หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สมาพันธ์ชาวพุทธเชียงราย' เกิดแล้ว สมาพันธ์ชาวพุทธภาคเหนือและเชียงใหม่

หนุนลูกหลานพระยามังรายสองเมืองคึกคักประกาศก้อง เวียงป่าเป้ามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำหมู่บ้าน

@ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ คือ วันแห่งการตั้ง สมาพันธ์ชาวพุทธเชียงราย โดยชาวเชียงราย เพื่อพิทักษ์ศาสนาของเชียงรายคือพระพุทธศาสนา ตาม ปากคาดโมเดล ที่กล้าประกาศ จังหวัดบึงกาฬมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำจังหวัด

@ การประกาศตั้งสมาพันธ์ชาวพุทธเชียงรายเกืดขึ้นต่อหน้าคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชีบงรายจำนวนมาก ณ ที่แห่งหนึ่งซึ่งถือว่าเป็น "Landmark" แห่งหนึ่งของจังหวัด

@ เชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่ถูกหมายตาโดยศาสนาจากอาหรับแย่งชิงพื่นที่ โดยศาสนานั้นชอบอ้างสิทธืในความเป็นคนไทย สิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมมนูญ ดังนั้นเขาจะทำอะไรที่ไหนก็ได้ตามสิทธิทางกฏหมาย

@ ชาวเชียงรายเห็นว่ารัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธและกฏหมายไทยในยุคปัจจุบันคงจะรักษาศาสนาของบรรพบุรุษไว้คู่แผ่นดินเชียงรายไม่ได้แน่ จึงรวมตัวกันเองและประกาศก้องขอพิทักษ์ศาสนาของเชียงรายคือพระพุทธศาสนาไว้ให้ลูกหลานนานเท่านาน

@ ไม่น่าเชื่อว่าพระสงฆ์เชียงรายจะตื่นตัวกันมากในเรื่องนี้ พระครูรูปหนึ่งเล่าว่า..
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีการพยายามกว้านซื้อที่ดืนสร้างมัสยิดในอำเภอ...ท่านเองคัดค้านและเรียกกำนันผู้ใหญ่บ้านพร้อมเจ้าหน้าที่ของรัฐมาชี้แจง สุดท้ายท่านประกาศว่า หากจะมีมัสยิดเกิดขึ้นในอำเภอนี้ให้ข้ามศพท่านไปก่อน

@ เชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการต่อต้านการสร้างมัสยิดสูงมาก เมื่อปีที่แล้วก็มีการระดมคนต่อต้านการที่จะสร้างมัสยิดริมแม่น้ำกก แม้ว่าจะถูกทหารขัดขวางก็ตาม

@ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการที่ระดับแกนนำศาสนาอิสลามเร่งเปิดเกมระดมสร้างมัสยิดเพื่อให้ปิดเกมได้ทันในรัฐบาลทหารชุดนี้ จึงทำให้ชาวพุทธรู้ตัวไหวทันและเห็นเป็นภัยที่ร้ายแรงต่อศาสนาของเขา

@ ชาวเชียงรายเหมือนคนเหนือมั่วไปคือมีนิสัยอ่อนโยนยึดมั่นในพระพุทธศาสนา
ต้อนรับคนแปลกหน้าด้วยมิตรไมตรี ยิ่งสำหรับเรื่องศาสนาแล้วเขามีทัศนคติที่ดีต่อทุกศาสนา แต่มาระยะไม่กี่ปีมานี้พวกเขาเริ่มไม่ไว้วางใจบางศาสนาที่ทำงานเชืงรุกอย่างหนักโดยหวังจะรีบปืดบัญชีการสร้างศาสนสถานของตนให้เร็วที่สุดในยุคที่รัฐบาลทหารเป็นใจ จึงทำให้กระแสการต่อต้านเกืดขึ้นสวนกลับอย่างแรงทุกเรื่อง

"ขอบคุณเขามากที่รีบรุก เราจึงตั้งรับได้ทัน ขอบคุณจริงๆ แต่ก็ระวังอยู่ว่าจะมาไม้ไหนอีก"

ชาวเชียงรายคนหนึ่งกล่าว พลางยกมือไหว้อนุสาวรีย์พ่อขุนมังรายมหาราช ผู้ฝากพระพุทธศาสนาไว้ให้เป็นศาสนาของชาวช้างหาย.

@ ทั้งหมดนี้ เบื้องหลังที่แข็งแกร่ง คือ สมาพันธ์ชาวพุทธภาคเหนือ นำโดย อ.มาณพ และสมาพันธ์ชาวพุทธเชียงใหม่ นำโดย ดร.อภิรมย์ และทีมงานที่แข็งแกร่งเดินทางมาร่วมประชุมร่วมคิดและให้คำปรึกษา ทุกคนควักเงินตัวเองมาเป็นค่าเดินทาง น้อมถวายเป็นพุทธบูชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น