เปิดประเด็น ครับ กับคุณ "แม่" ทัศนคติ เรื่องวัดพระธรรมกายนิดนึงครับ
เรื่องปูพื้นฐาน บาป-บุญ-คุณ-โทษ วัดทำได้ดีจริงครับ ผมยังไม่เคยเห็นที่ไหนทำได้ผลขนาดนี้มาก่อนเหมือนกัน
และขอบคุณที่แยกแยะ เรื่องดีก็ชม เรื่องไม่ดีก็ท้วงติงครับ
ผมตอบตามที่เห็นมาตลอด 30 ปีนะครับ
ความจริงเวลาคนพูดถึงวัด ก็มักจับเอาสิ่งที่เห็นในปัจจุบันมาว่ากันเลย เช่น วัดใหญ่ คนมาก กิจกรรมเยอะ เงินทำบุญมาก เป็นต้น คือเห็นตอนที่วัดโตแล้ว
แต่ถ้าอยากรู้จักวัดนี้จริง ๆ ต้องไปดูพัฒนาการมาตั้งแต่ต้นครับ คือ ตั้งแต่วัดยังไม่เป็นวัด ยังไม่มีอะไร แล้วภาพมันจะชัด การทำความเข้าใจวัดจะง่ายและถูกต้องยิ่งขึ้น
ถ้าเล่าก็จะยาวไป ขอแลกเปลี่ยนเท่าที่ได้ก่อนนะครับ
-----------------------------------------------
เรื่องดวงแก้วหรือนิมิต เดี๋ยวคุยสุดท้ายครับ
-----------------------------------------------
เรื่อง “ยอดบุญ”, “KPI” ผมตอบไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจน่ะครับ มันไม่ใช่ภาษาที่คนวัดรู้จัก
ถ้าคุณมาพูดสองคำนี้ในวัด คนวัดจะงง แล้วจะมองคุณแปลก ๆ ว่าคุณกำลังพูดเรื่องอะไร
แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นใหญ่อะไร เพราะมันก็ขึ้นอยู่กับใครจะใช้มุมมองไหนตัดสินวัด
เรื่องธรรมดาครับ
เหมือนที่แปลงหนึ่ง
คนบางคนไม่สนใจเดินผ่านไปเลย
เกษตรกรมาเห็น จะมองที่ผืนนี้ว่าเหมาะจะปลูกอะไร
นักธุรกิจจะคิดว่า ซื้อ-ขาย-ลงทุนอย่างไร จึงจะได้กำไรมาก
หลากหลายมุมมองครับ
ก็เหมือนกับที่มองวัดนี้ว่า “ขายบุญ”
คำนี้ก็เป็นคำแปลกอีกคำครับ
ถ้ามีใครมาถามคนวัดว่า บุญขายได้ไหม ร้อยทั้งร้อยจะตอบตรงกันว่า ไม่ได้ (อาจมีคำว่า “ประสาท” แถมให้ด้วย 55)
บุญต้องสร้างด้วยตัวเองเท่านั้น
“ขายบุญ” เป็นคำที่คนอื่นตั้งให้ ซึ่งก็เริ่มมาจากไม่กี่คน แต่เพราะมีเครดิต สื่อชอบสัมภาษณ์ ถ้อยคำมันก็ติดตลาดได้ง่าย (ผมสงสัยคนกลุ่มนี้มานานแล้วนะ ว่าทำไมสื่อชอบไปสัมภาษณ์ และทำไมเก่งจัง รู้ทุกเรื่อง ตอบได้ทุกอย่างครอบจักรวาลอย่างนั้น...555 ผมอาจจะเขียนถึงพวกเขาสักวันหนึ่งนะครับ)
แต่ก็พอเข้าใจได้ครับ เพราะวัดนี้คนทำบุญเยอะ และมีระบบชัดเจน (ทำไมต้องเป็นระบบ ? เรื่องนี้ก็น่าสนใจ แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง)
คนข้างนอกที่ใจหมกมุ่นแต่กับเรื่องกำไร-ขาดทุน ธุรกิจ ก็อาจคิดไปแนวนั้น ตรงนี้ไม่ว่ากันครับ
แต่สำหรับผม ผมขำนะครับ เพราะรู้สึกว่าเขาประเมินวัดด้วยวิธีการที่หยาบเกินไป
นักธุรกิจใหญ่ ๆ ที่ทำบุญกันเยอะ ๆ ไม่ใช่คนโง่ครับ
เขาคือพ่อค้า กว่าจะรวยกันมาล้วนฟันฝ่าอะไรมาเยอะ
ไปหลอกให้เขาควักเงินเพื่อแลกกับบุญ ไม่ง่ายอย่างนั้นหรอกครับ คิดตื้นเขินเกินไป
ผมรวยน้อยกว่าเขา ยังควักยากเลย 555
ทุกคนรู้ครับว่าทำบุญได้บุญ แต่ที่เขาทำมาก ก็เพราะเห็นอะไรที่มากกว่านั้นด้วย
ตัวอย่างสักนิดครับ
สมมุติมีโครงการเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้าสัก 200 คน ใช้งบ 10,000 บาท ซึ่งเราร่วมบริจาคไป 100 บาทด้วย จากนั้นได้มีโอกาสไปเลี้ยงเด็กกับเขา กลับถึงบ้านก็มีความสุขมาก ที่ได้เห็นเด็ก 200 คนมีความสุข อิ่มหนำสำราญ
เราคงไม่คิดใช่ไหมครับ ว่าเงิน 100 บาทของเรา พอเลี้ยงเด็กได้แค่ 2 คน
แต่เราจะรู้สึกว่า วันนี้ได้เลี้ยงเด็กตั้ง 200 คนแน่ะ
ออกเงินน้อย แต่ได้สัมผัสความสุขใจที่ยิ่งใหญ่...
อารมณ์คนวัดผมว่าคล้ายอย่างนี้ละครับ
-----------------------------------------------
การปฏิบัติธรรมของวัด ผมไม่เห็นว่าเส้นทางจะวกวนตรงไหน
ลำดับของผลที่ปฏิบัติได้ ก็ชัดเจนเป็นลำดับเหมือนกันทุกคน เพราะทางเดียวกัน (ขอให้นั่งให้ถึงจุดนั้นเถอะ)
เท่าที่หลวงพ่อสอน คนวัดยังทำไม่ได้ด้วยซ้ำไป
และเอาเข้าจริง ๆ การอุปมาเส้นทางกรุงเทพเชียงใหม่ ผมว่าหาคนไปถึงเชียงใหม่ไม่ได้ง่ายหรอกครับ ยิ่งไปกว่านั้น ตอนนี้เราถึงไหนกัน ก็อาจไม่รู้ด้วยซ้ำไป
และเพราะไม่ได้รู้จริงในเส้นทางกัน การจะบอกว่าวัดนี้ไปถึงนั่น วัดนั้นถึงนี่ ผมว่าเร็วเกินไป
เราอาจเทียบเคียงกับทฤษฎีที่เราคิดว่าใช่
ซึ่งใช่หรือไม่ ผมยังสงสัยอยู่
ตำรับตำราการปฏิบัติธรรมที่นิยมแพร่หลาย ไม่ใช่เอาจากพระไตรปิฎกโดยตรงอย่างเดียวนี่ครับ
ที่นิยมแพร่หลาย อ้างอิงมาใช้เป็นหลัก คือคัมภีร์วิสุทธิมรรค หรือวิมุตติมรรค แต่งตอนประมาณ พ.ศ. เกือบ 1000 รวบรวมวิธีการจากคัมภีร์เก่า ๆ ถ้าจะเอาวิธีปฏิบัติในพระไตรปิฎกมาใช้จริง น่าจะได้เรื่องหลักการซะเยอะ
เวลาฟังคนพูดเรื่องการปฏิบัติธรรม ผมพอแยกแยะได้บ้างว่าใครรู้จริงไม่จริง
ใครพูดไปตามตำรา และใครพูดไปตามผลที่เกิดจากการปฏิบัติจริง
ภาษามันจะไม่เหมือนกันครับ
ถ้าภาษาตำรา ฟังแล้วมันจะไม่ซึมเข้าในใจ คือจะต้องคิดตามไปด้วย (เช่นการยกพระไตรปิฎกมาแปะเป็นต้น 55)
แต่ภาษาของนักปฏิบัติ ฟังแล้วไม่ต้องคิดครับ เพราะเป็นภาษาใจ พูดแล้วซึมเข้าไปข้างในเลย
เหมือน “ยาทา” กว่าจะเห็นผลก็ช้า ไม่เหมือน “ยาฉีด” ที่ผลมาทันที
เข้าทำนอง “ถ้าเราอธิบายสิ่งใดให้ง่ายไม่ได้ แสดงว่าเราไม่เข้าใจสิ่งนั้นจริง” ครับ
ยกสักเรื่องละกันนะครับ
เคยได้ยินคำสอนที่ว่า นั่งสมาธิแล้ว “อย่าติดสุข” นะครับ
คำ ๆ นี้ ผมได้ยินมานาน และผมก็ไม่ค่อยแน่ใจ ว่าต้องปฏิบัติอย่างไรแน่
หลายคนบอกว่าถ้านั่งแล้วเกิดความสุข ให้ทิ้งไป อย่าติด
พอได้ยินอย่างนี้ คนส่วนใหญ่พอเกิดความสุขเมื่อไร จะพยายามสลัดความสุขทิ้งไปให้ได้ จนสุขหายไป แล้วเริ่มใหม่อีก แต่พอนั่งไป สุขมันก็กลับมาใหม่อีก ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหมือนพายเรือวนในอ่าง (คนทำอย่างนี้มีเยอะนะครับ)
หลวงพ่อผมยิ้ม ๆ แล้วสอนว่า
ที่จริงพอไปถึงตรงนั้น ไม่ใช่เราติดสุขหรอก แต่ “สุขมันมาติดเราเอง”
คือเราไม่ได้ไปแสวงหามัน แต่มันมาหาเราเอง ดังนั้นต่อให้หนีอย่างไร มันก็มาติดอีกจนได้นั่นแหละ การพยายามสลัดมันทิ้งทำให้จิตหยาบ นั่งให้ตายก็ไม่มีทางก้าวหน้าไปไหนได้
แล้วจะทำอย่างไร
ท่านบอกก็ปล่อยให้มันมาติดไป ไม่ต้องไปฝืนหรือไปไล่มัน
ที่มันเกิดอย่างนั้นเพราะใจเรานิ่ง หยุด
พอถูกจุด สุขก็มา
เรามาถึงจุดนี้ด้วยวิธีไหน ให้ใช้วิธีเดิมนั่นแหละ
คือหยุดใจสบาย ๆ นิ่งต่อไป “ไม่ต้องสนใจความสุข”
พอใจนิ่ง หยุดหนักเข้า มันก็หลุดจากสุขตรงนั้นไป แล้วสุขใหม่มันจะมาอีก จะสุขกว่าเดิมด้วยซ้ำไป
ให้ทำเหมือนเดิมต่อไป ใจจะเข้ากลางไปเรื่อย ๆ สุขยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ (แต่ไม่ติด) เหมือนเถาปิ่นโต ชั้นบนว่าอร่อยแล้ว ชั้นที่สองอร่อยกว่าอีก
อย่างนี้ครับ ภาษาของนักปฏิบัติธรรม ฟังแล้วไม่ต้องแปล แจ่มแจ้งในตัว
เราจะหนีสุขไปได้อย่างไรครับ ในเมื่อ “พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”
ไปถึงที่สุดแล้วยังมีความสุขรออยู่เลย
พระอรหันต์บางรูป ยังพูดเลยว่า “สุขจริงหนอ” (หนักกว่านั้น พระพุทธเจ้ายังตรัสด้วยว่าอย่ากลัวความสุข แถมมีสุขที่ควรติดอีก 555 ย้อนแย้งกับที่เขาว่ามาชะมัดเลย)
-----------------------------------------------
มาเรื่องสุดท้าย คือเรื่อง เพ่งดวงแก้ว มองหาองค์พระที่สะดือ
ภาษานี้คนวัดไม่รู้จักนะครับ เพราะมันผิด
ผมนั่งสมาธิกับวัดมา 30 ปี ไม่เคยได้ยินหลวงพ่อสอนให้เพ่งดวงแก้ว หรือมองหาองค์พระที่สะดือสักครั้งเดียว
ภาษานี้ คือภาษาของคนที่ไม่รู้จักวิธีที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอน จับลักษณะการฝึกเพียงเล็กน้อยก็เอาไปพูดขยายความ
ก็เหมือนเดิมครับ คือเป็นคนมีเครดิต สื่อเอาไปขยายต่อ คนมาอ่าน ไม่ได้ศึกษาก็เข้าใจตามไปอย่างนั้น
ประกอบกับวัดเขาก็ไม่ออกมาอธิบาย คนวัดก็นิสัยเดียวกัน เรานั่งของเราเงียบ ๆ ดีกว่า
เอาเป็นว่าต่อไปนี้ ถ้าคุณได้ยินใครบอกอย่างนั้น อนุญาตให้เอาผมอ้างอิงได้เลยครับ ว่า “ผิด” 555
เรื่องจริง ๆ มันนิดเดียวเองครับ
คือ วัดจะสอนให้ทำใจให้หยุด (เกิดสมาธิ) ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด (หมายถึงตำแหน่งที่เราจะวางใจ)
แยกคุยได้ 2 เรื่อง คือ 1.วิธีการทำใจให้หยุด (เกิดสมาธิ) กับ 2. ตำแหน่งที่วางใจ (ฐานที่ 7)
ขอเริ่มที่ข้อ 2. ตำแหน่งที่วางใจก่อน
การจะบอกตำแหน่งนี้ให้คนนึกตามได้ ต้องอ้างอิงส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายครับ
เหมือนถ้าเราพูดถึงหัวใจ เราก็อ้างที่หน้าอก จะพูดถึงดวงตา ก็ต้องอ้างที่ศีรษะ จะพูดถึงหัวเข่า ก็ต้องอ้างที่ขา
จะหาตำแหน่งฐานที่ 7 ให้ง่าย ต้องอ้างอิงสะดือครับ
เพราะตำแหน่งนี้มันอยู่กลางตัว (ในท้อง) สูงกว่าระดับสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ
สะดือคือที่อ้างอิงถึงตำแหน่ง...
ลองนึกสิครับ ถ้าไม่อ้างสะดือแล้ว มีอะไรให้อ้างง่ายกว่านี้ครับ...หน้าอก ลิ้นปี่ กระเพาะ ลำไส้...ยุ่งยากไปไหมครับ
จบเรื่องสะดือ
มาถึงวิธีการทำใจให้หยุด
ก็เหมือนที่อื่น ๆ ซึ่งสอนว่า สมาธิคือการฝึกใจให้หยุดนิ่ง ตั้งมั่น
วิธีการของที่วัด มีจุดเริ่มต้น 2 วิธีให้เลือก
1. แบบนึกนิมิต ก็คือบริกรรมนิมิตนี่แหละ ถูกต้องตามตำรับตำรา คุณคงแยกออกนะครับว่า “นึก” หรือบริกรรม ต่างกับ “เพ่ง” อย่างไร ผมจะได้ข้ามไปเลย
2. สำหรับคนนึกไม่เป็น คือนึกแล้วคอยจะเผลอ ลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง ภาพที่ตัวเองนึกอยู่เรื่อย (ซึ่งอย่างนี้ไม่เรียกนึกแล้วครับ)
หลวงพ่อสอนว่าใครเป็นอย่างนี้ก็ไม่ต้องนึก แต่ให้วางใจนิ่ง ๆ ไปก่อน (แล้วเอาสติจับตรงฐานที่ 7 เบา ๆ สบาย ๆ อย่าใช้แรงบังคับ)
สองวิธีนี้เป็นอุบายเบื้องต้นให้ใจหยุดครับ
มันเหมือนการฝึกม้าพยศ ต้องหาหลักมาผูกมันไว้ ต่อให้ดิ้นอย่างไรก็วนอยู่กับหลักนี่แหละ
หลักก็คือ นิมิต ครับ ให้ใจมันเกาะไปก่อน สติเราก็จะได้อยู่ตรงนั้นนิ่ง ๆ นาน ๆ ประคองไปจนกว่าจะหยุด
แต่ถ้าไม่นึกนิมิต ก็เอาสติผูกเฉย ๆ ก็ได้ (แต่นึกนิมิต จะเผลอสติยากกว่า)
พอใจหยุดปุ๊บ นิมิตพวกนี้จะหายไปเอง เพราะใจจะไปเข้าถึงสภาวธรรมที่มีจริงภายใน
นิมิตพวกนี้เป็นเรื่องที่เราสมมุติขึ้นมา ไม่ใช่ของจริงอะไร จึงเป็นเหมือนเรือที่เราใช้ข้ามฟาก
ถึงฝั่งที่เราต้องการแล้ว ไม่ต้องแบกเรือไปด้วย ทิ้งมันไว้ริมตลิ่งนั่นแหละ
ส่วนหลังจากใจหยุดแล้ว ตรงนี้ละครับ ลำดับชัดเจนทีเดียว
ผมเองก็ฝึกอยู่ครับ จนป่านนี้แล้ว อยุธยาก็ยังไม่ถึงสักที 555
ผมยังชอบคำของครูหลวงพ่อ (เป็นแม่ชีครับ สอนสมาธิหลวงพ่อตั้งแต่ยังไม่บวช) เวลาท่านได้ยินใครโม้เรื่องสมาธิกัน ท่านจะพูดสั้น ๆ ว่า “คุณ ไปหยุดใจให้ได้ซะก่อนเถอะ” 555 หัวทิ่มครับ
-----------------------------------------------
วัดพระธรรมกาย อาจจะไม่ใช่วัดที่ดีเลิศสมบูรณ์ที่สุด
และคงไม่ถูกจริตอัธยาศัยของใครต่อใครไปเสียหมด
ที่คนท้วงติงมา ผมว่าวัดก็คงหาทางปรับให้พอดี
ขอบคุณ คุณ “แม่” ที่คอมเม้นต์มา
และขอบคุณที่ตามมาอ่านครับ
=================
คำตอบ จาก "แม่"
- คนเข้าวัดเป็นคนดีเยอะมาก เสียสละ ตั้งใจจริง ถือศีล 5 เลิกอบายมุขเยอะมาก อันนี้ดีจริง
- กิจกรรมตักบาตร ทำบุญ ภาคใต้ อันนี้ดี
- คนเข้าไปวัดเพื่อหา connection ก็เยอะ แต่อันนี้เข้าใจได้ ธรรมดาของโลก
จริงๆ คนเข้าวัดก็มีดีชั่วปะปนไปทุก ๆ วัด
- KPI ถามคนไปวัดคงไม่เข้าใจ ถามกรรมการ ผู้ดูแลกิจกรรมต่าง ๆ จะเข้าใจ
- บุญ เป็นสิ่งที่คนเข้าวัดอยากได้ จริง ๆ ถ้าพอดีก็จะดี เพราะบุญทำให้เสียสละ จิตใจเบา ไม่ยึดติด
แต่การทำบุญได้ยอดเท่านั้นเท่านี้ ได้เข็มกลัดสีนั้นสีนี้ ได้นั่งตรงนั้นตรงนี้
อันนี้ไม่เห็นด้วย เกิดการยึดติดแบ่งลำดับชั้นด้วยยอดเงิน
- เน้นเรื่องรวย เรื่องเงิน แม้แต่ดอกดาวเรืองยังเปลี่ยนเป็นดอกดาวรวย
จริง ๆ ก็ไม่ได้ผิดอะไร ถ้ารวยก็คงดีกันทุกคน แต่นี่คือเน้นว่าทำบุญแล้วจะรวย อันนี้ก็ไม่เห็นด้วย
- เคยไปอบรมคอร์สวัดธรรมกายที่เขาใหญ่ เข้าใจว่าทำไมคนถึงศรัทธา
ขณะทำสมาธิ จะคล้ายๆ สะกดจิตกลาย ๆ การเป่าฟองสบู่ กิจกรรมชักนำต่าง ๆ
มี keyword คือ แก้ว ใส เย็น สบาย เบา เป็นการชักนำสู่สมาธิ
เมื่อสมาธิเกิด แม้ขณิกะสมาธิ ย่อมทำให้คนเบา ย่อมมีศรัทธาต่อวัด ต่อศาสนา
จริง ๆ แล้วการทำสมาธิ ผลจากการทำสมาธิเป็นของกลาง คือ ไม่ว่าใคร ๆ ศาสนาใด ทำก็จะให้ผลในลักษณะที่คล้ายกัน
- การทำสมาธิใดๆ ก็ตาม สุดท้ายจะเป็นตามลำดับของสมาธิ
มีคำสอนอยู่ด้วย ถ้าคุณทำแล้วเจอ คุณจะทึ่งกับพุทธศาสน์
เพราะถ้าคุณทำสมาธิและสมาธิจะดิ่งสู่ลำดับของมัน
มันตรงกันอย่างน่าอัศจรรย์กับคำสอน (ตรงเป็นส่วน ๆ แต่คุณจะรู้เองว่า)
- สุข จากสมาธิ ถ้าเจอ "สุข" จริง ๆ จะไม่ต้องอธิบายเพราะมันอธิบายไม่ได้
เพราะมันเป็นสุขอย่างยิ่ง อันนี้เข้าใจเพราะเคยเจอ สุขแบบสุข... หาคำไม่ได้
แต่พระปฏิบัติท่านบอกว่าให้รู้อย่าหลง เพราะเมื่อคุณสุขคุณจะสุขจริงๆ
คุณจะลงไปคลุก แล้วคุณจะติด แม้แต่แสงสว่าง แม้แต่ดวงแก้ว เหล่านี้ก็คือของข้างทางทั้งนั้น
- แต่โดยรวม สมาธิทำเพื่อให้มีสติ เพื่อเห็นสิ่งที่เป็นธรรมดา เพื่อเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
- ส่วนเรื่องวิธีปฏิบัติของวัด วิธีธรรมกาย
คุณลองเปรียบเทียบกับพระไตรปิฏกว่ามันลงรอยกันหรือไม่
เทียบกับเนื้อหาของมหาสติปัฏฐานสูตร แม้ว่าคุณจะบอกว่าไม่ค่อยอยากอ่านเพราะเยอะ แต่ก็ขอให้อ่านดูเถิด
ลองอ่านดูว่าเนื้อหาตรงนี้สำคัญมากมายแค่ไหน
" ....ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเดียว
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโศกะและปริเทวะ
เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ที่ทำตัวหนาขีดเส้นใต้ จะเห็นว่ากายในกายกับธรรมกายเป็นคำที่คล้ายกัน
แต่ถ้าลองไปอ่านเรื่องกายในกายตาม เว็บนี้ จะพบว่าไม่ใช่วิธีเดียวกัน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
สรุปมาให้สั้น ๆ ว่า กายในกายตามสติปัฏฐาน 4 คือ
ให้รู้สึกถึงลมหายใจ แล้วเข้าใจกายสังขาร
ให้รู้สึกตัวเมื่อเดิน ยืน นั่งนอน
ให้รู้สึกตัวกับอากัปกิริยาต่าง ๆ
ให้พิจารณาว่าร่างกายเป็นส่วนประกอบของอวัยวะ ตับ ไต ของเสีย ต่าง ๆ
ให้พิจารณาว่า ร่างกายนี้ประกอบด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
ให้พิจารณาว่า ร่างกายนี้ เดี๋ยวก็ตาย ตายก็เน่า มีหนอง มีเอ็น สุดท้ายก็เหลือแต่กระดูกและผุพังไปในที่สุด
อ่านดูเถิดท่านทั้งหลาย
นี้แค่ส่วนของกาย ส่วนเวทนา จิต ธรรม นั้นรบกวนอ่านหรือฟังเพิ่มเอาเอง
เมื่ออ่านแล้วจะเห็นว่า ท่านให้เราเห็นว่ากายเรามันไม่เที่ยง
กายมันเปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ และสุดท้ายก็แตกสลาย ไม่ควรยึดติด
ลองเทียบดูเถิดว่าเข้ากับคำสอนของวัดตรงส่วนใด
หรือฟังเสียงอ่าน จาก youtube แนะนำให้ จขกท ฟัง เพราะเห็นว่าใจเปิดกว้าง

- ลองเทียบกับคำสอนของวัดจากหนังสือเรียนธรรมกาย ของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย เทียบดูว่ามันเหมือนกันหรือไม่
http://book.dou.us/doku.php?id=md102:7
- ดูในหัวข้อ 7.4.2 กับ 7.5 (ข้อย่อย 5 และ 7) คุณอ่านเจอคำว่า ดวงแก้ว และ องค์พระ หรือไม่
และที่บอกว่าอยู่กับวัดมา 30 ปี ไม่เคยได้ยินคำว่าเหล่านี้ นับว่าน่าแปลกใจอย่างมาก
- คุณบอกว่าถ้าเจอเรื่องดวงแก้ว องค์พระ นั้นไม่ใช่การสอนของวัด
สามารถเอาคุณอ้างอิงได้เลยหรือไม่ว่าตำรานี้ "ผิด" ตามที่กล่าวอ้าง
เช่นนี้ควรชี้แจงให้กับทางวัดได้ทราบว่าตำรานี้ไม่ถูกต้อง
- จะว่าไปเมื่ออ่านดูจากลิงค์ข้างบน ก็เป็นวิธีสอนสมาธิอย่างหนึ่ง ให้กำหนดรู้ที่ฐาน 7 อย่างสบายๆ
ถ้ามองแบบไม่อคติก็เป็นวิธีการรู้ตัวอย่างหนึ่ง มีความละเอียดไปตามลำดับชั้น
ถ้าปฏิบัติจริง ๆ ก็เชื่อว่าบางคนเจอดวงแก้ว และประคองรักษาได้ตามที่สอน
ตรงนี้ยังไงก็เป็นผลดีของคนที่ทำถ้าทำได้ระดับนี้ ต้องมีสมาธิ สติต้องตั้งมั่นแน่นอน
เสียดายที่การสอนต่อจากนี้ กลับเน้นเรื่องดวงแก้ว กายละเอียดภายใน
เสียดายที่ไม่ปรับตัดเข้าสู่เรื่องการไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นไปเพื่อการคลายกำหนัด
จากกระทู้ที่แล้วที่คุณบอกว่าเชื่อพระพุทธเจ้า ต้องเชื่อสุดหัวใจ
ก็อยากจะถามท่านว่าคุณควรเชื่อสติปัฏฐาน 4 หรือควรเชื่อสิ่งใด
อาจมีหลายคนแย้งว่านี่คือการค้นพบใบไม้ในป่าอีก 2500 ปีต่อมา
แต่สำหรับผมเชื่อพระธรรมคำสอนจากพระไตรปิฎกมากกว่าแบบไม่ต้องคิด
ถ้าคุณมองไปที่ภาพเล็ก ที่คนทำบุญ ถือศีล คุณจะเห็นว่าดี
แต่ถ้าคุณมองภาพใหญ่ภาพรวม คุณจะเข้าใจว่าทำไมเขาถึงคัดค้านและมันน่ากลัวเพียงใด
จริง ๆ ถ้าวัดเอาคำสอนเหล่านี้เข้าไปสอนว่าธรรมกายลงร่องตรงไหนกับพระสอนของพระพุทธเจ้า
แล้วสอนวิธีพื้นฐานและต่อยอดไปตามคำสอนพระพุทธเข้า
แบ่งเป็นสำนัก หรือแบ่งเป็นอาจารย์สอนสายกาย
แต่อาจเน้นที่ธรรมกายก็ได้แต่สุดท้ายต้องตัดเข้าสู่เป็นทุกข์ ไม่เที่ยงและไม่ใช่เรา ไม่ควรยึดมั่น
จัดหาอาจารย์สายกาย สายเวทนา สายจิต สายธรรม ตามความเชี่ยวชาญ
ให้คนเข้าวัดได้ลองปฏิบัติตามจริตของตน
ใช้การบริหารเช่นเดียวกับปัจจุบัน เป็นสำนักกรรมฐานต่าง ๆ
วัดนี้จะช่วยศาสนาได้มากมายมหาศาล
เท่านี้ก่อน
คำตอบ จาก "แม่"
- คนเข้าวัดเป็นคนดีเยอะมาก เสียสละ ตั้งใจจริง ถือศีล 5 เลิกอบายมุขเยอะมาก อันนี้ดีจริง
- กิจกรรมตักบาตร ทำบุญ ภาคใต้ อันนี้ดี
- คนเข้าไปวัดเพื่อหา connection ก็เยอะ แต่อันนี้เข้าใจได้ ธรรมดาของโลก
จริงๆ คนเข้าวัดก็มีดีชั่วปะปนไปทุก ๆ วัด
- KPI ถามคนไปวัดคงไม่เข้าใจ ถามกรรมการ ผู้ดูแลกิจกรรมต่าง ๆ จะเข้าใจ
- บุญ เป็นสิ่งที่คนเข้าวัดอยากได้ จริง ๆ ถ้าพอดีก็จะดี เพราะบุญทำให้เสียสละ จิตใจเบา ไม่ยึดติด
แต่การทำบุญได้ยอดเท่านั้นเท่านี้ ได้เข็มกลัดสีนั้นสีนี้ ได้นั่งตรงนั้นตรงนี้
อันนี้ไม่เห็นด้วย เกิดการยึดติดแบ่งลำดับชั้นด้วยยอดเงิน
- เน้นเรื่องรวย เรื่องเงิน แม้แต่ดอกดาวเรืองยังเปลี่ยนเป็นดอกดาวรวย
จริง ๆ ก็ไม่ได้ผิดอะไร ถ้ารวยก็คงดีกันทุกคน แต่นี่คือเน้นว่าทำบุญแล้วจะรวย อันนี้ก็ไม่เห็นด้วย
- เคยไปอบรมคอร์สวัดธรรมกายที่เขาใหญ่ เข้าใจว่าทำไมคนถึงศรัทธา
ขณะทำสมาธิ จะคล้ายๆ สะกดจิตกลาย ๆ การเป่าฟองสบู่ กิจกรรมชักนำต่าง ๆ
มี keyword คือ แก้ว ใส เย็น สบาย เบา เป็นการชักนำสู่สมาธิ
เมื่อสมาธิเกิด แม้ขณิกะสมาธิ ย่อมทำให้คนเบา ย่อมมีศรัทธาต่อวัด ต่อศาสนา
จริง ๆ แล้วการทำสมาธิ ผลจากการทำสมาธิเป็นของกลาง คือ ไม่ว่าใคร ๆ ศาสนาใด ทำก็จะให้ผลในลักษณะที่คล้ายกัน
- การทำสมาธิใดๆ ก็ตาม สุดท้ายจะเป็นตามลำดับของสมาธิ
มีคำสอนอยู่ด้วย ถ้าคุณทำแล้วเจอ คุณจะทึ่งกับพุทธศาสน์
เพราะถ้าคุณทำสมาธิและสมาธิจะดิ่งสู่ลำดับของมัน
มันตรงกันอย่างน่าอัศจรรย์กับคำสอน (ตรงเป็นส่วน ๆ แต่คุณจะรู้เองว่า)
- สุข จากสมาธิ ถ้าเจอ "สุข" จริง ๆ จะไม่ต้องอธิบายเพราะมันอธิบายไม่ได้
เพราะมันเป็นสุขอย่างยิ่ง อันนี้เข้าใจเพราะเคยเจอ สุขแบบสุข... หาคำไม่ได้
แต่พระปฏิบัติท่านบอกว่าให้รู้อย่าหลง เพราะเมื่อคุณสุขคุณจะสุขจริงๆ
คุณจะลงไปคลุก แล้วคุณจะติด แม้แต่แสงสว่าง แม้แต่ดวงแก้ว เหล่านี้ก็คือของข้างทางทั้งนั้น
- แต่โดยรวม สมาธิทำเพื่อให้มีสติ เพื่อเห็นสิ่งที่เป็นธรรมดา เพื่อเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
- ส่วนเรื่องวิธีปฏิบัติของวัด วิธีธรรมกาย
คุณลองเปรียบเทียบกับพระไตรปิฏกว่ามันลงรอยกันหรือไม่
เทียบกับเนื้อหาของมหาสติปัฏฐานสูตร แม้ว่าคุณจะบอกว่าไม่ค่อยอยากอ่านเพราะเยอะ แต่ก็ขอให้อ่านดูเถิด
ลองอ่านดูว่าเนื้อหาตรงนี้สำคัญมากมายแค่ไหน
" ....ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเดียว
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโศกะและปริเทวะ
เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ที่ทำตัวหนาขีดเส้นใต้ จะเห็นว่ากายในกายกับธรรมกายเป็นคำที่คล้ายกัน
แต่ถ้าลองไปอ่านเรื่องกายในกายตาม เว็บนี้ จะพบว่าไม่ใช่วิธีเดียวกัน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
สรุปมาให้สั้น ๆ ว่า กายในกายตามสติปัฏฐาน 4 คือ
ให้รู้สึกถึงลมหายใจ แล้วเข้าใจกายสังขาร
ให้รู้สึกตัวเมื่อเดิน ยืน นั่งนอน
ให้รู้สึกตัวกับอากัปกิริยาต่าง ๆ
ให้พิจารณาว่าร่างกายเป็นส่วนประกอบของอวัยวะ ตับ ไต ของเสีย ต่าง ๆ
ให้พิจารณาว่า ร่างกายนี้ประกอบด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
ให้พิจารณาว่า ร่างกายนี้ เดี๋ยวก็ตาย ตายก็เน่า มีหนอง มีเอ็น สุดท้ายก็เหลือแต่กระดูกและผุพังไปในที่สุด
อ่านดูเถิดท่านทั้งหลาย
นี้แค่ส่วนของกาย ส่วนเวทนา จิต ธรรม นั้นรบกวนอ่านหรือฟังเพิ่มเอาเอง
เมื่ออ่านแล้วจะเห็นว่า ท่านให้เราเห็นว่ากายเรามันไม่เที่ยง
กายมันเปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ และสุดท้ายก็แตกสลาย ไม่ควรยึดติด
ลองเทียบดูเถิดว่าเข้ากับคำสอนของวัดตรงส่วนใด
หรือฟังเสียงอ่าน จาก youtube แนะนำให้ จขกท ฟัง เพราะเห็นว่าใจเปิดกว้าง
- ลองเทียบกับคำสอนของวัดจากหนังสือเรียนธรรมกาย ของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย เทียบดูว่ามันเหมือนกันหรือไม่
http://book.dou.us/doku.php?id=md102:7
- ดูในหัวข้อ 7.4.2 กับ 7.5 (ข้อย่อย 5 และ 7) คุณอ่านเจอคำว่า ดวงแก้ว และ องค์พระ หรือไม่
และที่บอกว่าอยู่กับวัดมา 30 ปี ไม่เคยได้ยินคำว่าเหล่านี้ นับว่าน่าแปลกใจอย่างมาก
- คุณบอกว่าถ้าเจอเรื่องดวงแก้ว องค์พระ นั้นไม่ใช่การสอนของวัด
สามารถเอาคุณอ้างอิงได้เลยหรือไม่ว่าตำรานี้ "ผิด" ตามที่กล่าวอ้าง
เช่นนี้ควรชี้แจงให้กับทางวัดได้ทราบว่าตำรานี้ไม่ถูกต้อง
- จะว่าไปเมื่ออ่านดูจากลิงค์ข้างบน ก็เป็นวิธีสอนสมาธิอย่างหนึ่ง ให้กำหนดรู้ที่ฐาน 7 อย่างสบายๆ
ถ้ามองแบบไม่อคติก็เป็นวิธีการรู้ตัวอย่างหนึ่ง มีความละเอียดไปตามลำดับชั้น
ถ้าปฏิบัติจริง ๆ ก็เชื่อว่าบางคนเจอดวงแก้ว และประคองรักษาได้ตามที่สอน
ตรงนี้ยังไงก็เป็นผลดีของคนที่ทำถ้าทำได้ระดับนี้ ต้องมีสมาธิ สติต้องตั้งมั่นแน่นอน
เสียดายที่การสอนต่อจากนี้ กลับเน้นเรื่องดวงแก้ว กายละเอียดภายใน
เสียดายที่ไม่ปรับตัดเข้าสู่เรื่องการไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นไปเพื่อการคลายกำหนัด
จากกระทู้ที่แล้วที่คุณบอกว่าเชื่อพระพุทธเจ้า ต้องเชื่อสุดหัวใจ
ก็อยากจะถามท่านว่าคุณควรเชื่อสติปัฏฐาน 4 หรือควรเชื่อสิ่งใด
อาจมีหลายคนแย้งว่านี่คือการค้นพบใบไม้ในป่าอีก 2500 ปีต่อมา
แต่สำหรับผมเชื่อพระธรรมคำสอนจากพระไตรปิฎกมากกว่าแบบไม่ต้องคิด
ถ้าคุณมองไปที่ภาพเล็ก ที่คนทำบุญ ถือศีล คุณจะเห็นว่าดี
แต่ถ้าคุณมองภาพใหญ่ภาพรวม คุณจะเข้าใจว่าทำไมเขาถึงคัดค้านและมันน่ากลัวเพียงใด
จริง ๆ ถ้าวัดเอาคำสอนเหล่านี้เข้าไปสอนว่าธรรมกายลงร่องตรงไหนกับพระสอนของพระพุทธเจ้า
แล้วสอนวิธีพื้นฐานและต่อยอดไปตามคำสอนพระพุทธเข้า
แบ่งเป็นสำนัก หรือแบ่งเป็นอาจารย์สอนสายกาย
แต่อาจเน้นที่ธรรมกายก็ได้แต่สุดท้ายต้องตัดเข้าสู่เป็นทุกข์ ไม่เที่ยงและไม่ใช่เรา ไม่ควรยึดมั่น
จัดหาอาจารย์สายกาย สายเวทนา สายจิต สายธรรม ตามความเชี่ยวชาญ
ให้คนเข้าวัดได้ลองปฏิบัติตามจริตของตน
ใช้การบริหารเช่นเดียวกับปัจจุบัน เป็นสำนักกรรมฐานต่าง ๆ
วัดนี้จะช่วยศาสนาได้มากมายมหาศาล
เท่านี้ก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น