เพราะดัดแปลงมาจากสูตร
ของพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
[๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร
ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐
ย่างลงสู่สัมมัตต นิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯ
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ
ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑ เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑
เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑ เป็นอย่างอื่น ๑ เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑
เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑ เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑
เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑ เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑
เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑ เป็นโทษ ๑ เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑
เป็นของหาสาระมิได้ ๑ เป็นมูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑ เป็นความเสื่อมไป ๑
เป็นของมีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑ เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ๑
เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑
เป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑
เป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑
====================
เอาง่ายๆเลยนะครับ ทุกอย่างที่ว่ามามันจะเป็นตรงข้ามกันหมด
เพราะนิพพานมันคือธรรมที่เข้าไปสงบระงับซึ่งสังขารทั้งปวง
เป็นธรรมสุงสุด เป็นบรมธรรม เป็นปรมัตถ์ธรรม
สรูปก็คือ นิพพานเป็นตรงกันข้ามกับขันธ์ 5 นั่นแหละครับ
====================
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น