสงสัยอะไรบ้าง ตรงนั้นมีแต่พระอรหันต์หมดกิเลสแล้ว
ถึงจุดอันเดียวกันไปแล้วหมดสงสัยแล้ว ไม่มีใครสงสัย
เพราะฉะนั้น อัตตา อนัตตา มันก็ตื้น ๆ แค่นี้
เราอย่ามาทะเลาะกันเลย ไปปฏิบัติกันเถิด
แล้วทำประสบการณ์ให้เท่า ๆ กัน
นี่ของตื้น ๆ เราคิดตื้น ๆ ก็ชื่นใจแล้ว เหมือนเดินในน้ำตื้น ๆ ยังชื่นใจ
ที่ว่า อัตตาอยู่ในอนัตตา คือ พระธรรมกายนั่นแหละคือ อัตตา อยู่ในร่างกายที่เป็นอนัตตา
เราก็ทะลวงอนัตตาเข้าไปถึงอัตตา เดี๋ยวเราก็จะรู้ว่าอันไหนอัตตา อันไหนอนัตตา
จะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกัน
DSI + เผือกร้อน + กองเชียร์ + สื่อ + ท่าทีของวัดพระธรรมกาย
ผมเฝ้าดูเหตุการณ์บนโซเชียล พันทิบ และข่าวสารที่ผ่านมา ตลอดช่วงเวลาที่ DSI เริ่มนำคดี สหกรณ์คลองจั่นยกระดับเป็นคดีฟอกเงิน
อินเทอร์เนต เป็นสังคมที่ยุคที่ใครก็ได้ อายุเท่าไหร่ มีความรู้เรื่องที่จะพูดหรือไม่ มีอคติเจตคติหรือไม่ มีอิสระที่จะเข้ามาแสดงความคิดเห็น ซึ่งมีทั้งเรื่องดีและเรื่องที่ต้องระวัง
ผมเข้าวัดพระธรรมกายนะครับ (อ่ะมีบางคนตั้งท่าจะมาถากถาง แต่ขอให้อ่านให้จบสักนิดและมาคุยอย่างอารยะนะครับ)
ที่นี่สอนให้เข้าทุกวัดผมก็เข้าทุกวัดเคารพในพระรัตนตรัยยิ่งชีวิต และสอนให้มุ่งตรงสู่พระนิพพาน ซึ่งผมเองก็ไม่ค่อยจะไปทางตรงนัก หลวงพี่ชวนผมบวชตลอดชีวิตตลอดให้บำเพ็ญเนกขัมบารมี แต่ผมขอเป็นฆราวาสที่ดีแล้วกันนะครับหลวงพี่ บุญยังไม่ถึงแต่จริงๆ ยังมีกิเลสอยู่ 555
เอาล่ะมาเข้าเรื่อง ว่าทำไมเหตุการณ์มันบานปลายมาขนาดนี้
DSI (Department of Special Investigation) เป็นหน่วยงานที่วัตถุประสงของการจัดตั้งดี แต่ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือ หน่วยงานดีไม่ได้แปลว่าคนคุมหน่วยงานจะดีอธิบดีคนที่แล้วก็มีปัญหาไม่โปร่งใส ส่วนคนที่เข้ามาดูแลคดีความนี้ที่ถูกจัดตั้งมาคือคุณไพบูลย์ นิติตะวันและมีที่ปรึกษาเป็นดร.มโน รวมถึงมี พระพุทธอิสระ ขับเคลื่อนไปด้วยกัน ด้วยความสงสัยว่าบุคคลที่มีอคติเป็นตัวขับเคลื่อนจะทำให้คดีเป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็นได้อย่างไร หากคนข้างบ้านเกลียดคุณพ่อคุณมากๆและเขาดันเป็นอัยการหรือตำรวจเวลามีกรณีพิพาทคุณจะส่งพ่อคุณให้กลุ่มคนเหล่านี้ดำเนินคดีไหม คุณจะกังวลไหมผมกังวลนะ
... การทำคดีที่อะเอียดอ่อนกว่ากรณีทั่วไปแบบนี้ทำไมต้องรวบรัดและใช้สรรพกำลังขนาดนี้ ทั้งๆที่พระที่บอกให้ช่วยไปดูอาการท่านในวัดได้เพราะท่านป่วยจริงแต่ท่านไม่เข้าไปพิสูจน์ เป็นผมๆก็ไม่ออกไปหรอกมันเสี่ยง นอกจากเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายจากความเจ็บป่วย ยังต้องมาเสี่ยงจากสิ่งอื่นที่มองไม่เห็นในยุคที่คนตายได้ๆง่ายๆจากการติดเชื้อในกระเเสเลือด หรืออาจโดนกระตุกผ้าเหลือง เพราะฉะนั้นอย่าได้เร่งรัด ไปแจ้งข้อหาได้ ส่งแพทย์เข้าไปได้ รอให้หายป่วยก่อนได้ไหม คุณคงไม่ยอมให้คนข้างบ้านที่เกลียดพ่อคุณมาพาตัวพ่อคุณไปหรอก เราน่าจะเหมือนกัน
ตอนนี้ ผมว่า DSI น่าจะต้องตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากมาก เพราะ"เผือกมันร้อน" มันเลยต้องจบไว ใครก็ไม่กล้ารับ นายกบอกเรื่องเล็ก DSI ไปจัดการเองเรื่องศาสนาไม่อยากยุ่ง คนที่ปฏิบัติเขาก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องเลือกปฏิบัติ คนเคารพสมเด็จช่วงว่าที่พระสังฆราช ที่ท่านไปหาเรื่องหาราวชลอไม่ให้ท่านได้ขึ้นทั้งที่มีมติจากสังฆมลฑลออกมาตั้งแต่เดือนมกรา ด้วยเรื่องรถในพิพิธภัณฑ์ แล้วยังไปให้โยนเผือกไปให้ท่านอีก ... กล้าที่จะเล่นเกมส์ที่ละเอียดอ่อนขนาดนี้ ไม่มีใครเค้าไปด้วยสุดทางหรอกครับ
ส่วนที่เห็นออกมาเชียร์การทำงานของ DSI จะให้เข้าบุกทลายไปจับให้ได้ ยุให้ตัดน้ำตัดไฟ (แปลกนะครับเค้าอยู่ในบ้านเขาไม่ได้ไปยึดสถานที่ราชการสนามบิน แต่พวกคุณยุกันให้ทำแบบนี้มันเข้าข่ายทำลายสิทธิมนุษย์ชนไปหน่อยไหม มีเรื่องแบบนี้ในกมลสันดานได้อย่างไร) ผมไม่ค่อยให้ความสำคัญ ส่วนใหญ่เป็น Hate Speech ด่าไว้ก่อน ด่าทุกเรื่อง บางคนหยาบคายสิ้นดีว่าไหม หาว่าไม่ป่วยจริง หาว่าภาพตัดต่อเป็นขาใครไม่รู้ หาว่าจะหนีไปอยู่กับเณรคำ เอารูปมาล้อเลียน ก็รู้นะว่ากระเเสมันแรงและอยากมีตัวตนในสังคมมีคนมากดไลท์เยอะ มันพิมพ์ง่ายนะ แต่ผลมันยาว ... เรายอมรับคนไม่ชอบแนวทาง แต่เล่นด่ากันแบบหาความจริงไม่ได้เนี่ย ผมว่ามันเกรียนไปนะ
"สื่อ" สถานการณ์นี้วัดคุณภาพของสื่อหลายสื่อเลยทีเดียวครับ (อันนี้ผมไม่รวม DMC นะครับเพราะไม่ได้เเสวงหากำไรและเป็นสื่อวัดผมหมายถึงสื่อที่เป็นสื่อกลาง) ไม่ต้องมาเขียนเชียร์วัดหรอกครับ แต่เป็นวิธีการตั้งข้อสังเกตุต่างหากที่ทำให้แยกแยะออก หรือลักษณะของคำถาม ถ้าพิธีกรมีธงในใจเเล้วแสดงท่าทีออกมาแล้ว ไม่ว่าคุยเรื่องอะไรก็คงไม่น่าฟัง หลายสื่อทำออกมาได้ดีทีเดียว เดี่ยวนี้สื่อทีวีที่อยู่ในช่องหลักดีหมดเลยครับถือว่าระดับมาตรฐานดีอาจเป็นเพราะผ่านเรื่องราวมายาวนานทำให้ไม่มีการออกตัวเเรงจนต้องมาตามแก้กันทีหลัง แต่ช่วงดาวเทียมหลายช่องน่าจะคงเป็นเป็นสื่อเลือกข้างอยู่ ส่วนหนังสือพิมพ์ยังเหมือนเดิมขายพาดหัวมีบทเรียนมาเเล้วไม่ค่อยจำกัน ออกตัวเเรงเวลาพิมพ์มาขอโทษอยู่ไหนไม่รู้หาเเทบไม่เจอ
"ท่าทีของวัดพระธรรมกาย" ไม่มีอะไรมากหรือซับซ้อนครับ หลวงพ่อป่วยและอยู่ที่วัดแน่นอน มีคนไปวัดปกติถ้าบุกมาไม่รู้ว่าจะเอาอะไรไปสู้ แต่ภาพคงออกมาไม่สวย ผมนึกภาพยิ่งแก๊ซน้ำตาไปที่พระเเล้วคงอนาถน่าดู พระเป็นพันท่านก็อยู่ของท่าน อุบาสกอุบาสิกาเป็นพัน คนปฏิบัติธรรมเป็นหมื่นอยู่ในนั้น อยู่ในที่ตั้งมั่นของท่าน ไม่ได้ไปยึดสถานที่ใครให้ต้องมาปฏิบัติการณ์ 2000 คน หวังว่าจะมีคนในหน่วยงาน DSI ฉลาดๆและมีธรรมะและเป็นกลางมาทำให้สถานการณ์ไม่แย่ไปกว่านี้เรายินดีให้ความร่วมมือ เราจะได้ปฏิบัติธรรมและเสริมสร้างคนดีๆให้กับสังคมต่อไป
บุญรักษาผู้ประพฤติธรรม
วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
พระทำอาหารได้ด้วยหรือ ? แล้วหลวงจีนทำอาหารได้ยังไง ?
ผมเป็นคนนึงที่มีคำถามในใจว่า
พระทำอาหารได้หรือไม่ ?
ทำไมหลวงจีนทำอาหารได้ ?
พระที่3จังหวัดชายแดนได้อาหารแห้งแล้วจะนำไปฉันยังไง ?
เราอาจจะเคยเห็นในหนังกำลังภายใน
ที่มีพระเอกไปฝึกวิชากับหลวงจีนเส้าหลินโดยเริ่มต้นจากหั่นผักในครัว

แต่ว่าสำหรับพระเถรวาทอย่างในประเทศไทย พระทำอาหารได้หรือไม่
คำตอบในใจค่อนข้างจะชัดเจนว่าไม่ได้เพราะ ... ไม่เคยเห็น
ที่ผ่านมาเห็นแต่พระบิณฑบาต จึงลองไปหาข้อมูลในพระวินัยได้ความว่า

กัปปิยะ = สมควรกับสมณะสารูป เช่น ปัจจัยสี่
อกัปปิยะ = ไม่สมควรกับสมณะสารูป
แล้วหลวงจีนทำอาหารได้ยังไง ?

พอค้นต่อไปอีกหน่อย พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ
ช่วงที่เกิดทุกขภิกขภัยข้าวยากหมากแพงในกรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้
- เก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่
- ให้หุงต้มอาหารในที่อยู่
- ให้หุงต้มเองได้
แต่เมื่อบ้านเมืองกลับสู่สภาพปกติ ก็ทรงยกเลิกข้อยกเว้นเรื่องทุพภิกขภัย

หลังจากเอาข้อมูลมารวมกับที่เคยฟังพระเทศน์เรื่องกุศโลบายในพระพุทธศาสนาทางฝ่ายมหายาน
ท่านเล่าให้ฟังว่าในจีนวัดส่วนใหญ่อยู่บนยอดเขาเดินทางลำบาก
ประกอบกับในช่วงแรกคนจีนไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา
จึงมีกลุ่มโจรมาคอยปล้นระหว่างทางทำให้การเดินทางมาบิณฑบาตไม่ปลอดภัยทั้งของพระและโยม
คาดว่าท่านคงจะอุปมาว่านี่ก็เป็น ทุพภิกขภัย เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงอย่างหนึ่ง
เลยไปดึงข้อยกเว้นที่พระพุทธเจ้าริบคืนไปแล้วกลับมาใช้ใหม่
จากนั้นก็ทำต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

พอได้ฟังเคสของพระในจีนแล้ว ทำให้มองกลับมาที่สถานการณ์ใกล้ตัว เรื่องพระทำอาหาร
เห็นหลายๆหน่วยงานเขาจัดตักบาตร ได้ข้าวสารอาหารแห้ง ส่งไปช่วยเหลือ
วัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

เมื่อมีผู้ก่อความไม่สงบ ทำให้พระไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ตามปกติ
ถึงแม้จะไม่เรียกว่า ทุพภิกขภัย แต่ก็น่าจะประเมินได้ว่า
อยู่ในสถานการณ์ที่มีความอันตรายต่อชีวิต คงพออนุโลมได้เหมือนกัน
เพราะถ้าจะให้เลือกระหว่างออกไปบิณฑบาตแล้ว เสี่ยงทั้งพระและโยม (ทหารที่คอยเดินตามด้วย) กับ ปลงอาบัติ
การเลือกในวิธีการอย่างหลังน่าจะเหมาะกว่านะครับ


เขียนไปเหมือนจะเริ่มต้นที่พระไตรปิฏก แล้วมาจบด้วย ความไม่สงบได้ยังไงก็ไม่รู้
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ
(เห็นข้อมูลใน blog น่าสนใจเลยเอามายำรวมกับสถานการณ์ใกล้ตัวในปัจจุบันดูซะหน่อย)
ข้อมูลจาก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/5.3.html
http://www.dhammahome.com/webboard/topic3762.html
http://www.84000.org/tipitaka/read/?5/49
พระทำอาหารได้หรือไม่ ?
ทำไมหลวงจีนทำอาหารได้ ?
พระที่3จังหวัดชายแดนได้อาหารแห้งแล้วจะนำไปฉันยังไง ?
เราอาจจะเคยเห็นในหนังกำลังภายใน
ที่มีพระเอกไปฝึกวิชากับหลวงจีนเส้าหลินโดยเริ่มต้นจากหั่นผักในครัว

แต่ว่าสำหรับพระเถรวาทอย่างในประเทศไทย พระทำอาหารได้หรือไม่
คำตอบในใจค่อนข้างจะชัดเจนว่าไม่ได้เพราะ ... ไม่เคยเห็น
ที่ผ่านมาเห็นแต่พระบิณฑบาต จึงลองไปหาข้อมูลในพระวินัยได้ความว่า

กัปปิยะ = สมควรกับสมณะสารูป เช่น ปัจจัยสี่
อกัปปิยะ = ไม่สมควรกับสมณะสารูป
แล้วหลวงจีนทำอาหารได้ยังไง ?

พอค้นต่อไปอีกหน่อย พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ
ช่วงที่เกิดทุกขภิกขภัยข้าวยากหมากแพงในกรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้
- เก็บอาหารค้างคืนในที่อยู่
- ให้หุงต้มอาหารในที่อยู่
- ให้หุงต้มเองได้
แต่เมื่อบ้านเมืองกลับสู่สภาพปกติ ก็ทรงยกเลิกข้อยกเว้นเรื่องทุพภิกขภัย

หลังจากเอาข้อมูลมารวมกับที่เคยฟังพระเทศน์เรื่องกุศโลบายในพระพุทธศาสนาทางฝ่ายมหายาน
ท่านเล่าให้ฟังว่าในจีนวัดส่วนใหญ่อยู่บนยอดเขาเดินทางลำบาก
ประกอบกับในช่วงแรกคนจีนไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา
จึงมีกลุ่มโจรมาคอยปล้นระหว่างทางทำให้การเดินทางมาบิณฑบาตไม่ปลอดภัยทั้งของพระและโยม
คาดว่าท่านคงจะอุปมาว่านี่ก็เป็น ทุพภิกขภัย เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงอย่างหนึ่ง
เลยไปดึงข้อยกเว้นที่พระพุทธเจ้าริบคืนไปแล้วกลับมาใช้ใหม่
จากนั้นก็ทำต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

พอได้ฟังเคสของพระในจีนแล้ว ทำให้มองกลับมาที่สถานการณ์ใกล้ตัว เรื่องพระทำอาหาร
เห็นหลายๆหน่วยงานเขาจัดตักบาตร ได้ข้าวสารอาหารแห้ง ส่งไปช่วยเหลือ
วัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

เมื่อมีผู้ก่อความไม่สงบ ทำให้พระไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ตามปกติ
ถึงแม้จะไม่เรียกว่า ทุพภิกขภัย แต่ก็น่าจะประเมินได้ว่า
อยู่ในสถานการณ์ที่มีความอันตรายต่อชีวิต คงพออนุโลมได้เหมือนกัน
เพราะถ้าจะให้เลือกระหว่างออกไปบิณฑบาตแล้ว เสี่ยงทั้งพระและโยม (ทหารที่คอยเดินตามด้วย) กับ ปลงอาบัติ
การเลือกในวิธีการอย่างหลังน่าจะเหมาะกว่านะครับ


เขียนไปเหมือนจะเริ่มต้นที่พระไตรปิฏก แล้วมาจบด้วย ความไม่สงบได้ยังไงก็ไม่รู้
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ
(เห็นข้อมูลใน blog น่าสนใจเลยเอามายำรวมกับสถานการณ์ใกล้ตัวในปัจจุบันดูซะหน่อย)
ข้อมูลจาก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/5.3.html
http://www.dhammahome.com/webboard/topic3762.html
http://www.84000.org/tipitaka/read/?5/49
พุทธในไทยจะรุ่งหรือจะสูญ
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อ 31 ธันวาคม 2552 แสดงไว้ว่า
ประชาชนไทยมี 67,422,887 คน
จากการสำรวจการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม ปี 2548
มีพุทธศาสนิกชน 46,902,100 คน
คิดเป็น 69.56%

>>หลายคนคงสงสัย เพราะเคยทราบว่าชาวพุทธไทยมีประมาณ 94% ทำไมสำนักงานสถิติแห่งชาติจึงบอกว่า เหลือเพียง 69%
>> ความจริงคือ ตัวเลข 94% นั้นเป็นชาวพุทธตามทะเบียนบ้าน แต่เขาสำรวจจากการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม คือ ถ้าคนนั้นๆ แม้ทะเบียนบ้านจะเป็นชาวพุทธ แต่ถ้าหากตั้งแต่เกิดมาไม่เคยสวดมนต์ นั่งสมาธิ ไม่เคยใส่บาตร ไม่เคยทำบุญผ้าป่า กฐิน ไม่เคยเข้าวัด ฟังเทศน์ เขาไม่นับ
>> เมื่อได้ตรวจสอบอย่างนี้แล้วพบว่า เหลือคนที่ยังพอเคยเข้าร่วมกิจกรรมพุทธอยู่ 69% ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นชาวพุทธที่แข็งแรงนัก อาจเคยทำกิจกรรมพุทธบ้างตามประเพณี 1-2 ครั้ง
>> แท้ที่จริงชาวพุทธที่ตื่นตัว ตั้งใจรักษาศีล สวดมนต์ นั่งสมาธิจริงๆ อาจเหลือเพียงราว5 % เท่านั้นก็เป็นได้
>> ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเดี๋ยวนี้ปัญหาสังคมมีมาก อาชญากรรมหลากหลาย ยาเสพติดเกลื่อนเมือง คนไทยดื่มเหล้ามากติดอันดับ 5 ของโลก
>> เมื่อชาวพุทธไทยโดยรวมเป็นอย่างนี้ และศาสนิกอื่นก็ทุ่มเททำงานเผยแผ่ศาสนาของตนอย่างเต็มกำลัง จึงน่าคิดว่า
__อนาคตพระพุทธศาสนาในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ? **
__เราจะเป็นเหมือนอินเดีย ที่พระพุทธศาสนาสาบสูญไปหรือไม่? **
ทางแก้ คือ
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก
ดังครั้งพุทธกาล เมื่อตรัสรู้ธรรม ทั้งโลกมีชาวพุทธเพียง 1 ท่าน คือ พระพุทธเจ้า
จากนั้นพระองค์ไปโปรดปัญจวัคคีย์ จึงเกิดพระสงฆ์ขึ้น ทำให้พระรัตนตรัยครบ 3 ทั้ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ราว 5 เดือน หลังตรัสรู้ธรรม พระองค์ได้ประชุมพระอรหันต์สาวก 60 รูปแรกของโลก และประทานโอวาท ความตอนหนึ่งว่า
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่มหาชน
เพื่อความเอ็นดูแก่โลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เธอจงไปคนเดียวหลายๆทาง อย่าไปทางเดียวหลายๆคน สัตว์โลกผู้มีธุลีในดวงตาน้อย
ผู้จักอาจรู้ทั่งถึงธรรมนั้นมีอยู่ เขาเหล่านั้นย่อมเสื่อมจากคุณที่พึงได้พึงเห็นเพราะเหตุที่ไม่ได้ฟังธรรม
แม้ตถาคตก็จะไปสู่อุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรมเหมือนกัน ”
ซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติแก่มวลสาวกแต่นั้นมา
จากพุทธโอวาทนี้เราจะเห็นแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าทรงให้เผยแผ่เชิงรุก
พระองค์ไม่ได้ให้นั่งรอคนที่วัด แต่ให้เที่ยวจาริกออกไปเผยแผ่ธรรมะสั่งสอนชาวโลก
และเนื่องจากพระสงฆ์ 60 รูปแรก เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด สามารถคุ้มครองตนเองได้
กิจในการปราบกิเลสของตนทำเสร็จแล้ว พระองค์จึงให้ไปคนเดียวหลายๆทาง เพื่อเผยแผ่ให้ได้กว้างขวางที่สุดนั่นเอง

>>การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีทางทำได้แน่นอน
เพราะรากฐานทางพระพุทธศาสนาฝังลึกในไทยมากว่าสองพันปี
ชาวพุทธไทยมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา แม้ไม่ค่อยได้เข้าวัด
ไม่ค่อยได้รักษาศีล นั่งสมาธิ แต่ก็ยังศรัทธามั่นในพระพุทธศาสนา อยากให้พระพุทธศาสนาเจริญมั่นคง
ผู้คนมีศีลธรรม สังคมสงบร่มเย็น
>> ชาวพุทธที่ตื่นตัวทุกกลุ่ม จึงต้องเร่งขวนขวายทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลัง อย่าอยู่เฉยๆ ต้องทำกิจกรรม อาทิ
- จัดบวชพระ บวชเณร
- จัดทำบุญตักบาตร
- จัดสวดมนต์
- จัดคอร์สนั่งสมาธิ
- จัดการแสดงธรรม
- จัดตอบปัญหาธรรมะ
- จัดงานสังคมสงเคราะห์หรือ จิตอาสาต่างๆ
- จัดสัมมนาทางวิชาการ
ฯลฯ


ใครถนัดอะไรก็ให้ทำสิ่งนั้น ขอให้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ ก็ถือว่าดีทั้งนั้น
เพราะคนเรามีจริตไม่เหมือนกัน ใครชอบแบบไหนก็ไปร่วมกิจกรรมแบบนั้น
ถ้าทุกคนทุกวัด ทุกองค์กรขวนขวายช่วยกันทำกิจกรรมพุทธที่ตนมีความถนัด
>>ภาพรวมพระพุทธศาสนาจะเกิดความคึกคัก ปลุกกระแสชาวพุทธให้ตื่นตัวหันมาสนใจพระพุทธศาสนา
ภาพลักษณ์พระพุทธศาสนาจะดีขึ้น
แต่ถ้าชาวพุทธที่ตื่นตัว ซึ่งมีจำนวนไม่มากมายอะไร ยังมาทะเลาะกัน โจมตีกันเองอีก
ทำให้เกิดความแตกแยก ผู้คนก็จะเบื่อหน่าย พระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมสูญไปในที่สุด
>> อินเดียเป็นประเทศใหญ่ มีประชากรมากกว่าอังกฤษหลาย 10 เท่า
แต่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ก็เพราะอังกฤษใช้วิธีการแบ่งแยกแล้วปกครอง
ยุให้แคว้นต่างๆ ของอินเดียทะเลาะรบกันเอง แล้วค่อยๆ รุกคืบยึดทีละแคว้นจนยึดอินเดียได้ทั้งประเทศ
>> ดังนั้นชาวพุทธไทยอย่าตกในหลุมพรางทะเลาะกันเอง ขอให้สามัคคีกัน
ช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก ให้พระพุทธศาสนาสถิตสถาพรคู่ชาติไทยไปชั่วกาลนาน
นำสันติสุขความร่มเย็นมาสู่สังคมไทยเถิด
อย่าเอาตัวเองไปวัดหัวใจพระโพธิสัตว์ ท่านทุ่มสร้างบารมีด้วยชีวิต
การทำความดี สั่งสมบุญบารมีนั้น มีความเข้มข้นหลายระดับ ดังนี้
1. ทำบุญ __คือ การทำความดีของบุคคลโดยทั่วไป
2. สร้างบารมี__คือ การทำบุญแบบเข้มข้น
3. อุปบารมี__คือ การสร้างบารมีที่เข้มข้นมากขึ้น ระดับยอมสละอวัยวะได้
4. ปรมัตถบารมี__คือ การสร้างบารมีที่เข้มข้นสูงสุด ระดับยอมสละชีวิตได้
>>นักสร้างบารมีผู้มุ่งหวังผลที่สูง เช่น พระโพธิสัตว์ ท่านจะมีใจที่ใหญ่มาก กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ ในสิ่งดีๆอย่างอุทิศชีวิต และทำอย่างต่อเนื่องไม่ใช่นานๆทำที ทำชนิดคนธรรมดาคาดฝันไม่ถึงเลย
@ตัวอย่างการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า@
>>ชาติหนึ่ง พระพุทธเจ้าของเราขณะสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ บวชเป็นดาบส
ยืนอยู่บนหน้าผามองลงไปเห็นแม่เสือหิวโซกำลังจะกินลูกตัวเอง พระองค์ยอมกระโดดลงไปให้เสือกิน
เพื่อช่วยชีวิตลูกเสือ โดยอธิษฐานจิตว่า** ขอบุญนี้ส่งผลให้ข้าพเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
สมัยพระองค์เกิดเป็นพระเวสสันดร ยอมยกพระโอรสพระธิดา คือ กัณหา กับ ชาลี ให้กับพราหมณ์ชูชก
แต่ก็วางแผนการไว้จนชูชกนำกัณหากับชาลี ไปถวายพระเจ้าตา เพื่อรับเงินแทน
แม้พระชาติสุดท้าย เจ้าชายสิทธัตถะก็เสด็จออกบวชในวันที่พระโอรส คือ เจ้าชายราหุลประสูตินั่นเอง
เมื่อบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้ธรรมแล้วก็กลับมาโปรดพระญาติ พระเจ้าสุทโธทนะ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
พระนางพิมพาสุดท้ายก็ได้บวชบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตเถรี เจ้าชายราหุลก็บวชเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
และเป็นสามเณรอรหันต์ แม้พระราชมารดาจะสวรรคตแล้ว พระองค์ยังเสด็จตามไปโปรดถึงบนสวรรค์จนบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
>>หากใครไม่เข้าใจ ใช้ความรู้สึกของตัวเองไปวัดการสร้างบุญบารมีของพระโพธิสัตว์
แล้วหลงไปตำหนิท่านว่าทำมากเกินไป โง่ หลงบุญ บ้าบุญ ทิ้งลูกทิ้งเมียออกบวช เราลองคิดดูว่า
คนๆนั้นจะมีวจีกรรมแบกบาปหนักขนาดไหน มีนรกเป็นที่ ไปไม่คุ้มเลย
>>ใจของเราหากยังอยู่ที่ระดับการทำบุญขั้นแรกทำแบบเล็กๆน้อยๆทั่วไป
เมื่อเห็นคนอื่นเขาทำความดีอย่างอุกฤษฏ์ไม่ใช่ไปตำหนิเขา แต่ควรอนุโมทนา เราจะได้บุญด้วย
>>การทำความดีจริงๆแล้วไม่มีคำว่าทำมากเกินไป อยู่ที่หัวใจของคนๆนั้นมีเป้าหมายชีวิตที่สูงส่งเพียงใด
>>จะวัดว่าดีหรือไม่ดี ไม่ได้ดูที่ว่าทำมากไปไหม แต่ดูที่สาระของการกระทำ ถ้าเป็นเรื่องดี ก็คือดี ยิ่งทำมากยิ่งดี
การให้ทาน¬¬__อย่างอุทิศได้แม้ชีวิต เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
การรักษาศีล__โดยยอมตายไม่ยอมละเมิดศีล เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
การเจริญภาวนา__โดยทำสมาธิอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
@ตัวอย่างนักสร้างบารมียุคปัจจุบัน@
แม้ในยุคใกล้ๆของเรานี้ ก็มีพระเถระผู้บวชอุทิศตนสร้างบารมีอย่างชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันหลายรูป
ซึ่งในช่วงแรกทุกท่านจะถูกเข้าใจผิด ถูกโจมตีต่างๆนานาเหมือนกัน
เพราะการสร้างบารมีอย่างเอาจริงเอาจัง ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันที่ทำนั้น__เป็นสิ่งที่สังคมไม่คุ้นเคย**
จึงถูกระแวงสงสัย จับผิด โจมตี แต่ด้วยความหนักแน่น อดทน ไม่หวั่นไหวทำความดีอย่างต่อเนื่อง
สุดท้ายสังคมก็ยอมรับสิ่งที่ท่านเหล่านี้ได้ทำ สร้างคุณูปการแก่พระพุทธศาสนามากมาย อาทิ
1. พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
2. หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ
3. ครูบาศรีวิชัย
4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)
5. ท่านพุทธทาส
ฯลฯ
ผู้มีปัญญาเพียงพินิจดู ก็จะรู้ว่า สิ่งที่ท่านเหล่านั้นทำต้องทำด้วยชีวิต ผู้มีเจตนาทุจริต
ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ศาสนสถานและศาสนบุคคลที่ท่านสร้างก็จะเป็นสมบัติของแผ่นดินและพระพุทธศาสนาสืบไป
>>ผู้มีเจตนาไม่สุจริต มักจะอยู่ไม่ได้นาน ก็จะมีเหตุให้ต้องออกไป
ยากที่จะยืนหยัดทำความดี โดยไม่หวั่นไหวต่อคำติฉิน นินทาใดๆ
>>คนในโลกนี้ส่วนมากคิดถึงตนเองก่อน ถ้าเป็นเพื่อผลประโยชน์ตนเอง
ก็ทุ่มเทเต็มที่แต่ถ้าเป็นเรื่องส่วนรวมก็ทำเล็กๆน้อยๆ เหยาะแหยะ
ผู้ที่มีใจใหญ่เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความดี ใหม่ๆจึงมักถูกมองว่าทำอะไรใหญ่โตเกินไป
คงมีวัตถุประสงค์แอบแฝง มองกันไปในแง่ร้าย
>>เราชาวพุทธเมื่อเห็นพระภิกษุรูปใดตั้งใจทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง
แม้เริ่มต้นเราอาจจะไม่เห็นด้วยในวิธีการ หรือรูปแบบก็อย่าเพิ่งไปตำหนิหรือด่าว่า
เพราะจะกลายเป็นวิบากกรรม คนที่ไปด่าพระภิกษุที่ทำความดีอย่างอุทิศชีวิตเหมือนพระโพธิสัตว์ผลกรรมนั้นน่ากลัวมาก
>>ตรงกันข้ามใครชอบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบไหน ก็ไปชวนคนให้มาปฏิบัติแบบที่ตัวเองชอบ
อย่าเอาเวลา สติปัญญา ความสามารถของเราไปใช้ในทางทำลาย ก่อบาป
แต่ให้เอามาใช้ในทางสร้างสรรค์กันดีกว่า จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาเจริญก้าวหน้าตัวเราก็จะได้ไม่มีกรรมหนักติดตัวด้วย
1. ทำบุญ __คือ การทำความดีของบุคคลโดยทั่วไป
2. สร้างบารมี__คือ การทำบุญแบบเข้มข้น
3. อุปบารมี__คือ การสร้างบารมีที่เข้มข้นมากขึ้น ระดับยอมสละอวัยวะได้
4. ปรมัตถบารมี__คือ การสร้างบารมีที่เข้มข้นสูงสุด ระดับยอมสละชีวิตได้
>>นักสร้างบารมีผู้มุ่งหวังผลที่สูง เช่น พระโพธิสัตว์ ท่านจะมีใจที่ใหญ่มาก กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ ในสิ่งดีๆอย่างอุทิศชีวิต และทำอย่างต่อเนื่องไม่ใช่นานๆทำที ทำชนิดคนธรรมดาคาดฝันไม่ถึงเลย
@ตัวอย่างการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า@
>>ชาติหนึ่ง พระพุทธเจ้าของเราขณะสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ บวชเป็นดาบส
ยืนอยู่บนหน้าผามองลงไปเห็นแม่เสือหิวโซกำลังจะกินลูกตัวเอง พระองค์ยอมกระโดดลงไปให้เสือกิน
เพื่อช่วยชีวิตลูกเสือ โดยอธิษฐานจิตว่า** ขอบุญนี้ส่งผลให้ข้าพเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
สมัยพระองค์เกิดเป็นพระเวสสันดร ยอมยกพระโอรสพระธิดา คือ กัณหา กับ ชาลี ให้กับพราหมณ์ชูชก
แต่ก็วางแผนการไว้จนชูชกนำกัณหากับชาลี ไปถวายพระเจ้าตา เพื่อรับเงินแทน
แม้พระชาติสุดท้าย เจ้าชายสิทธัตถะก็เสด็จออกบวชในวันที่พระโอรส คือ เจ้าชายราหุลประสูตินั่นเอง
เมื่อบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้ธรรมแล้วก็กลับมาโปรดพระญาติ พระเจ้าสุทโธทนะ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
พระนางพิมพาสุดท้ายก็ได้บวชบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตเถรี เจ้าชายราหุลก็บวชเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
และเป็นสามเณรอรหันต์ แม้พระราชมารดาจะสวรรคตแล้ว พระองค์ยังเสด็จตามไปโปรดถึงบนสวรรค์จนบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
>>หากใครไม่เข้าใจ ใช้ความรู้สึกของตัวเองไปวัดการสร้างบุญบารมีของพระโพธิสัตว์
แล้วหลงไปตำหนิท่านว่าทำมากเกินไป โง่ หลงบุญ บ้าบุญ ทิ้งลูกทิ้งเมียออกบวช เราลองคิดดูว่า
คนๆนั้นจะมีวจีกรรมแบกบาปหนักขนาดไหน มีนรกเป็นที่ ไปไม่คุ้มเลย
>>ใจของเราหากยังอยู่ที่ระดับการทำบุญขั้นแรกทำแบบเล็กๆน้อยๆทั่วไป
เมื่อเห็นคนอื่นเขาทำความดีอย่างอุกฤษฏ์ไม่ใช่ไปตำหนิเขา แต่ควรอนุโมทนา เราจะได้บุญด้วย
>>การทำความดีจริงๆแล้วไม่มีคำว่าทำมากเกินไป อยู่ที่หัวใจของคนๆนั้นมีเป้าหมายชีวิตที่สูงส่งเพียงใด
>>จะวัดว่าดีหรือไม่ดี ไม่ได้ดูที่ว่าทำมากไปไหม แต่ดูที่สาระของการกระทำ ถ้าเป็นเรื่องดี ก็คือดี ยิ่งทำมากยิ่งดี
การให้ทาน¬¬__อย่างอุทิศได้แม้ชีวิต เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
การรักษาศีล__โดยยอมตายไม่ยอมละเมิดศีล เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
การเจริญภาวนา__โดยทำสมาธิอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
@ตัวอย่างนักสร้างบารมียุคปัจจุบัน@
แม้ในยุคใกล้ๆของเรานี้ ก็มีพระเถระผู้บวชอุทิศตนสร้างบารมีอย่างชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันหลายรูป
ซึ่งในช่วงแรกทุกท่านจะถูกเข้าใจผิด ถูกโจมตีต่างๆนานาเหมือนกัน
เพราะการสร้างบารมีอย่างเอาจริงเอาจัง ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันที่ทำนั้น__เป็นสิ่งที่สังคมไม่คุ้นเคย**
จึงถูกระแวงสงสัย จับผิด โจมตี แต่ด้วยความหนักแน่น อดทน ไม่หวั่นไหวทำความดีอย่างต่อเนื่อง
สุดท้ายสังคมก็ยอมรับสิ่งที่ท่านเหล่านี้ได้ทำ สร้างคุณูปการแก่พระพุทธศาสนามากมาย อาทิ
1. พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
2. หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ
3. ครูบาศรีวิชัย
4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)
5. ท่านพุทธทาส
ฯลฯ
ผู้มีปัญญาเพียงพินิจดู ก็จะรู้ว่า สิ่งที่ท่านเหล่านั้นทำต้องทำด้วยชีวิต ผู้มีเจตนาทุจริต
ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ศาสนสถานและศาสนบุคคลที่ท่านสร้างก็จะเป็นสมบัติของแผ่นดินและพระพุทธศาสนาสืบไป
>>ผู้มีเจตนาไม่สุจริต มักจะอยู่ไม่ได้นาน ก็จะมีเหตุให้ต้องออกไป
ยากที่จะยืนหยัดทำความดี โดยไม่หวั่นไหวต่อคำติฉิน นินทาใดๆ
>>คนในโลกนี้ส่วนมากคิดถึงตนเองก่อน ถ้าเป็นเพื่อผลประโยชน์ตนเอง
ก็ทุ่มเทเต็มที่แต่ถ้าเป็นเรื่องส่วนรวมก็ทำเล็กๆน้อยๆ เหยาะแหยะ
ผู้ที่มีใจใหญ่เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความดี ใหม่ๆจึงมักถูกมองว่าทำอะไรใหญ่โตเกินไป
คงมีวัตถุประสงค์แอบแฝง มองกันไปในแง่ร้าย
>>เราชาวพุทธเมื่อเห็นพระภิกษุรูปใดตั้งใจทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง
แม้เริ่มต้นเราอาจจะไม่เห็นด้วยในวิธีการ หรือรูปแบบก็อย่าเพิ่งไปตำหนิหรือด่าว่า
เพราะจะกลายเป็นวิบากกรรม คนที่ไปด่าพระภิกษุที่ทำความดีอย่างอุทิศชีวิตเหมือนพระโพธิสัตว์ผลกรรมนั้นน่ากลัวมาก
>>ตรงกันข้ามใครชอบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบไหน ก็ไปชวนคนให้มาปฏิบัติแบบที่ตัวเองชอบ
อย่าเอาเวลา สติปัญญา ความสามารถของเราไปใช้ในทางทำลาย ก่อบาป
แต่ให้เอามาใช้ในทางสร้างสรรค์กันดีกว่า จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาเจริญก้าวหน้าตัวเราก็จะได้ไม่มีกรรมหนักติดตัวด้วย
วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
แนวทางการสอนของพระพุทธเจ้า
>>มีบางคนเข้าใจผิดว่า การสอนว่า “ทำดี ตายแล้วไปสวรรค์ ทำบาป ตายแล้วตกนรก ”
เป็นการสอนที่ผิด เอาสวรรค์มาล่อ เอานรกมาขู่
แต่ในความเป็นจริงแล้ว แนวการสอนที่พระพุทธเจ้าทรงใช้มากที่สุด คือ

อนุปุพพิกถา**
การสอนไปตามขั้นตอนเพื่อปรับจิตผู้ฟังให้ละเอียดผ่องใสขึ้นตามลำดับ ดังนี้
1. ทานกถา__ สอนเรื่องการให้ทาน
2. ศีลกถา__ สอนเรื่องการรักษาศีล
3. สัคคกถา__ พรรณนาเรื่องสวรรค์ ความงดงามน่ารื่นรมย์ยินดีของทิพยสมบัติเพื่อให้เห็นอานิสงส์ของการให้ทาน
และรักษาศีล ว่าจะทำให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์
4. กามาทีนพ__ สอนเรื่องโทษของกาม
5. เนกขัมมานิสงส์__ สอนเรื่องอานิสงส์ของการออกบวช
เมื่อใจของผู้ฟังยกสูงขึ้นละเอียดดีแล้ว จึงสอนต่อด้วยอริยสัจ 4
>> เรื่องราวเกี่ยวกับสวรรค์มีกล่าวไว้มากมายในพระไตรปิฎก ที่รวมไว้เฉพาะเป็นเล่มเลยก็มี
เรียกว่า วิมานวัตถุ เรื่องของวิมาน และเรื่องของนรกก็มีกล่าวไว้มากมาย
เรื่องเปรต ก็กล่าวไว้เป็นคัมภีร์เฉพาะ เรียกว่า เปตวัตถุ
@ตัวอย่างในครั้งพุทธกาล: ลาชเทพธิดา@
มีหญิงชาวนาคนหนึ่ง ได้ทำข้าวตอกใส่ไว้ในขันแล้วมีโอกาสได้ใส่บาตร ถวายพระมหากัสสปะ
ซึ่งเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ ระหว่างเดินกลับบ้าน วิบากกรรมตามมาทัน ถูกงูกัดตาย
ผลบุญทำให้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานทองโตใหญ่มาก
ที่ประตูวิมานประดับเรียงรายด้วยขันทองคำ มีข้าวตอกทองคำห้อยระย้าอยู่อย่างงดงาม
จะเห็นว่าทำบุญอย่างไรก็ได้อย่างนั้น ทำบุญด้วยข้าวตอก ก็ได้วิมานประดับด้วยข้าวตอกทองคำ
ใช้ขันเป็นภาชนะ ก็มีขันทองคำประดับเรียงราย มีเรื่องราวทำนองนี้อยู่มากมายในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
>> พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมถึงความจริงของโลกและชีวิต กฎแห่งกรรม บุญบาป นรก สวรรค์ แล้วทรงนำมาสอนเรา
>> บรรพบุรุษไทยแต่โบราณก็ได้ปลูกฝังศีลธรรมในหมู่ประชาชนให้รักบุญกลัวบาปตามแนวทางของพระพุทธเจ้านี้เอง
อาทิ ไตรภูมิพระร่วง** พระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งพรรณนาถึง
นรก สวรรค์ ภพภูมิต่างๆ ก็เป็นหนังสือที่เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง
ช่วยปลูกฝังศีลธรรมแก่ชาวไทยมายาวนาน ทำให้สังคมไทยสงบร่มเย็น อยู่เย็นเป็นสุข จนได้ชื่อว่า “สยามเมืองยิ้ม”

>> ชาวพุทธในปัจจุบันบางส่วนเริ่มไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม จนพาลจะปฏิเสธการสอนเรื่องนรก สวรรค์
ซึ่งเป็นแนวการสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้สังคมวุ่นวาย คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น
“ยิ้มสยาม แทบจะกลายเป็นยิ้มสยอง” ไปแล้ว น่าเสียดายที่สมญานาม “ ยิ้มสยาม ” ของไทยค่อยๆหายสูญไป
>> ศิลปกรรมตามโบสถ์ วิหารต่างๆก็มีภาพเขียนของสวรรค์ เทวดา นางฟ้ามากมาย
บ้างก็ทำเป็นรูปปั้น หรืองานแกะสลักไม้ ปูน แม้กระทั่งงานประติมากรรมโลหะ

>> ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น เราก็ควรจะได้ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการเผยแผ่ธรรมะ
เช่น ทำภาพของนรก สวรรค์ ทิพยสมบัติทั้งหลายออกเผยแผ่ตามสื่อต่างๆ เป็นภาพนิ่ง
หรือถ้าทำเป็นแอนิเมชั่นได้ยิ่งดี เพื่อปลุกกระแสศีลธรรม ความรักบุญ กลัวบาป
ให้กลับมาสู่สังคมไทย เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของบ้านเมืองเรา
>> การสื่อสารในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็ว หากมีพระภิกษุนำเรื่องนรก สวรรค์มาสอนแล้วมีคนพาลติเตียนต่อต้านพระ
หาว่าเอาสวรรค์มาล่อ เอานรกมาขู่ หากเราไม่รู้ไปตามแห่ผสมโรงวิจารณ์พระด้วย
ไลท์ กดแชร์ข้อความที่เป็นวจีทุจริตในสังคมออนไลน์__เราก็จะพลอยบาปไปด้วย**
แชร์ไปถึงคน 100 คน ก็บาป 100 เท่า น่ากลัวจริงๆ อย่าไปทำ
ตรงกันข้ามถ้าแชร์ข้อความธรรมะ ยิ่งไปถึงคนกว้างเท่าใด เราก็ได้บุญมากไปตามส่วน
>>ดังนั้นเรามาช่วยกันเผยแพร่ภาพและข้อความธรรมะให้มากๆกันเถิด ให้คนรักบุญกลัวบาป สังคมจะได้สงบร่มเย็น<<
เป็นการสอนที่ผิด เอาสวรรค์มาล่อ เอานรกมาขู่
แต่ในความเป็นจริงแล้ว แนวการสอนที่พระพุทธเจ้าทรงใช้มากที่สุด คือ

อนุปุพพิกถา**
การสอนไปตามขั้นตอนเพื่อปรับจิตผู้ฟังให้ละเอียดผ่องใสขึ้นตามลำดับ ดังนี้
1. ทานกถา__ สอนเรื่องการให้ทาน
2. ศีลกถา__ สอนเรื่องการรักษาศีล
3. สัคคกถา__ พรรณนาเรื่องสวรรค์ ความงดงามน่ารื่นรมย์ยินดีของทิพยสมบัติเพื่อให้เห็นอานิสงส์ของการให้ทาน
และรักษาศีล ว่าจะทำให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์
4. กามาทีนพ__ สอนเรื่องโทษของกาม
5. เนกขัมมานิสงส์__ สอนเรื่องอานิสงส์ของการออกบวช
เมื่อใจของผู้ฟังยกสูงขึ้นละเอียดดีแล้ว จึงสอนต่อด้วยอริยสัจ 4
>> เรื่องราวเกี่ยวกับสวรรค์มีกล่าวไว้มากมายในพระไตรปิฎก ที่รวมไว้เฉพาะเป็นเล่มเลยก็มี
เรียกว่า วิมานวัตถุ เรื่องของวิมาน และเรื่องของนรกก็มีกล่าวไว้มากมาย
เรื่องเปรต ก็กล่าวไว้เป็นคัมภีร์เฉพาะ เรียกว่า เปตวัตถุ
@ตัวอย่างในครั้งพุทธกาล: ลาชเทพธิดา@
มีหญิงชาวนาคนหนึ่ง ได้ทำข้าวตอกใส่ไว้ในขันแล้วมีโอกาสได้ใส่บาตร ถวายพระมหากัสสปะ
ซึ่งเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ ระหว่างเดินกลับบ้าน วิบากกรรมตามมาทัน ถูกงูกัดตาย
ผลบุญทำให้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานทองโตใหญ่มาก
ที่ประตูวิมานประดับเรียงรายด้วยขันทองคำ มีข้าวตอกทองคำห้อยระย้าอยู่อย่างงดงาม
จะเห็นว่าทำบุญอย่างไรก็ได้อย่างนั้น ทำบุญด้วยข้าวตอก ก็ได้วิมานประดับด้วยข้าวตอกทองคำ
ใช้ขันเป็นภาชนะ ก็มีขันทองคำประดับเรียงราย มีเรื่องราวทำนองนี้อยู่มากมายในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
>> พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมถึงความจริงของโลกและชีวิต กฎแห่งกรรม บุญบาป นรก สวรรค์ แล้วทรงนำมาสอนเรา
>> บรรพบุรุษไทยแต่โบราณก็ได้ปลูกฝังศีลธรรมในหมู่ประชาชนให้รักบุญกลัวบาปตามแนวทางของพระพุทธเจ้านี้เอง
อาทิ ไตรภูมิพระร่วง** พระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งพรรณนาถึง
นรก สวรรค์ ภพภูมิต่างๆ ก็เป็นหนังสือที่เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง
ช่วยปลูกฝังศีลธรรมแก่ชาวไทยมายาวนาน ทำให้สังคมไทยสงบร่มเย็น อยู่เย็นเป็นสุข จนได้ชื่อว่า “สยามเมืองยิ้ม”

>> ชาวพุทธในปัจจุบันบางส่วนเริ่มไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม จนพาลจะปฏิเสธการสอนเรื่องนรก สวรรค์
ซึ่งเป็นแนวการสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้สังคมวุ่นวาย คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น
“ยิ้มสยาม แทบจะกลายเป็นยิ้มสยอง” ไปแล้ว น่าเสียดายที่สมญานาม “ ยิ้มสยาม ” ของไทยค่อยๆหายสูญไป
>> ศิลปกรรมตามโบสถ์ วิหารต่างๆก็มีภาพเขียนของสวรรค์ เทวดา นางฟ้ามากมาย
บ้างก็ทำเป็นรูปปั้น หรืองานแกะสลักไม้ ปูน แม้กระทั่งงานประติมากรรมโลหะ

>> ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น เราก็ควรจะได้ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการเผยแผ่ธรรมะ
เช่น ทำภาพของนรก สวรรค์ ทิพยสมบัติทั้งหลายออกเผยแผ่ตามสื่อต่างๆ เป็นภาพนิ่ง
หรือถ้าทำเป็นแอนิเมชั่นได้ยิ่งดี เพื่อปลุกกระแสศีลธรรม ความรักบุญ กลัวบาป
ให้กลับมาสู่สังคมไทย เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของบ้านเมืองเรา
>> การสื่อสารในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็ว หากมีพระภิกษุนำเรื่องนรก สวรรค์มาสอนแล้วมีคนพาลติเตียนต่อต้านพระ
หาว่าเอาสวรรค์มาล่อ เอานรกมาขู่ หากเราไม่รู้ไปตามแห่ผสมโรงวิจารณ์พระด้วย
ไลท์ กดแชร์ข้อความที่เป็นวจีทุจริตในสังคมออนไลน์__เราก็จะพลอยบาปไปด้วย**
แชร์ไปถึงคน 100 คน ก็บาป 100 เท่า น่ากลัวจริงๆ อย่าไปทำ
ตรงกันข้ามถ้าแชร์ข้อความธรรมะ ยิ่งไปถึงคนกว้างเท่าใด เราก็ได้บุญมากไปตามส่วน
>>ดังนั้นเรามาช่วยกันเผยแพร่ภาพและข้อความธรรมะให้มากๆกันเถิด ให้คนรักบุญกลัวบาป สังคมจะได้สงบร่มเย็น<<
พบพระพุทธรูปแฝงตัวอยู่บนภูเขานานกว่า 20 ปี
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในมณฑลกว่างตง ประเทศจีน
ลึกลงไปในถ้ำหินหลงซานอันเงียบสงัด ยังมีพระพุทธรูปจำนวนกว่าหลายร้อยรูปซ่อนตัวอยู่
พระพุทธรูปเหล่านี้ล้วนแกะสลักจากหินภูเขา ทว่ากลับงดงามราวกับมีชีวิต
และได้รับการขนานนามว่า "เชียนโฝซาน" (千佛山)
ซึ่งหมายถึง เขาพระพุทธรูปพันองค์ หรือ “ ถ้ำหินประตูมังกรน้อย" (小龙门石窟)
เนื่องจากถูกบดบังด้วยพรรณไม้อันเขียวชอุ่มและมีที่ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง
ทำให้มีผู้คนภายนอกน้อยมากที่รู้จักสถานที่นี้ อีกทั้งเส้นทางเข้าก็ลึกลับ
และยังเป็นเส้นทางที่ต้องปีนขึ้นเขาอีกกว่าครึ่ง หากไม่มีชาวบ้านเป็นผู้นำทางก็คงค้นหาได้ยาก
แม้จะเคยถูกพบเมื่อนานมาแล้วกว่า 20 ปีที่ผ่านมา
ทว่ามันกลับโด่งดังในชั่วข้ามคืนเมื่อไม่นานมานี้บนโลกออนไลน์
ทำให้ช่วงไม่กี่วันมานี้ มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยม




ที่มา China Xinhua News
ความเข้าใจผิด เรื่อง การปล่อยวาง
<<เราจะคิดอย่างไรหากพบกรณีอย่างนี้>>
** เด็กปล่อยห้องรกเป็นรังหนู ขยะเกลื่อน พอผู้ใหญ่เตือนก็บอก อย่าไปยึดมั่นถือมั่น ต้องรู้จักปล่อยวาง ทุกอย่างอยู่ที่ใจ
** โจรใต้ต้องการแบ่งแยกดินแดน แล้วมีคนพูดว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา
ไม่ใช่ของของเรา อย่าไปยึดมั่นถือมั่น ต้องรู้จักปล่อยวาง ยกให้เขาไปเถิด
** มีคนลบหลู่ดูหมิ่นพระรัตนตรัยอย่างรุนแรง แล้วมีชาวพุทธบางคนบอกช่างเขา
ปล่อยเขาทำไป ต้องรู้จักปล่อยวาง อย่าไปยึดมั่นถือมั่น สำคัญที่ใจ
** คนยากจนไม่ยอมทำงาน คอยแต่ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น มีคนไปบอกให้หางานทำ
เขาก็บอกว่าอย่าติดวัตถุ ต้องรู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น
** พุทธศาสนิกชนในไทยเหลือน้อยลงทุกที ถ้าปล่อยต่อไปพุทธอาจสูญจากไทยเหมือนอินเดีย
แล้วชาวพุทธบางคนบอกมันก็เป็นอย่างนี้แหละ ทุกอย่างไม่เที่ยง ต้องเสื่อมสูญไปเป็นธรรมดา ปล่อยมันไปไม่ต้องทำอะไร
<<ความจริงธรรมะมีทั้งระดับโลกียะเพื่อการดำรงอยู่ในโลกนี้และระดับโลกุตตระเพื่อความหลุดพ้น
คนบางคนแยกไม่ออก เอาธรรมะระดับโลกุตตระมาใช้กับเรื่องโลกียะ
พูดให้ดูเหมือนเท่มีหลักการ แต่ความจริงคือ การดูดาย ความไม่รับผิดชอบ
*** ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพานพระองค์ยังทรงรับสั่งให้ชาวพุทธบำเพ็ญประโยชน์ตน
และประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเลย พระองค์ไม่ได้สอนให้ชาวพุทธดูดาย ไม่รับผิดชอบ ***
<<เห็นใครที่ใช้ธรรมะผิดระดับ พูดเรื่องปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่ศีล 5 ยังไม่ครบ
สมาธิภาวนาไม่ค่อยได้ทำ ให้ช่วยกันสอนให้เขาเข้าใจเรื่องความรับผิดชอบ
การทำหน้าที่ของตนด้วย ถ้าเราปล่อยให้ความเห็นผิดเรื่องการปล่อยวาง
ซึ่งจริงๆ คือ การดูดาย ไม่รับผิดชอบ ขยายวงกว้างออกไป
จะเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากประเทศไทยไปได้เช่นกัน
คนเราถ้าไม่รับผิดชอบต่อประเทศ ประเทศก็ล่มสลายได้
ไม่รับผิดชอบต่อตนเอง ก็จะลำบากยากจนไปตลอดชาติ
<<คนที่จะพูดคำว่าไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง ไม่ยึดติดวัตถุมุ่งแต่จิตใจได้นั้น
อย่างน้อยที่สุดต้องเป็นคนที่มีศีล 5 ครบบริบูรณ์ หมั่นเจริญสมาธิภาวนาอย่างจริงจัง
จนใกล้จะหลุดพ้น เข้าสู่ภูมิอริยบุคคลแล้ว
<<< ถ้าศีลยังไม่รักษา สมาธิยังไม่นั่ง แล้วอะไรเกิดขึ้นก็พูดช่างมัน ไม่ยึดติด ก็คือ การหนีความจริง การไม่รับผิดชอบ ทั้งยังเกียจคร้านอีกด้วย>>>
พระพุทธเจ้าทรงเป็นเลิศในการบริหารจัดการ
เป็นที่น่าเสียใจว่าปัจจุบัน มีชาวพุทธบางส่วนคิดว่า พระพุทธศาสนาจะต้องไม่มีการบริหารจัดการ
ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปเองตามธรรมชาติ การที่พระสงฆ์หมู่ใหญ่มีการฝึกอบรมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
มีความพร้อมเพรียง ถูกมองว่าเป็นการสร้างภาพจัดฉาก
นี่คือความเข้าใจผิด และเข้าไม่ถึงพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะในความเป็นจริง พระพุทธเจ้าคือ ผู้เป็นเลิศในการบริหารจัดการ
หลักฐานคือ พระวินัยปิฎก 8 เล่ม เนื้อหาหลายพันหน้า ที่พระองค์ทรงวางกฎระเบียบในการประพฤติตนของพระภิกษุ
และการอยู่ร่วมกันของหมู่สงฆ์ ทำให้คณะสงฆ์ดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน
<< เปิดกว้างการบวชแก่คนทุกชั้นวรรณะ >>
ในครั้งพุทธกาล ชาวอินเดียถือชั้นวรรณะมาก การแต่งงานข้ามวรรณะเป็นเรื่องห้ามขาด
แม้เพียงไปเห็นคนจัณฑาลก็ถือเป็นเสนียด ต้องเอาน้ำล้างตา
แต่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้คนทุกชั้นวรรณะ รวมทั้งจัณฑาลบวชได้เสมอกัน
การอนุญาตให้คนวรรณะต่ำบวชได้ รวมถึงจัณฑาลซึ่งขาดการศึกษา
แล้วจะให้มีศีลาจารวัตรงดงามเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของสาธุชน
แม้พระราชาพบเห็นก็ต้องเคารพกราบไหว้ได้ นั่นหมายถึง
พระพุทธองค์จะต้องวางระบบการฝึกอบรมพระภิกษุใหม่ไว้อย่างรัดกุม
พระภิกษุใหม่จะต้องถือนิสัยฝึกอบรมอยู่กับอุปัชฌาย์อาจารย์อย่างน้อย 5 พรรษา
ทรงวางวัตรปฏิบัติหน้าที่ของศิษย์ต่ออาจารย์ อาจารย์ต่อศิษย์ไว้อย่างละเอียด
<< ปรับระบบการบริหารคณะสงฆ์ตามสภาพคณะสงฆ์ที่เติบใหญ่ขึ้น >>
ระบบการรับสมาชิกใหม่_คือ_การบวช ก็ทรงปรับวิธีการบวชเป็นระยะตามสภาพของคณะสงฆ์ที่เปลี่ยนไป
ระยะแรก__พระพุทธเจ้าเป็นผู้บวชให้เอง เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
ระยะที่สอง__คณะสงฆ์เผยแผ่ไปในที่ต่างๆ มีผู้ศรัทธาขอบวชมากขึ้นเรื่อยๆ
ตามหาพระพุทธเจ้าได้ยาก เพราะพระองค์จาริกไปในที่ต่างๆ จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์เพียงรูปเดียวก็ให้การบวชพระได้
เพราะพระยุคแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นพระอรหันต์วินิจฉัยใช้ได้
ระยะที่สาม__คณะสงฆ์เป็นปึกแผ่นมากขึ้น และมีพระภิกษุที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์มากขึ้น
จึงทรงปรับวิธีการบวชให้กระทำโดยสงฆ์อย่างน้อย 10 รูปขึ้นไปและมีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์
<< วางระบบการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ อย่างรัดกุม >>
ทรงวางระเบียบการบริหารปัจจัย 4 ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย การรับ เก็บ ฉันภัตตาหาร
การจัดหาและรักษาจีวร ยารักษาโรค ระเบียบการประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเพื่อทบทวนวินัย (ลงปาฏิโมกข์)
ระเบียบการรับพระอาคันตุกะ การอยู่จำพรรษา การปวารณา ทรงกำหนดวิธีแก้ปัญหาเมื่อพระภิกษุเกิดการทะเลาะวิวาทขัดแย้งกัน
ทรงแต่งตั้งอัครสาวกซ้ายขวา และพระอรหันต์ที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆ
รวม 80 รูปให้เป็นแบบอย่างและเป็นผู้ช่วยในการดูแลบริหารจัดการคณะสงฆ์
ทรงบัญญัติวินัยสงฆ์ 227 สิกขาบท ซึ่งแต่ละสิกขาบท มีการบอกถึงเหตุที่เป็นต้นบัญญัติ ตัวสิกขาบท
อธิบายความหมายของศัพท์แต่ละคำในสิกขาบท เพื่อความเข้าใจตรงกัน
และเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นแล้ว สงฆ์ไม่แน่ใจว่าผิดหรือไม่ พระองค์ก็ทรงวินิจฉัยไว้เป็นมาตรฐานในการตัดสินต่อไป
เหมือนตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาในปัจจุบัน
ทรงวางระเบียบการปฏิบัติของคณะสงฆ์อย่างรัดกุม ทรงสอนแม้กระทั่งมารยาทในการนุ่งห่มสบงจีวร
มารยาทในการเดินทางเข้าที่ชุมชน มารยาทในการขบฉันภัตตาหาร เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทำให้หมู่สงฆ์สาวกเป็นผู้มีวัตรปฏิบัติงดงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย แม้อยู่รวมกันนับพันรูป ก็สามารถสำรวม
สงบนิ่งเหมือนห้วงน้ำใส จนพระเจ้าอชาตศัตรูยังทึ่ง
ปรารถนาจะให้พระราชโอรสของพระองค์มีความสงบงามเหมือนอย่างภิกษุสงฆ์
**การจัดงานให้เป็นระบบเรียบร้อย คือการประกาศคุณพระศาสดา**
เราชาวพุทธจึงควรระลึกถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า แล้วตั้งใจฝึกตนเองตามแบบอย่างพระองค์
จะจัดงานหรือทำกิจกรรมใดที่เนื่องด้วยพระรัตนตรัย ก็ขอให้มีการวางแผนบริหารจัดการให้ดีที่สุด
ให้เป็นระเบียบงดงามมีประสิทธิภาพ ยังความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็น ถือเป็นการประกาศคุณของพระพุทธเจ้า
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
สุขา สังฆัสสะ สามัคคี @โมเดลไต้หวัน
>> ในปี พ.ศ. 2492 ประชากรไต้หวันที่เป็นชาวพุทธจริงๆ รู้จักศีล 5 รู้จักเจ้าชายสิทธัตถะ มีเพียงราว 1%
ที่เหลือนับถือลัทธิเต๋า ไหว้เจ้า นับถือลัทธิขงจื้อ นับถือศาสนาอื่นๆบ้าง
>> ประธานาธิบดีเจียงไคเช็ก และลูกชายคือประธานาธิบดีเจียงจิงกัวเป็นคริสต์
ปกครองประเทศแบบเผด็จการต่อเนื่องกันเกือบ 40 ปี
>> ในยุคนั้น การเป็นชาวพุทธเป็นเรื่องน่าอาย ต้องปกปิดไม่ให้ใครรู้
ถ้าเป็นข้าราชการ ตำแหน่งจะไม่ก้าวหน้า
>> แต่ปัจจุบันประชากรไต้หวันเป็นชาวพุทธถึง 80% การเป็นชาวพุทธเป็นเรื่องมีเกียรติ
แม้ระดับผู้นำประเทศอย่างอดีตประธานาธิบดีเฉินสุยเปี่ยน
เมื่อมีข้อครหาเรื่องทุจริต ก็ยังต้องพยายามฟื้นคะแนนนิยม
โดยการเข้าวัดไปกราบพระมหาเถระที่มีชื่อเสียง
พานักข่าวทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี ไปด้วยมากมาย เพื่อถ่ายทอดข่าวให้ประชาชนเห็นว่า
มากราบพระผู้ใหญ่เพื่อขอโทษในความผิดแล้ว ประชาชนจะได้ให้อภัย
__น่าทึ่งว่า ไต้หวันทำได้อย่างไร**

@สี่วัดใหญ่ในไต้หวัน@
ในไต้หวันมีวัดใหญ่ 4 วัด ซึ่งเอ่ยชื่อแล้ว คนรู้จักกันทั้งไต้หวัน คือ
1. วัดฝอกวงซาน__เด่นเรื่องการเผยแผ่ มีสาขาอยู่ทั่วโลกกว่า 300 แห่ง
2. วัดฝากู่ซาน___เด่นเรื่องการศึกษา มีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่มีคุณภาพมากที่สุด
3. วัดจงถายฉานซื่อ___เด่นเรื่องการทำสมาธิ มีนักศึกษาและประชาชนมาปฏิบัติธรรมมากมาย
4. วัดฉื่อจี้___เด่นเรื่องสังคมสงเคราะห์ มีอาสาสมัครช่วยงานสังคมสงเคราะห์หลาย
ล้านคน
>> วัดใหญ่ทั้ง 4นี้ มีความโดดเด่นคนละด้าน แต่เขาไม่โจมตีกัน
แม้จะมีทัศนะในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไม่เหมือนกัน
แต่เขาจะไม่วิพากษ์วิจารณ์กล่าวร้ายต่อวัดอื่นเลย
แต่ละวัดก็ตั้งใจทำงานตามที่ตนถนัดและเห็นว่าเป็นประโยชน์
>> ธรรมชาติของมนุษย์มีจริตอัธยาศัยต่างกัน ใครชอบวัดไหนก็ไปวัดนั้น
ผลลัพธ์คือ ประชาชนเห็นว่าพระพุทธศาสนามีผลงานมากมายหลากหลายด้าน
ภาพลักษณ์พุทธดี คนจึงเข้าวัดมากขึ้นเรื่อยๆ จาก 1% กลายเป็น 80%
ในปัจจุบันแต่ละวัด ไม่ว่าวัดใหญ่วัดเล็กทั่วประเทศก็ล้วนมีคนเข้าวัดมากขึ้นทั้งยังมีวัดใหม่ๆที่โดดเด่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
พุทธในไต้หวันเจริญเพราะทำตามพุทธโอวาทที่ว่า
“ สุขา สังฆัสสะ สามัคคี
ความสามัคคีของหมู่สงฆ์ ทำให้เกิดสุข”
ลองสมมุติในทางกลับกันว่า ถ้าลูกศิษย์วัดใหญ่ที่มีชื่อเสียงเหล่านี้เอาแต่โจมตีวัดอื่นว่าไม่ดี
แต่วัดตนนั้นดีที่สุด ป่านนี้พระพุทธศาสนาคงสูญจากไต้หวันไปแล้ว
เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ทุกคนคิดเหมือนกัน แต่แม้คิดต่าง
เราก็ควรอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบสุข แล้วช่วยกันสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่พระพุทธศาสนา
และนำศีลธรรมความสงบร่มเย็นมาสู่สังคม
@ลองเปรียบเทียบทางโลกดู@
ขนาดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักของประเทศ เขียนด้วยภาษากฎหมาย
พยายามใช้ถ้อยคำให้ชัดเจนรัดกุมที่สุด คนยังเข้าใจไม่ตรงกันเลย
แม้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบโดยตรง
การวินิจฉัยคดีแต่ละคดี มติก็มักจะออกมาเป็น 6 : 3 บ้าง 7 : 2 บ้าง 5 : 4 บ้าง น้อยมากที่จะออกมา 9 : 0
ถ้าตุลาการเสียงข้างมาก ออกมาโจมตีตุลาการเสียงข้างน้อย ว่าตีความรัฐธรรมนูญผิด
ทำรัฐธรรมนูญให้วิปริต ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ต้องกำจัดให้หมดไป
ต่างฝ่ายต่างปลุกระดมโจมตีกันบ้านเมืองก็คงแตกแยกวุ่นวาย
การกระทำนั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อความเจริญของประเทศเลย
มีแต่นำความเสื่อม ความวุ่นวายแตกแยกมาสู่ชาติบ้านเมือง
มีนักปรัชญากล่าวไว้ว่า ข้อความเดียวกัน เมื่อตีความตามความคิด
จะไม่มีใครเลยที่ตีความเข้าใจเหมือนกันหมด จะต้องมีบางแง่มุมในรายละเอียดที่เข้าใจต่างกัน
คนร้อยคนก็จะมีความเข้าใจร้อยแบบ
คนเราจะเข้าใจตรงกันได้ก็ต่อเมื่อก้าวข้ามพ้นความเข้าใจด้วยความคิดหรืออารมณ์
ความรู้สึกของตนขึ้นไปสู่ระดับความรู้แจ้งด้วยภาวนามยปัญญา
เหมือนดังพระอรหันต์ทั้งหลายที่ผ่านสภาวะนั้น และเข้าใจธรรมะได้ตรงกัน
ดังนั้นขอให้รักษาคำสอนในพระไตรปิฎกไว้ให้ดีที่สุด เป็นแม่บทที่รวมของพระธรรมวินัย
แม้ในเบื้องต้นอาจมีความเห็นในบางแง่มุมต่างกันบ้าง ก็อย่าทะเลาะวิวาทโจมตีกัน
แต่ให้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมไปให้เต็มที่ เมื่อบรรลุธรรมเข้าถึงด้วยตนเองแล้วเราก็จะเข้าใจตรงกัน
บำเพ็ญประโยชน์ตน __ด้วยการตั้งใจปฏิบัติธรรม
บำเพ็ญประโยชน์ท่าน __ด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเต็มที่
เมื่อบำเพ็ญประโยชน์ทั้งสอง__ ด้วยความไม่ประมาท
**ตัวเราก็ย่อมมีความสุขความเจริญ พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรือง สังคมก็สงบร่มเย็น**
ขอบคุณคนตั้งกระทู้ด้วยนะครับ
มีข้อมูลวัดจงไถ มาเสริมครับ
วัดจงไถ มีขนาดใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกเลยนะครับ มีระบบค่อนข้างครบวงจร เหมือนกับเป็นตำบลขนาดย่อมๆ มีทั้งวัด โรงเรียน หอพัก
โรงครัว สวนผัก โรงซ่อมรถ ฯลฯ
ลองไปดูที่เว็บนี้ได้ครับ
http://meetawee.blogspot.com/2014/11/10-1-3.html
ต้องให้เครดิตเว็บเขาด้วยครับ เรื่องภาพประกอบ
พื้นที่ของวัด

แม้ว่าวัดนี้จะมีพื้นที่กว้างขวางใหญ่โตสะอาดสะอ้าน ชีวิตประจำวันของพระที่นี่ก็ไม้ได้สะดวกสบายหรูหราอย่างที่เราคิดนะครับ
เนื่องจากไต้หวันไม่มีการตักบาตร ทางวัดนี้จึงต้องให้พระสงฆ์ต้องปลูกผัก ทำอาหารทานกันเอง


ส่วนพื้นที่แม้จะใหญ่โตแต่ก็มีความสะอาดเป็นเอกลักษณ์

ที่เหลือนับถือลัทธิเต๋า ไหว้เจ้า นับถือลัทธิขงจื้อ นับถือศาสนาอื่นๆบ้าง
>> ประธานาธิบดีเจียงไคเช็ก และลูกชายคือประธานาธิบดีเจียงจิงกัวเป็นคริสต์
ปกครองประเทศแบบเผด็จการต่อเนื่องกันเกือบ 40 ปี
>> ในยุคนั้น การเป็นชาวพุทธเป็นเรื่องน่าอาย ต้องปกปิดไม่ให้ใครรู้
ถ้าเป็นข้าราชการ ตำแหน่งจะไม่ก้าวหน้า
>> แต่ปัจจุบันประชากรไต้หวันเป็นชาวพุทธถึง 80% การเป็นชาวพุทธเป็นเรื่องมีเกียรติ
แม้ระดับผู้นำประเทศอย่างอดีตประธานาธิบดีเฉินสุยเปี่ยน
เมื่อมีข้อครหาเรื่องทุจริต ก็ยังต้องพยายามฟื้นคะแนนนิยม
โดยการเข้าวัดไปกราบพระมหาเถระที่มีชื่อเสียง
พานักข่าวทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ ทีวี ไปด้วยมากมาย เพื่อถ่ายทอดข่าวให้ประชาชนเห็นว่า
มากราบพระผู้ใหญ่เพื่อขอโทษในความผิดแล้ว ประชาชนจะได้ให้อภัย
__น่าทึ่งว่า ไต้หวันทำได้อย่างไร**

@สี่วัดใหญ่ในไต้หวัน@
ในไต้หวันมีวัดใหญ่ 4 วัด ซึ่งเอ่ยชื่อแล้ว คนรู้จักกันทั้งไต้หวัน คือ
1. วัดฝอกวงซาน__เด่นเรื่องการเผยแผ่ มีสาขาอยู่ทั่วโลกกว่า 300 แห่ง
2. วัดฝากู่ซาน___เด่นเรื่องการศึกษา มีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่มีคุณภาพมากที่สุด
3. วัดจงถายฉานซื่อ___เด่นเรื่องการทำสมาธิ มีนักศึกษาและประชาชนมาปฏิบัติธรรมมากมาย
4. วัดฉื่อจี้___เด่นเรื่องสังคมสงเคราะห์ มีอาสาสมัครช่วยงานสังคมสงเคราะห์หลาย
ล้านคน
>> วัดใหญ่ทั้ง 4นี้ มีความโดดเด่นคนละด้าน แต่เขาไม่โจมตีกัน
แม้จะมีทัศนะในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไม่เหมือนกัน
แต่เขาจะไม่วิพากษ์วิจารณ์กล่าวร้ายต่อวัดอื่นเลย
แต่ละวัดก็ตั้งใจทำงานตามที่ตนถนัดและเห็นว่าเป็นประโยชน์
>> ธรรมชาติของมนุษย์มีจริตอัธยาศัยต่างกัน ใครชอบวัดไหนก็ไปวัดนั้น
ผลลัพธ์คือ ประชาชนเห็นว่าพระพุทธศาสนามีผลงานมากมายหลากหลายด้าน
ภาพลักษณ์พุทธดี คนจึงเข้าวัดมากขึ้นเรื่อยๆ จาก 1% กลายเป็น 80%
ในปัจจุบันแต่ละวัด ไม่ว่าวัดใหญ่วัดเล็กทั่วประเทศก็ล้วนมีคนเข้าวัดมากขึ้นทั้งยังมีวัดใหม่ๆที่โดดเด่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
พุทธในไต้หวันเจริญเพราะทำตามพุทธโอวาทที่ว่า
“ สุขา สังฆัสสะ สามัคคี
ความสามัคคีของหมู่สงฆ์ ทำให้เกิดสุข”
ลองสมมุติในทางกลับกันว่า ถ้าลูกศิษย์วัดใหญ่ที่มีชื่อเสียงเหล่านี้เอาแต่โจมตีวัดอื่นว่าไม่ดี
แต่วัดตนนั้นดีที่สุด ป่านนี้พระพุทธศาสนาคงสูญจากไต้หวันไปแล้ว
เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ทุกคนคิดเหมือนกัน แต่แม้คิดต่าง
เราก็ควรอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบสุข แล้วช่วยกันสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่พระพุทธศาสนา
และนำศีลธรรมความสงบร่มเย็นมาสู่สังคม
@ลองเปรียบเทียบทางโลกดู@
ขนาดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักของประเทศ เขียนด้วยภาษากฎหมาย
พยายามใช้ถ้อยคำให้ชัดเจนรัดกุมที่สุด คนยังเข้าใจไม่ตรงกันเลย
แม้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบโดยตรง
การวินิจฉัยคดีแต่ละคดี มติก็มักจะออกมาเป็น 6 : 3 บ้าง 7 : 2 บ้าง 5 : 4 บ้าง น้อยมากที่จะออกมา 9 : 0
ถ้าตุลาการเสียงข้างมาก ออกมาโจมตีตุลาการเสียงข้างน้อย ว่าตีความรัฐธรรมนูญผิด
ทำรัฐธรรมนูญให้วิปริต ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ต้องกำจัดให้หมดไป
ต่างฝ่ายต่างปลุกระดมโจมตีกันบ้านเมืองก็คงแตกแยกวุ่นวาย
การกระทำนั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อความเจริญของประเทศเลย
มีแต่นำความเสื่อม ความวุ่นวายแตกแยกมาสู่ชาติบ้านเมือง
มีนักปรัชญากล่าวไว้ว่า ข้อความเดียวกัน เมื่อตีความตามความคิด
จะไม่มีใครเลยที่ตีความเข้าใจเหมือนกันหมด จะต้องมีบางแง่มุมในรายละเอียดที่เข้าใจต่างกัน
คนร้อยคนก็จะมีความเข้าใจร้อยแบบ
คนเราจะเข้าใจตรงกันได้ก็ต่อเมื่อก้าวข้ามพ้นความเข้าใจด้วยความคิดหรืออารมณ์
ความรู้สึกของตนขึ้นไปสู่ระดับความรู้แจ้งด้วยภาวนามยปัญญา
เหมือนดังพระอรหันต์ทั้งหลายที่ผ่านสภาวะนั้น และเข้าใจธรรมะได้ตรงกัน
ดังนั้นขอให้รักษาคำสอนในพระไตรปิฎกไว้ให้ดีที่สุด เป็นแม่บทที่รวมของพระธรรมวินัย
แม้ในเบื้องต้นอาจมีความเห็นในบางแง่มุมต่างกันบ้าง ก็อย่าทะเลาะวิวาทโจมตีกัน
แต่ให้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมไปให้เต็มที่ เมื่อบรรลุธรรมเข้าถึงด้วยตนเองแล้วเราก็จะเข้าใจตรงกัน
บำเพ็ญประโยชน์ตน __ด้วยการตั้งใจปฏิบัติธรรม
บำเพ็ญประโยชน์ท่าน __ด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเต็มที่
เมื่อบำเพ็ญประโยชน์ทั้งสอง__ ด้วยความไม่ประมาท
**ตัวเราก็ย่อมมีความสุขความเจริญ พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรือง สังคมก็สงบร่มเย็น**
ขอบคุณคนตั้งกระทู้ด้วยนะครับ
มีข้อมูลวัดจงไถ มาเสริมครับ
วัดจงไถ มีขนาดใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกเลยนะครับ มีระบบค่อนข้างครบวงจร เหมือนกับเป็นตำบลขนาดย่อมๆ มีทั้งวัด โรงเรียน หอพัก
โรงครัว สวนผัก โรงซ่อมรถ ฯลฯ
ลองไปดูที่เว็บนี้ได้ครับ
http://meetawee.blogspot.com/2014/11/10-1-3.html
ต้องให้เครดิตเว็บเขาด้วยครับ เรื่องภาพประกอบ
พื้นที่ของวัด

แม้ว่าวัดนี้จะมีพื้นที่กว้างขวางใหญ่โตสะอาดสะอ้าน ชีวิตประจำวันของพระที่นี่ก็ไม้ได้สะดวกสบายหรูหราอย่างที่เราคิดนะครับ
เนื่องจากไต้หวันไม่มีการตักบาตร ทางวัดนี้จึงต้องให้พระสงฆ์ต้องปลูกผัก ทำอาหารทานกันเอง


ส่วนพื้นที่แม้จะใหญ่โตแต่ก็มีความสะอาดเป็นเอกลักษณ์


ประโยชน์ของการสร้างวัดใหญ่
>>ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมะทีละเรื่อง
และทยอยบัญญัติพระวินัยทีละสิกขาบทเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น
ในยุคนั้นไม่มีวิทยุ ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มีการพิมพ์หนังสือ
แล้วคณะสงฆ์ซึ่งกระจายตัวอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆอย่างกว้างขวางทั่วอินเดีย
จะรู้ได้อย่างไรว่าขณะนี้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นใหม่อีกกี่สิกขาบทแล้ว
และถ้าไม่รู้ ถือพระวินัยไม่เท่ากันสวดปาฏิโมกข์ก็มีสิกขาบทไม่เท่ากัน คณะสงฆ์ก็ย่อมขาดเอกภาพ

(ภาพจาก http://www.watpaphukon.org/)
>>เคล็ดลับของการสื่อสารในสมัยพุทธกาล คือ วัดใหญ่ในกรุงสาวัตถี
_ในช่วง 19 พรรษาแรก พระพุทธเจ้าทรงจาริกไปจำพรรษาในที่ต่างๆ เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ
แต่ช่วงตั้งแต่พรรษาที่ 20 ถึงพรรษาที่ 44 พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถีเมืองเดียว 25 พรรษาต่อเนื่อง
โดยจำพรรษาที่วัดเชตวันมหาวิหาร 19 พรรษา และวัดบุพพาราม 6 พรรษา
คัมภีร์บันทึกไว้ชัดเจนว่า ในเชตวันมหาวิหารซึ่งมีพระจำพรรษานับพันรูป
มีการจัดที่พักของพระอยู่เป็นกลุ่มๆตามความชำนาญเช่น พระวินัยธร ผู้เชี่ยวชาญพระวินัย
พระธรรมธรผู้เชี่ยวชาญพระสูตร พระธรรมกถึกผู้เชี่ยวชาญการแจกแจงแสดงธรรม เป็นต้น
และในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นธรรมเนียมสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในที่ต่างๆ เมื่อออกพรรษาแล้ว
จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งคณะสงฆ์ทั้งแผ่นดินต่างรู้ดีว่าพระองค์ทรงจำพรรษาอยู่ที่กรุงสาวัตถี
ไปแล้วพบแน่ ถ้าพระพุทธเจ้าทรงจาริกไปจำพรรษาในที่ต่างๆ คณะสงฆ์ก็ไม่รู้จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ไหน
ด้วยเหตุนี้ตั้งแต่พรรษาที่ 20 ซึ่งคณะสงฆ์ขยายตัวไปทั่วแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงจำพรรษาที่เมืองเดียว 25 พรรษาต่อเนื่อง
เมื่อคณะสงฆ์ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว พระทัพพมัลลบุตรก็จะพาไปพัก
พระที่สนใจพระวินัยก็จะไปพักกับกลุ่มพระวินัยธร พระที่สนใจพระสูตรก็ไปพักกับกลุ่มพระธรรมธร
ศึกษาท่องจำพระสูตรใหม่ๆและพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น
เมื่อทรงจำได้ดีแล้วก็กราบทูลลาพระพุทธเจ้า จาริกไปในที่ต่างๆ ต่อไป
เมื่อไปถึงวัดหลักในหัวเมืองต่างๆ ก็จะเคาะระฆังประชุมสงฆ์
แจ้งให้ทราบว่าเพิ่งเดินทางมาจากเชตวันมหาวิหาร แล้วสาธยายพระสูตรหรือพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติใหม่ให้พระภิกษุในที่นั้นฟัง
เมื่อพระในที่นั้นๆท่องจำได้ดีแล้วก็แยกย้ายกันจาริกต่อไปยังวัดย่อยๆ กระจายข่าวต่อๆกันไปอีก
ทำให้คณะสงฆ์ที่กระจายตัวในพื้นที่กว้างใหญ่รู้พระวินัยและพระสูตรเสมอกัน
_นี่คือการสื่อสารไร้สายในครั้งพุทธกาล
วัดใหญ่อย่างเชตวันมหาวิหารที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้าง สิ้นทรัพย์คิดเป็นเงินปัจจุบันหลายหมื่นล้านบาท
จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความมั่นคงให้แก่พระพุทธศาสนา

ภาพจาก http://www.phasornkaew.org
>>ตัวอย่างจากสถานศึกษา<<
สถานศึกษาจะมีหลายขนาด เช่น สถานศึกษาในหมู่บ้าน ก็เป็นโรงเรียนประถม ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัด
ก็เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นจนถึงมัธยม บางจังหวัดก็มีสถาบันระดับอาชีวะและอุดมศึกษา
ส่วนในระดับประเทศก็มีมหาวิทยาลัยใหญ่ บางแห่งใช้งบก่อสร้างหลายหมื่นล้านบาท ใช้งบดำเนินการปีละหลายพันล้าน
หากทั้งประเทศมีแต่โรงเรียนประชาบาล ไม่มีมหาวิทยาลัย
ก็คงยากที่จะพัฒนาการศึกษาและคุณภาพประชากรได้ สถานศึกษาต้องมีหลายระดับ ต่างทำหน้าที่ตามบทบาทของตน

(วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม http://travel-barw.blogspot.com/2013_04_01_archive.html)
@ประโยชน์ของวัดใหญ่@
วัดก็เช่นเดียวกัน มีทั้งวัดในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เป็นเหมือนโรงเรียนสอนศีลธรรมในชุมชน
และต้องมีวัดใหญ่ๆเพื่อเป็นเหมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรม เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของวัดต่างๆ
เพื่อนำไปขยายผลต่อไปยังประชาชนทั่วประเทศ เป็นแหล่งสร้างสรรค์กิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปลูกฝังศีลธรรม เป็นเหมือนหัวรถจักรที่ฉุดขบวนรถไฟให้เคลื่อนตัวไป
การสร้างวัดใหญ่ๆที่มีประชาชนมาศึกษาปฏิบัติธรรมมากจึงมีความจำเป็น ขอเพียงเมื่อสร้างแล้ว
มีประชาชนมาใช้ประโยชน์ด้วยการศึกษาและปฏิบัติธรรมจริงเท่านั้น

>>เศรษฐกิจกับจิตใจต้องพัฒนาคู่กัน<<
เมื่อดูจากปัญหาสังคมในปัจจุบัน ที่อบายมุขและยาเสพติดท่วมเมือง ผู้คนขาดศีลธรรม
แสดงให้เห็นชัดว่า การพัฒนาเศรษฐกิจกับการพัฒนาจิตใจขาดความสมดุลกัน เราทุ่มเทงบประมาณ
กำลังคนมากมายกับการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาจิตใจกลับยังมีงบประมาณและคนทำงานน้อยมาก
ให้ลองพิจารณาดูเถิดว่า ผู้ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยปีหนึ่งๆที่ไปทำงานทางธุรกิจมีกี่คน
และที่มาทำงานด้านพัฒนาศีลธรรมมีกี่คน ก็จะพบว่าสัดส่วนต่างกันราวฟ้ากับดิน
เราจึงควรช่วยกันสร้างวัดใหญ่ๆเพิ่มขึ้น ชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากๆ
และชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาบวชเป็นพระภิกษุให้มากขึ้นด้วย
ไม่ต้องเกรงเรื่องความสิ้นเปลืองเลย เพราะ คนไทยใช้เงินไปกับอบายมุขปีละกว่า 1 ล้านล้านบาท
แค่นำเงินที่ละลายไปกับอบายมุขเพียง 10 % มาสร้างวัดก็จะได้วัดใหญ่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ซึ่งเป็นการใช้ทรัพย์ที่เป็นประโยชน์ บ้านเมืองเราจะมีการพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจควบคู่กันไปอย่างแท้จริง
ในยุคนั้นไม่มีวิทยุ ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มีการพิมพ์หนังสือ
แล้วคณะสงฆ์ซึ่งกระจายตัวอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆอย่างกว้างขวางทั่วอินเดีย
จะรู้ได้อย่างไรว่าขณะนี้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นใหม่อีกกี่สิกขาบทแล้ว
และถ้าไม่รู้ ถือพระวินัยไม่เท่ากันสวดปาฏิโมกข์ก็มีสิกขาบทไม่เท่ากัน คณะสงฆ์ก็ย่อมขาดเอกภาพ

(ภาพจาก http://www.watpaphukon.org/)
>>เคล็ดลับของการสื่อสารในสมัยพุทธกาล คือ วัดใหญ่ในกรุงสาวัตถี
_ในช่วง 19 พรรษาแรก พระพุทธเจ้าทรงจาริกไปจำพรรษาในที่ต่างๆ เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ
แต่ช่วงตั้งแต่พรรษาที่ 20 ถึงพรรษาที่ 44 พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถีเมืองเดียว 25 พรรษาต่อเนื่อง
โดยจำพรรษาที่วัดเชตวันมหาวิหาร 19 พรรษา และวัดบุพพาราม 6 พรรษา
คัมภีร์บันทึกไว้ชัดเจนว่า ในเชตวันมหาวิหารซึ่งมีพระจำพรรษานับพันรูป
มีการจัดที่พักของพระอยู่เป็นกลุ่มๆตามความชำนาญเช่น พระวินัยธร ผู้เชี่ยวชาญพระวินัย
พระธรรมธรผู้เชี่ยวชาญพระสูตร พระธรรมกถึกผู้เชี่ยวชาญการแจกแจงแสดงธรรม เป็นต้น
และในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นธรรมเนียมสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในที่ต่างๆ เมื่อออกพรรษาแล้ว
จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งคณะสงฆ์ทั้งแผ่นดินต่างรู้ดีว่าพระองค์ทรงจำพรรษาอยู่ที่กรุงสาวัตถี
ไปแล้วพบแน่ ถ้าพระพุทธเจ้าทรงจาริกไปจำพรรษาในที่ต่างๆ คณะสงฆ์ก็ไม่รู้จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ไหน
ด้วยเหตุนี้ตั้งแต่พรรษาที่ 20 ซึ่งคณะสงฆ์ขยายตัวไปทั่วแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงจำพรรษาที่เมืองเดียว 25 พรรษาต่อเนื่อง
เมื่อคณะสงฆ์ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว พระทัพพมัลลบุตรก็จะพาไปพัก
พระที่สนใจพระวินัยก็จะไปพักกับกลุ่มพระวินัยธร พระที่สนใจพระสูตรก็ไปพักกับกลุ่มพระธรรมธร
ศึกษาท่องจำพระสูตรใหม่ๆและพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น
เมื่อทรงจำได้ดีแล้วก็กราบทูลลาพระพุทธเจ้า จาริกไปในที่ต่างๆ ต่อไป
เมื่อไปถึงวัดหลักในหัวเมืองต่างๆ ก็จะเคาะระฆังประชุมสงฆ์
แจ้งให้ทราบว่าเพิ่งเดินทางมาจากเชตวันมหาวิหาร แล้วสาธยายพระสูตรหรือพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติใหม่ให้พระภิกษุในที่นั้นฟัง
เมื่อพระในที่นั้นๆท่องจำได้ดีแล้วก็แยกย้ายกันจาริกต่อไปยังวัดย่อยๆ กระจายข่าวต่อๆกันไปอีก
ทำให้คณะสงฆ์ที่กระจายตัวในพื้นที่กว้างใหญ่รู้พระวินัยและพระสูตรเสมอกัน
_นี่คือการสื่อสารไร้สายในครั้งพุทธกาล
วัดใหญ่อย่างเชตวันมหาวิหารที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้าง สิ้นทรัพย์คิดเป็นเงินปัจจุบันหลายหมื่นล้านบาท
จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความมั่นคงให้แก่พระพุทธศาสนา

ภาพจาก http://www.phasornkaew.org
>>ตัวอย่างจากสถานศึกษา<<
สถานศึกษาจะมีหลายขนาด เช่น สถานศึกษาในหมู่บ้าน ก็เป็นโรงเรียนประถม ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัด
ก็เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นจนถึงมัธยม บางจังหวัดก็มีสถาบันระดับอาชีวะและอุดมศึกษา
ส่วนในระดับประเทศก็มีมหาวิทยาลัยใหญ่ บางแห่งใช้งบก่อสร้างหลายหมื่นล้านบาท ใช้งบดำเนินการปีละหลายพันล้าน
หากทั้งประเทศมีแต่โรงเรียนประชาบาล ไม่มีมหาวิทยาลัย
ก็คงยากที่จะพัฒนาการศึกษาและคุณภาพประชากรได้ สถานศึกษาต้องมีหลายระดับ ต่างทำหน้าที่ตามบทบาทของตน

(วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม http://travel-barw.blogspot.com/2013_04_01_archive.html)
@ประโยชน์ของวัดใหญ่@
วัดก็เช่นเดียวกัน มีทั้งวัดในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เป็นเหมือนโรงเรียนสอนศีลธรรมในชุมชน
และต้องมีวัดใหญ่ๆเพื่อเป็นเหมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรม เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของวัดต่างๆ
เพื่อนำไปขยายผลต่อไปยังประชาชนทั่วประเทศ เป็นแหล่งสร้างสรรค์กิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปลูกฝังศีลธรรม เป็นเหมือนหัวรถจักรที่ฉุดขบวนรถไฟให้เคลื่อนตัวไป
การสร้างวัดใหญ่ๆที่มีประชาชนมาศึกษาปฏิบัติธรรมมากจึงมีความจำเป็น ขอเพียงเมื่อสร้างแล้ว
มีประชาชนมาใช้ประโยชน์ด้วยการศึกษาและปฏิบัติธรรมจริงเท่านั้น

>>เศรษฐกิจกับจิตใจต้องพัฒนาคู่กัน<<
เมื่อดูจากปัญหาสังคมในปัจจุบัน ที่อบายมุขและยาเสพติดท่วมเมือง ผู้คนขาดศีลธรรม
แสดงให้เห็นชัดว่า การพัฒนาเศรษฐกิจกับการพัฒนาจิตใจขาดความสมดุลกัน เราทุ่มเทงบประมาณ
กำลังคนมากมายกับการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาจิตใจกลับยังมีงบประมาณและคนทำงานน้อยมาก
ให้ลองพิจารณาดูเถิดว่า ผู้ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยปีหนึ่งๆที่ไปทำงานทางธุรกิจมีกี่คน
และที่มาทำงานด้านพัฒนาศีลธรรมมีกี่คน ก็จะพบว่าสัดส่วนต่างกันราวฟ้ากับดิน
เราจึงควรช่วยกันสร้างวัดใหญ่ๆเพิ่มขึ้น ชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากๆ
และชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาบวชเป็นพระภิกษุให้มากขึ้นด้วย
ไม่ต้องเกรงเรื่องความสิ้นเปลืองเลย เพราะ คนไทยใช้เงินไปกับอบายมุขปีละกว่า 1 ล้านล้านบาท
แค่นำเงินที่ละลายไปกับอบายมุขเพียง 10 % มาสร้างวัดก็จะได้วัดใหญ่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ซึ่งเป็นการใช้ทรัพย์ที่เป็นประโยชน์ บ้านเมืองเราจะมีการพัฒนาเศรษฐกิจกับจิตใจควบคู่กันไปอย่างแท้จริง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)