วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
ทำบุญมาก ได้มาก หรือ ไม่?
http://pantip.com/topic/35097944
แตกประเด็นจากกระทู้ "สำนักธรรมกายสอนสวนทางกับพระไตรปิฎกอยู่เช่นนี้ ท่านจะมีประโยค ๙ เปรียญเอกเป็นร้อยๆ ไว้ทำอะไร ?"
ยกความเห็นคุณ NeoCitran มานะครับ
--------------------
ในเรื่องนี้ ผมมีความเห็นอย่างนี้ครับ...
“วัดสอนเรื่องบริจาคมากได้บุญมาก เป็นการสอนสวนทางกับพระไตรปิฎก”
ผมเห็นว่าไม่สวนทางครับ และมีแนวโน้มไปทางเดียวกันอย่างมากด้วยซ้ำไป
สวนทาง มันต้องใช้กับทิศทางตรงกันข้าม เหมือนรถสวนกัน คันหนึ่งขึ้นเหนือ อีกคันขับสวนมาลงใต้ อย่างนี้ครับจึงเรียกว่า “สวน”
ถ้าที่วัดสอนว่า บริจาคมากได้บุญมาก เป็นการสอนสวนทาง แสดงว่าต้องมีที่พระพุทธเจ้าสอนว่า...
1. “ทำทานมาก ย่อมไม่ได้บุญมาก” (โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นประกอบนะครับ) หรือ
2. “ทำทานมาก ย่อมได้บุญน้อย” หรือ
3. “ทำทานน้อย จึงจะได้บุญมาก” หรือ
4. “ทำทานมากหรือน้อย ได้บุญเท่ากัน”
ถ้ามีคำสอนอย่างนี้อยู่ ผมจะโอเคครับ ว่าวัดสอนสวนทางกับพระไตรปิฎกจริง
หาคำสอนแบบนี้มาดูกันครับ
ถ้าหาไม่พบ อย่าเพิ่งสรุปว่าสวนครับ...เร็วไป
---------------------------------------------------------
ความจริงพูดแบบชาวบ้านเลยก็ได้ ยังไม่ต้องไปเอาตำรามากางคุยกัน คุณว่าประโยคไหนมันสมเหตุสมผลที่สุดครับ
1. “ทำทานมาก ย่อมได้บุญมาก” หรือ
2. “ทำทานมาก ย่อมไม่ได้บุญมาก” หรือ
3. “ทำทานมาก ย่อมได้บุญน้อย” หรือ
4. “ทำทานน้อย จึงจะได้บุญมาก” หรือ
5. “ทำทานมากหรือน้อย ได้บุญเท่ากัน”
คิดแบบคนไม่มีความรู้อะไร เอาสามัญสำนึกมนุษย์ทั่ว ๆ ไปนี่แหละ ลองโหวตดูก็ได้ครับ
ผมว่าข้อ 1 Make Sense ที่สุด...หรือคุณว่าไง
---------------------------------------------------------
ทีนี้พูดถึงการทำบุญ แล้วจะได้ผลบุญมากหรือน้อย มันมีเงื่อนไขประกอบอยู่ด้วย เช่น
ปัจจัยที่หามาบริสุทธิ์ไหม / เจตนาของผู้ให้เป็นอย่างไร / ผู้รับเป็นใคร มีคุณความดีมากน้อยแค่ไหน มาประกอบด้วย
ดังนั้นเมื่อจะเทียบว่า “ทำมาก ให้ผลบุญต่างจากทำน้อย” หรือไม่
1. ต้องเทียบใน Condition เดียวกัน หรือบริบทเดียวกันครับ อย่าเอาบริบทต่างกันมาเทียบกัน มันไม่ถูก
2. ต้องเทียบในคน ๆ เดียวกันด้วย...เพราะการทำทาน คือการกำจัดกิเลสโลภะ หรือความตระหนี่ในใจคน (ความโลภ)
เมื่อตัดใจได้ บริจาคทรัพย์ไป บุญก็เกิดมาชำระล้างใจของผู้นั้นให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมา
มันจึงเป็นเรื่องเฉพาะคน จะมาเทียบบุญของคน 2 คน ที่ต่างคนต่างทำ ใน Condition ที่ต่างกันไม่ได้
ตัวอย่างเช่น... ผมจะตักบาตรพระ ท่านเดินมาสององค์ การที่ผมใส่บาตรพระแค่หนึ่งองค์ (ข้าว 1 ทัพพี + แกง 1 ถุง)
กับผมใส่ทั้งสององค์ (เพิ่มข้าวอีก 1 ทัพพี + แกงอีก 1 ถุง)
ผมจะได้บุญเท่ากันไหม ต้องเทียบอย่างนี้นะครับ ในบริบทเดียวกัน คน ๆ เดียวกัน
ไม่ใช่ไปเทียบว่า ผมตักสององค์ แต่เพื่อนข้างบ้านตัก 3 องค์ แล้วมาสรุปว่า เพื่อนข้างบ้านต้องได้บุญมากกว่าผม หรือผมจะได้มากกว่า
อย่างนี้ไม่ได้ เพราะมันคนละ Condition ครับ
คือต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นด้วย เช่น สมมุติเพื่อนบ้านได้เงินมาจากเล่นหวย (ทรัพย์ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำมากกว่าผมก็ไม่แน่จะได้บุญมากกว่า)
หรือเพื่อนบ้านตื่นมาใส่บาตรไปงั้น ๆ เพราะเมียปลุกให้ลุกมาใส่ ไม่ได้ตั้งใจอะไร อย่างนี้ก็ไม่แน่ว่าจะได้บุญมากกว่าผมที่ใส่น้อยองค์กว่านะครับ
การยกเอาเรื่องของผู้หญิงบูชาพระบรมธาตุด้วยดอกบวบขมแล้วพระอินทร์ชมว่าได้บุญมาก
อ่านดี ๆ สิครับ ว่าพระอินทร์ไม่ได้ชมว่าทำน้อยแล้วดี
แต่ชมว่าแม้จะทำน้อย แต่เพราะมีจิตเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ผลบุญมันจึงไม่น้อย
(ได้บุญเยอะเพราะอาศัยพระพุทธเจ้าครับ ไม่ใช่อาศัยดอกบวบแค่ 4 ดอก)
มาลองเล่นกันดูครับ ผมจะปรับบทให้ใหม่ เอาบริบทเดิมครับ
แต่ปรับให้เธอมีดอกบวบขมเพิ่มจาก 4 ไปเป็น 10 ดอก หรือมีดอกมะลิอีก 2 ตะกร้าเข้าไปด้วย
คุณว่าเธอยังจะได้บุญเท่าเดิมไหมครับ
ถ้าบอกว่าได้เท่าเดิม
โอเค งั้นเธอก็ไม่จำเป็นต้องเอาไป 4 ดอกก็ได้ เอาไปดอกเดียว ครึ่งดอก ก็พอ
หรือเอาไปแต่ก้านก็พอใช่ไหมครับ เพราะยังไงก็ได้เท่าเดิมอยู่แล้ว (ตรรกะประหลาดมาก)
มาที่เรื่องเวลามพราหมณ์ ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าทำตั้งเยอะแยะ ยังสู้เลี้ยงพระโสดาบันอิ่มเดียวไม่ได้
แต่ไม่ได้บอกว่า เพราะบริบทนี้ เวลามพราหมณ์เขาเกิดในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนาไงครับ เขาไม่มีเนื้อนาบุญ
ผู้เขียนก็เล่า 2 เรื่องนี้ซะเกือบเคลิ้มตามไปว่า ทำทานน้อยก็ได้บุญมาก (เหมือนสตรีดอกบวบนั่น)
และทำบุญมากอาจได้บุญน้อย (เหมือนเวลามพราหมณ์) โดยไม่บอกคนอ่านว่ามันคนละบริบทกัน
ผมเปลี่ยนบทและตั้งคำถามให้คุณตอบดีกว่า
สมมุติเวลามพราหมณ์ ไปเกิดสลับยุคกับสตรีดอกบวบ
เมื่อสตรีดอกบวบมาเกิดในยุคของพราหมณ์ คุณว่าไอ้ดอกบวบ 4 ดอกนั่นมันจะทำให้เธอไปเกิดในสวรรค์ดาวดึงส์อีกไหมครับ
(แต่เวลามพราหมณ์ได้ไปเกิดบนสวรรค์ เพราะแม้ไม่เจอเนื้อนาบุญ แต่ก็ทำเต็มที่)
คราวนี้เอาเวลามพราหมณ์มาบูชาพระบรมธาตุบ้าง สลับกัน ด้วยทรัพย์เยอะแยะที่ว่ามานั่นแหละ
คุณว่าเวลามพราหมณ์น่าจะได้บุญขนาดไหนครับ จะมากกว่าสตรีดอกบวบไหม หรืออย่างไรดี
---------------------------------------------------------
สรุป 2 เรื่องนี้ให้ง่าย คือ เงื่อนไขไม่ได้อยู่ที่ใครทำมากหรือน้อย แต่อยู่ที่เจอเนื้อนาบุญ คือ พระพุทธเจ้าหรือพระสาวกหรือเปล่าต่างหาก
อุปมาสักนิดครับ
สตรีดอกบวบเหมือนมีข้าว 1 กำมือ (ดอกบวบ 4 ดอก) แล้วหว่านข้าวลงนาที่อุดมสมบูรณ์ (พระพุทธเจ้าหรือพระสาวก)
ข้าว 1 กำมือก็งอกงามได้ผลมากมาย
เวลามพราหมณ์ เหมือนมีข้าว 100 กระสอบ (ทรัพย์มากมาย) แต่ไม่เจอเนื้อนาบุญ
ก็เหมือนหว่านข้าว 100 กระสอบ ลงบนพื้นซีเมนต์ อย่าว่าแต่จะได้ผลเลย งอกหรือเปล่ายังไม่รู้
แต่ลองสลับกันสิครับ ให้สตรีดอกบวบมาเจอพื้นซีเมนต์บ้าง แล้วให้เวลามพราหมณ์มาเจอเนื้อนาบุญแทน
ผลจะต่างกันขนาดไหน...ระหว่างดอกบวบ 4 ดอก กับทรัพย์ทั้งหมดของพราหมณ์
---------------------------------------------------------
จะบอกว่า ทำมากได้มาก จริงไหม มันต้องเทียบในบริบท หรือ Condition เดียวกันครับ
ซื้อก๋วยเตี๋ยวร้านเดียวกัน ซื้อ 30 กับ 50 บาท ถ้ามันจะได้เท่ากัน ตรรกะมันประหลาดไปไหมครับ
---------------------------------------------------------
คราวนี้ขอกลับเข้าสู่โหมดชาวบ้านบ้างละครับ ผมคิดว่าทำทานมากย่อมได้บุญมากถูกต้องครับ
เริ่มเทียบระหว่างคนไม่ให้ กับคนให้ก่อนนะครับ (อย่าลืมว่าบริบทเดียวกัน)
คนไม่ให้ พูดทางบวกก็คือ ให้ = 0
เทียบกับคนให้ ซึ่งผมสมมุติว่าเป็นเลข 1 ก็แล้วกันครับ
พระพุทธเจ้าตรัสว่าคนให้ = 0 ไม่ได้บุญนะครับ
แต่คนให้ ซึ่งคือ 1 ได้บุญ...
1 จึงมีผลมากกว่า 0
ดังนั้น ถ้าให้มากขึ้น เป็น 2 คุณว่าบุญมันจะยังเท่ากับ 1 หรือน้อยกว่า หรือมากกว่าครับ
ถ้าเท่ากัน เราจะให้เยอะไปทำไมครับ มาให้แบบ 0.1, 0.2, 0.3 ก็พอแล้วครับ
อยู่ใกล้วัดไหน ไปทำบุญกับท่านสักบาทสองบาทก็พอแล้ว เพราะทำร้อย พัน หมื่น มันไม่ได้ต่างกันเลย
ใส่บาตรพระ ก็ใส่ข้าวสักเมล็ดสองเมล็ดก็พอแล้ว ใส่ทำไมตั้งหลายทัพพี
นี่คิดแบบชาวบ้านสุด ๆ แล้วครับ
(เรื่องสัมปทา 4 ขอข้ามนะครับ ท่านไม่ได้บอกว่า “ทำมากได้มาก” ก็ไม่แปลก และธรรมะเรื่องนี้ เขาพูดถึงการทำบุญแล้วได้ผลทันตาเห็นนะครับ
เงื่อนไขไม่อยู่ที่มากน้อย แต่อยู่ที่ต้องมีพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติมาเป็นผู้รับ ซึ่งส่วนมาก ท่านจะอนุเคราะห์คนจนครับ
ทำน้อยก็ได้มากได้ แต่สมัยนี้จะไปหาท่านได้ที่ไหนครับ มันตำราเกินไป ไม่พูดดีกว่า)
---------------------------------------------------------
เอาสักสูตรนะครับ นี่ก็มีพระเคยเล่าให้ฟังมา “วณิชชสูตรครับ” (ปกติไม่อยากอ้างเลย มันทำให้คุยกันไม่สนุก)
พระสารีบุตรถามพระพุทธเจ้าว่า ทำไมบางคนค้าขายขาดทุน, บางคนกำไรนิดหน่อย, บางคนกำไรตามที่ตั้งเป้าไว้, บางคนกำไรเกินกว่าที่คิด
ถ้าอ้างจากพุทธพจน์ การมีทรัพย์มาก เกิดขึ้นเพราะอำนาจบุญ ก็แสดงว่า จะได้กำไร (ทรัพย์) มากหรือน้อย ก็เพราะบุญมากหรือน้อยด้วย
พระองค์ตอบว่า ถ้าปวารณากับพระไว้ว่าจะถวาย สมมุติจะถวายท่าน 10 บาท พอเอาเข้าจริง
1. ไม่ถวายสักบาท
2. ถวายไม่ถึง 10 บาท เช่น 3 บาท
3. ถวาย 10 บาทพอดี
4. ถวายมากกว่า 10 บาท เช่น 20 บาท มากกว่าที่ตั้งใจ
พระองค์บอกว่า
คนแบบที่ 1 พวกนี้ถ้ามาค้าขายก็ขาดทุน (บุญน้อยสุด เป็นประเภทให้ = 0 ครับ)
แบบ 2 ถ้าค้าขายจะมีกำไรนิดหน่อย (มีบุญมากขึ้น)
แบบ 3 ถ้าค้าขายจะได้กำไรตามที่ตั้งเป้าไว้ (มีบุญมากกว่า)
แบบ 4 ถ้าค้าขาย จะได้กำไรมากที่สุด (มีบุญมากที่สุด)
---------------------------------------------------------
เรื่องสุดท้าย
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็เพราะอำนาจบุญ
หมายถึงต้องมีบุญมาก บุญน้อยเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้... คำว่า “มาก” ก็หมายถึงต้องมากกว่าคนทั่ว ๆ ไป ด้วย ไม่ใช่มากธรรมดา
มาดูว่าพระองค์ทำทานอย่างไร เพื่อจะได้เป็นพระพุทธเจ้า
พระองค์เล่าว่า ตอนเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์บอกตัวเองว่า ถ้าอยากจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต้องทำทานให้หมด
เหมือนกับการคว่ำหม้อน้ำ คือมีน้ำในหม้อเท่าไหร่ เทออกให้หมด = มีอะไรเท่าไหร่ ก็ให้ให้หมด อย่าหวงแหน ทำอย่างนี้จึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้
ถ้าทำเท่าไรก็ได้บุญไม่ต่างกัน เดี๋ยวก็เป็นพระพุทธเจ้าได้ ท่านคงทำแบบเนิบ ๆ ไปแล้วครับ ไม่ต้องถึงกับคว่ำหม้อ
เราเองก็ต้องหาทางหมดกิเลสเหมือนกัน ก็ต้องทำแบบท่าน หรือแม้ทำได้ไม่เท่าท่าน แต่ก็ต้องทางเดียวกันแหละ
(จึงอนุมานได้ว่า เพราะทรงเห็นว่าจะได้บุญมาก ต้องให้มากด้วย จึงสอนตัวเองให้ทำอย่างนี้)
ในพระไตรปิฎก ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าชมคนที่ทำทานน้อยว่าดีสักที
มีแต่ชมคนที่ทำมาก เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี และ นางวิสาขา ว่าเป็นเลิศ ดีกว่าใครทั้งหมดในการทำทาน
---------------------------------------------------------
ผมจึงขอสรุปแบบของผมครับว่า ทำทานมาก ได้บุญมาก
สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สุด และสมเหตุสมผล Make Sense ที่สุดด้วย
ส่วนท่านที่คิดว่าไม่ใช่ ขอให้ท่านทำตามที่เชื่อต่อไปครับ
เราต่างฝ่ายไม่มีใครเดือดร้อนครับ เงินของเรา เราหาของเรา เราใช้ของเรา บุญเป็นของเรา ต่างคนต่างทำครับ ไม่ทะเลาะกัน
และสมมุติว่าบุญที่ได้ไม่ต่างอะไรกัน ผมก็ยังชอบการให้มากอยู่ดีครับ
เพราะนอกจากบุญที่ไม่เห็นแล้ว ผมมีความสุขทุกครั้ง เมื่อรู้ว่าเงินที่ผมบริจาคไปมาก ๆ นั้น ก่อประโยชน์กับพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
ทำมาก กับ ทำน้อย...ผมเลือกทำมากครับ ไม่ต้องเอาบุญมาล่อ ผมก็ชอบทำมากอยู่ดี
---------------------------------------------------------
ไหน ๆ แล้ว ก็อยากพูดอีกนิด คือคำว่า “ทำมาก” หรือ “ทำน้อย” เนี่ย มันไม่มีเกณฑ์วัดนะครับ ว่าเท่าไหร่เรียกว่ามาก เท่าไหร่เรียกว่าน้อย
สมมุติคุณกับผมมีรายได้เดือนละแสนบาท ผมทำบุญเดือนละ 20,000 บาทเป็นปกติ
เงิน 20,000 สำหรับผม คือ ธรรมดา มากไหม ผมว่าไม่มาก น้อยไหม แล้วแต่ครับ บางทีผมว่าน้อย บางทีก็โอเค
แต่ถ้าคุณไม่เคยทำทานมาก ปกติทำทีละร้อยสองร้อย ใส่ซองผ้าป่าอย่างมากก็ห้าร้อย พันนึง
เงิน 20,000 บาทนี้ สำหรับคุณคือมากครับ...โคตรมากด้วย 555
แต่สำหรับพวกตระหนี่ถี่เหนียวสุด ๆ 10 บาทสำหรับเขาก็มากแล้วครับ
สำหรับคนที่วัดพระธรรมกาย หรืออย่างน้อยก็ผม ครอบครัว เพื่อน และคนที่รู้จัก
ทุกครั้งที่คนข้างนอกบอกว่าเราทำบุญมาก...ในความรู้สึกของเรา เราว่าไม่มากครับ
ที่คุณบอกว่ามาก ที่จริงน่าจะเป็นเพราะคุณทำบุญน้อยเป็นปกติต่างหากละครับ (น้อยในความรู้สึกเรานะ 555)
แต่ไม่มีปัญหาครับ ต่างคนต่างสร้างบุญกันไป ตราบใดที่ทำบุญแล้วเราไม่เดือดร้อน ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ก็เป็นสิทธิ์ของเราที่จะทำ
---------------------------------------------------------
ขอจบเรื่องทำบุญไว้เท่านี้นะครับ ต่อจากนี้ไปเป็นเรื่องสัพเพเหระแล้วครับ จะอ่านก็ได้ ไม่อ่านก็ตามสะดวก
เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าผู้เขียนอาจเข้าใจวัดไม่ถูกต้องนัก จะเป็นเพราะท่านรู้เรื่องวัดผิวเผินเกินไป หรืออย่างไรไม่ทราบ ก็แลกเปลี่ยนความคิดกันไปครับ
NeoCitran
=====
1. วัดนี้โน้มน้าวใจให้ “อยาก” โดยยกเอา รูปสมบัติ อะไรทำนองนี้มาล่อ ปุถุชนคนมีกิเลสก็อยากได้เป็นธรรมดา ซึ่งก็ต้องทำบุญสิ แล้วก็สรุปชวนให้คิดตาม
ถ้อยคำแบบนี้ผมไม่เห็นด้วยนะครับ ผม (และคนอื่นอีกเยอะ) ทำมาก
เพราะผมเห็นว่าทำมากแล้วดี มีประโยชน์ทั้งกับผม ทั้งพระศาสนา
ดังนั้นไม่ต้องคิดแทนผมก็ได้ครับว่าจะถูกโน้มน้าวอย่างนั้นอย่างนี้ ตรงนี้ผมว่าคุณคิดแทนพวกเราเยอะไปครับ
ปัจจัยทำบุญที่วัดได้มา ผมคิดว่ามันตรงกับหลักของพาเรโตเลยครับ
คือ เงินบริจาคจำนวนมาก (สัก 70-80 %) ที่คนทำบุญให้วัด ได้มาจากคน 10-20 เปอร์เซ็นต์ครับ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ ทั้งที่เปิดเผยตัวและไม่เปิดเผย (เขาคงรำคาญคนมาด่า 555)
ท่านเหล่านี้เป็นพ่อค้าครับ เงินแต่ละบาทที่เขาได้มาล้วนยากเย็น
คนพวกนี้ไม่ได้โง่ครับ เอาบุญมาหลอก มาโน้มน้าว วัดไหนทำได้ลองดูเถิดครับ
ถ้าแค่พูดเชิญชวนให้อยากแล้วเขาจะทำด้วย วัดเมืองไทยคงรวยทุกวัดแล้วครับ
นี่เรื่องจริง คนพวกนี้เขาเห็นประโยชน์มากกว่านี้เยอะครับ
เช่น ตักบาตรเป็นหมื่นรูปดีอย่างไร จัดบวชพระแสนรูปดีอย่างไร คือ มันมีอะไรมากกว่าเรื่องบุญครับ
ส่วนคนอีก 80 % แม้ทำได้น้อยกว่า แต่ไม่ได้น้อยใจอะไร เราก็ทำเยอะแบบของเรา (ถึงจะน้อยเมื่อเทียบกับเขา)
อนุโมทนากับเขาที่ทำเยอะ และเราก็ช่วยวัดอย่างอื่นได้โดยไม่ต้องใช้เงิน (แต่สักวันต้องทำให้ได้เยอะเหมือนเขา เราก็ฝัน ๆ ไว้ก่อน)
สรุปว่า ถ้ายังทำไม่ได้อย่างเขา ก็อย่าเพิ่งไปคิดแทนเขาเลยครับ ว่าทำเพราะถูกชักจูง...ตรรกะแบบนี้ผมคิดว่าไม่ถูกครับ
---------------------------------------------------------
2. วัดนี้เน้นบุญจากการบริจาค ให้โอนเงิน ทรัพย์สินเท่านั้น จึงมีกิจกรรมที่ต้องใช้เงิน เช่น ธุดงค์ เป็นต้น
ตรงนี้ก็ไม่ถูกครับ วัดเขาเน้นทุกเรื่องละครับ และสอนให้ทำจริงจังทุกเรื่องด้วย
ทำทาน ก็สอนให้ทำจริง ๆ ทำให้เร็ว ทำให้บ่อย และทำให้มาก
รักษาศีล ก็ให้รักษาจริง ๆ ไม่ใช่อาราธนาศีลที่วัดแล้วกลับไปดื่มเหล้าที่บ้าน บี้มดตบยุงอีก
แต่ให้มีศีล 5 เป็นปกติ คือ มีตลอดเวลา มีทุกวัน และหาโอกาสรักษาศีล 8 เป็นระยะ ๆ ด้วย
นั่งสมาธิ... นี่ครับ คือจุดเด่น และสำคัญที่สุดของวัด ถือว่าเป็นเป้าหมายใหญ่
คนมาวัดจะรู้ว่ามาแล้วต้องนั่งสมาธิ (ไม่ทำทานยังได้เลย แต่มาแล้วไม่นั่ง ไม่ได้ครับ)
วัดนี้จึงเป็นวัดที่สาธุชนมาอยู่รวมกันแล้วจะเงียบ เวลานั่งก็เงียบ ต่างคนต่างนั่งไป
และการนั่งสมาธิกลายเป็นสิ่งที่คนวัดต้องทำทุกวัน แถมวัดยังให้ไปนั่งกันยาว ๆ ชนิด 5 วัน 7 วัน หมุนเวียนกันตลอดปีซะอีก
ถ้าคุณมาวัด คุณไม่ทำทาน ไม่มีใครว่าครับ คุณไม่รักษาศีล ไม่มีใครรู้ครับ
แต่ถ้าคุณไม่นั่ง คุณจะกลายเป็นคนแปลก เขาจะงงว่าแล้วคุณจะมาวัดทำไม
ถ้าถามว่า ทาน ศีล ภาวนา หลวงพ่อพูดเรื่องไหนมากที่สุด
คำตอบคือภาวนานะครับ เรื่องอื่นพูดเป็นคราว ๆ ไป แต่ภาวนานี้พูดทุกวัน สอนทุกวัน กระตุ้นทุกวัน
แต่เพราะทำทานมันเห็นเป็นตัวเงินไงครับ เป็นรูปธรรม คนจึงสัมผัสเรื่องนี้ได้ไว
ลองสมมุติให้รักษาศีล หรือนั่งสมาธิ เห็นเป็นเงินได้เหมือนทานนะ
ผมว่า 2 อย่างหลัง จะเป็นเงินกองรวมกันมากกว่าทานเยอะเลย...เยอะระดับท่วมวัดนะครับ 555
อย่างตัวผม ถามว่าทำอะไรมากสุด ผมว่าศีลกับนั่งสมาธินะ
ทำทานผมทำวันต่อวัน แต่รักษาศีลนี่ ทำทั้งวันครับ นั่งสมาธิวันละ 2 - 3 รอบนะครับ ตื่นนอน ระหว่างวันเท่าที่มีเวลา แล้วก็ก่อนนอนอีกครั้งหนึ่ง
สรุปว่า วัดสอนให้ทำทุกบุญอย่างเต็มที่ เต็มกำลังครับ
ผมพูดได้ เพราะผมมาวัดตั้งแต่อายุ 16 ตอนนั้นเงินยังไม่มีครับ ทำได้แค่รักษาศีลกับนั่งสมาธิ
วัดก็สอนให้ทำทานเต็มกำลัง แต่ผมทำได้ครั้งละสิบ ครั้งละร้อยบาท (นั่นคือเต็มกำลังของผมนะ)
วัดไม่เห็นจะว่าอะไร มาตอนนี้ อายุจะ 50 แล้ว ทำได้ทั้ง 3 อย่าง แต่นั่งสมาธิชักจะเมื่อยครับ 555
---------------------------------------------------------
3. วัดนี้ไม่เคยบอกญาติโยมว่า อยู่ใกล้วัดไหน ให้ไปทำบุญวัดนั้น และวัดนี้ดูดพระจากวัดต่าง ๆ ไปชุมนุมในกิจกรรมที่วัดจัดขึ้น
ไม่เห็นด้วยนะครับ ผมได้ยินจนจำจำนวนครั้งไม่ได้แล้วว่า หลวงพ่อจะบอกว่า ใกล้วัดไหน ก็ไปทำบุญที่นั่น
แถมแต่ละปีท่านให้สำรวจด้วยว่า วัดไหนไม่มีใครไปทอดกฐิน ท่านก็ให้เด็ก ๆ ในชุมชน (เราเรียก V-Star) ไปทอดกฐิน
ทำรวม ๆ กันมาหลายปี เชื่อไหมครับ ยอดปัจจัยที่เด็ก ๆ ไปบอกบุญมาทำได้ หลายร้อยล้านบาทเชียวนะครับ (ผู้ใหญ่ยังอายน่ะ)
แถมวัดไหนจะร้าง ท่านยังให้ไปช่วยอีกด้วย
วัดนี้ไม่ได้ดูดพระนะครับ วัดนิมนต์พระมา
ซึ่งพระแต่ละวัดท่านก็พิจารณาของท่านว่าสะดวกมาร่วมไหม ท่านตัดสินใจเองครับ
หลายวัดท่านไม่ว่างแล้วปฏิเสธก็มี เรื่องแบบนี้เป็นปกติของสงฆ์ครับ คุณคนเขียนเคยบวชมาก็น่าจะรู้ พระท่านก็ช่วยกันอย่างนี้ ถือว่าเป็นกิจสงฆ์
ที่วัดพระธรรมกาย นิมนต์พระมาจำนวนมาก ๆ ปีหนึ่งสักครั้งสองครั้งละมังครับ
ปีหนึ่ง 365 วัน นิมนต์มาแค่วันสองวัน ไม่น่าเรียกว่าดูดนะ เพราะมาแล้วท่านก็กลับวัดท่านไป
ส่วนกิจกรรมต่างจังหวัด ไปจัดที่ไหนก็นิมนต์พระแถวนั้น ก็ในลักษณะเดียวกันนะครับ ซึ่งไม่ได้จัดทุกวัน ปีหนึ่งก็ไม่กี่ครั้งเหมือนกัน
ความจริงเวลาวัดอื่นจัดงาน ท่านมานิมนต์วัดพระธรรมกายไป ก็เห็นหลวงพี่ท่านไปร่วมงานเหมือนกันครับ พึ่งพาอาศัยกัน
ถ้าจะเรียกว่า “ดูด” พระ ต้องเป็นแบบนิมนต์ให้ท่านทิ้งวัดมาอยู่วัดพระธรรมกายครับ นั่นแหละดูด
-------------------------------------------
ขออภัยเนื้อหายาว คิดซะว่านาน ๆ มาทีนะครับ แลกเปลี่ยนกัน
ขอให้สนุกสนานกับการทำความดีทุกท่านครับ
วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559
คุยเรื่องกระทู้ “เสียงอ่าน ฯ กรณีธรรมกาย” สักนิดนะครับ
ผมชอบความสงบร่มเย็นทางใจ มากกว่าอะไรที่ทำให้ร้อนครับ
เข้ามาที่ห้องศาสนา จะเห็นกระทู้ “เสียงอ่านฯ กรณีธรรมกาย” แบ่งเป็นตอนย่อย ๆ มาโปรยไว้วันละตอนสองตอนเป็นประจำ
ขอชื่นชมว่าขยันกันจริง ๆ ครับ 555
คิดในแง่ดีคืออยากให้ความรู้กับเพื่อนสมาชิก
แต่คิดอีกแง่ เหมือนไม่อยากให้ลืมว่าวัดพระธรรมกายสอนผิดอย่างไรด้วย
ซึ่งผมไม่ค่อยชอบบรรยากาศแบบนี้เท่าไหร่ครับ
ผมเห็นคุณค่าของหนังสือกรณีธรรมกายในแง่เป็นความเห็นทางวิชาการที่น่าสนใจ
แต่จะหมดความน่าสนใจ ถ้าใครจะเอามาใช้ว่าร้ายหรือให้ถกเถียงทะเลาะกัน
เมื่อมี “คุณผิด – ฉันถูก” ที่ไหน เตรียมตัวได้ ว่าการทะเลาะจะตามมา
เมื่อไหร่ที่เห็นคนทะเลาะกัน หรือพระทะเลาะกัน ผมไม่ได้สนใจว่าใครชนะหรือใครแพ้
แต่ผมเห็น “ความอ่อนแอ” ซ่อนอยู่ครับ
คนในครอบครัวทะเลาะกัน ครอบครัวนั้นอ่อนแอ
คนในชาติทะเลาะกัน ชาตินั้นอ่อนแอ
พระในพุทธศาสนาทะเลาะกัน ศาสนานั้นอ่อนแอ
แพ้-ชนะ จะมีค่าอะไร !!
สมัยพุทธกาลมีเรื่อง “ขำ-ขื่น” อยากเล่าไว้เป็นอุทาหรณ์สักเรื่องครับ
ขำ – เพราะเป็นเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง ไม่น่าเป็นเรื่องเป็นราวอะไรได้
ขื่น – เพราะนำไปสู่การทะเลาะวิวาทใหญ่โต เสียหายกันไปทั่ว
สาเหตุที่ทะเลาะกัน เกิดจาก “น้ำ” ในขันส้วมครับ (555 ยังไม่ทันเล่าก็ขำไปแล้วครับ)
พระรูปหนึ่งเข้าส้วม แล้วเผลอปล่อยให้มีน้ำค้างอยู่ในขัน (คือไม่คว่ำขัน)
พระวินัยธรรูปหนึ่งมาเห็นเข้าบอกว่าผิดวินัย (เป็นอาบัติ) แต่ถ้าไม่แกล้งทำ ก็ไม่ผิด
พระรูปแรกเห็นว่าตัวไม่ได้แกล้ง จึงไม่ได้ปลงอาบัติ แล้วก็ไป
เรื่องเล็กเกิดกลายเป็นเรื่องใหญ่ เพราะพระ 2 รูปนี้ เป็นระดับครูบาอาจารย์ ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมายด้วยกันทั้งคู่
พระวินัยธรคงไปเล่าให้ลูกศิษย์ตัวฟัง ว่าพระที่เข้าส้วมเป็นถึงครูเขา แต่ทำผิดยังไม่รู้ตัว
ลูกศิษย์ไปพูดกระทบศิษย์พระที่ไม่คว่ำขัน ว่าอาจารย์พวกท่านต้องอาบัติก็ยังไม่รู้เลย
เรื่องจึงลุกลามใหญ่โต ฝ่ายหนึ่งหาว่าต้องอาบัติยังไม่รู้
อีกฝ่ายก็สวนกลับว่า ไหนบอกไม่แกล้งไม่เป็นไร อาจารย์พวกท่านกลับกลอกไปกลับกลอกมา
คนเรานะครับ ลองได้ทะเลาะกัน มันก็ไม่มีใครยอมใคร
พระทั้ง 2 ฝ่ายจึงเริ่มไปรวบรวมพวกที่คุ้นเคยชอบพอกัน ให้มาเข้ากันกับพวกตัว
ขอบเขตการทะเลาะก็ขยายลามออกไป
จนฝ่ายวินัยธรจัดการลงนิคหกรรม (ลงโทษ) พระที่ลืมคว่ำขันได้สำเร็จ
ชนะหรือครับ...เปล่าเลย เพราะฝ่ายที่ถูกลงนิคหกรรมก็ไม่แคร์
2 ฝ่ายจึงแตกกัน ต่างคนต่างอยู่ ไม่ทำสังฆกรรมร่วมกันเหมือนเคย
เรื่องไปถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงเข้ามาแก้ไข
แก้อย่างไร ?...
พระองค์ตำหนิทั้ง 2 ฝ่ายครับ
โดยตำหนิฝ่ายวินัยธรว่า อย่านึกว่าตัวฉลาด ต้องคิดด้วยว่าถ้าปรับอาบัติเขาแล้วจะทะเลาะกัน ก็ไม่ต้องไปปรับมันสิ
ส่วนชุดไม่คว่ำขัน ทรงตำหนิว่า ต่อให้ไม่ผิด แต่คนอื่นเขาเชื่อว่าผิด ถ้าการยืนกรานของเราทำให้ต้องทะเลาะกันไปใหญ่ ก็ให้ยอมรับผิดไปซะ
สรุป ตำหนิทั้งคู่ และให้ประนีประนอมกัน เพื่อความสามัคคี
เรื่องน่าจะจบด้วยดี แต่เชื่อไหมครับ พระ 2 กลุ่มนี้ก็ยังคงทะเลาะกันเหมือนเดิมต่อไป
พระองค์สอนอีกหลายครั้งก็ยังไม่ได้ผล
จนทรงใช้วิธีสุดท้าย คือ เมื่อสอนไม่ได้ก็ไม่สอนมันซะเลย
พระองค์เสด็จออกจากเมืองไปเฉย ๆ เลยครับ
พอทรงจากไป ชาวบ้านก็โวยวายละสิคราวนี้
ว่าเพราะพระพวกนี้ เราจึงไม่มีโอกาสได้เห็น ได้ฟังธรรมจากพระองค์
ชาวบ้านเริ่มรวมหัวกันเลิกใส่บาตร เลิกไหว้ ไม่ให้ความช่วยเหลืออะไรทั้งสิ้น
พระพวกนี้ก็ดิ้นสิครับ
ไอ้ที่เคยข้าก็เก่ง เอ็งก็แน่ กลายเป็นเงียบกริบ ถ้าขืนทะเลาะกันต่อไปก็อดตายละครับ
ความพยศผยองพองลมดื้อด้านก็หมดไป รีบเดินทางไปขอให้พระพุทธเจ้ายกโทษให้ตัว
เหลือเกินจริง ๆ นะครับ กว่าจะยอมลดราวาศอกกันได้ เล่นเอาวุ่นวายไปหมด
พอจะ ขำ – ขื่น กันบ้างไหมครับ
เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ คล้ายโดมิโน่
----------------------------------------------------------
กลับมาเรื่องกรณีธรรมกาย
เห็นต่างก็อย่าให้ถึงกับทะเลาะกันเลยครับ
ชาวบ้านอย่างเรา ตราบใดยังไม่หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ เผื่อใจไว้บ้างเถอะครับ ว่าสิ่งที่เราคิด เราเห็น อาจไม่ได้ถูกทั้งหมด
หนังสือกรณีธรรมกายเหมือนกัน เรื่องไหนไม่มีความรู้ ผมจะฟังหลายด้าน
เรื่องไหนพอรู้บ้าง หรือมีประสบการณ์ ผมก็อาจเห็นต่างออกไป ไม่ได้เชื่อด้วย
แต่ก็ชอบครับ
ส่วนที่ให้ความรู้ ทำให้ผมรู้เพิ่มขึ้น
ส่วนที่เป็นความเห็นหรือข้อแนะนำ ผมรับฟังด้วยความสนใจ
อย่างเรื่องนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา ผมมีความรู้แบบงู ๆ ปลา ๆ ปราชญ์ที่ไหนยกเหตุผลมาอ้างอธิบาย ผมก็เคลิ้มไปกับทั้งสองฝ่ายละครับ
บอกว่าเป็นอนัตตา ผมก็ อืม !! มีเหตุผล
บอกว่าเป็นอัตตา ผมก็ อืม !! มีเหตุผลอีกเหมือนกัน
555 เชื่อง่ายครับ
จึงไปหาอ่าน แล้วพบว่ายังมีนักวิชาการทางศาสนาเก่ง ๆ บางท่าน เห็นต่างไปก็มีครับ
เช่น ศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม (นี่ก็ปราชญ์เมืองไทยครับ) ท่านให้ความเห็นไว้ว่า (ยกมาบางส่วนนะครับ)
----------------------------------------------------------
“นิพพานอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึงนิพพานของพระอรหันต์ที่สิ้นชีพดับขันธ์แล้ว นิพพานชนิดนี้มีปัญหาถกเถียงกันมาก และถกเถียงกันมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
มีคนทูลถามพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วว่า พระอรหันต์สิ้นชีพแล้วอะไรเกิดขึ้น ท่านยังมีอยู่หรือไม่มีอยู่
ความจริงพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกก็ได้ประทานคำตอบไว้แล้วในพระไตรปิฎก แต่ถึงกระนั้น คนก็ยังถกเถียงกันอยู่
เพราะเหตุไร ?
ก็เพราะคำตอบเหล่านั้นยังไม่ชัดเจนพอ บางทีก็ตอบเชิงปฏิเสธ (Negative) ว่า นั่นก็ไม่ใช่ นี้ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่อะไรสักอย่าง บางทีก็ตอบว่า นิพพานลึกซึ้งจนพูดถึงไม่ได้ อธิบายไม่ได้
ด้วยท่าทีแบบนี้ จึงมีชาวพุทธเถรวาทเป็นอันมาก เช่น ท่านพุทธทาส เป็นต้น ยอมรับเฉพาะนิพพานทางจิตวิทยาเท่านั้น ไม่ยอมรับนิพพานที่เป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง ที่มีอยู่โดยตัวเองในเอกภพ หรือที่นักวิชาการสมัยใหม่ (ศาสตราจารย์ ดร.วิทย์ วิศทเวทย์) เรียกว่า นิพพานแบบอภิปรัชญา (Metaphysical Nirvana) ท่านเหล่านี้เชื่อว่า เมื่อพระอรหันต์สิ้นชีพ ดับขันธ์ลง ทุกสิ่งทุกอย่างก็สิ้นสุดลงแค่นั้น ชีวิตของท่านดับไป เหมือนไฟหมดเชื้อ เหมือนตาลยอดด้วน ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย
ปัญหาที่ใคร่จะพยายามตอบในบทความนี้ ก็คือว่า นิพพานแบบอภิปรัชญา มีอยู่หรือไม่
คำตอบที่ได้พบในพระไตรปิฎกเป็นแบบ ยอมรับว่ามี”
ถ้าสนใจลองไปอ่านกันดูครับ (แต่ถ้าไม่ซีเรียสจริงจัง ก็ผ่านเถอะครับ ไม่ปวดหัวดี)
[Spoil] คลิกเพื่อซ่อนข้อความ
เนื้องจาก Link ที่ลงไว้ มีบางท่านอ่านได้ บางท่านเปิดมาเจออักษรเอเลี่ยน 555 แต่มีเพื่อนสมาชิกใจดี ไปหามาแปะไว้ให้ ที่ คคห. 48-1 และ 48-2 รบกวนอ่านตรงนั้นนะครับ
http://www.oocities.org/tokyo/field/1244/interest/int06271.htm
http://www.oocities.org/tokyo/field/1244/interest/int06272.htm
----------------------------------------------------------
เรื่องอื่น ๆ ในหนังสือนอกจากนี้ ผมคงขอข้ามไป
ที่ยกมาไม่ใช่ว่าอยากให้ทะเลาะกัน แต่อยากชี้ให้เห็นว่า คนที่เห็นต่างกันมันมี
ดังนั้นสามัคคีกันดีกว่าครับ
ต่างคนต่างยังไม่ได้เห็นนิพพานอะไร ชาตินี้ก็ใช่จะไปถึง
เหมือนคนเริ่มเดินทาง แต่ทะเลาะกันเรื่องปลายทางว่าเป็นอย่างไรซะแล้ว
จุดเด่นของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่อยู่ที่ว่าให้เชื่ออะไร แต่เด่นตรงที่ให้ลงมือทำครับ
ศาสนานี้จึงเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา ไม่ต้องเชื่อ แต่ให้ทำไปจนกว่าจะเห็นด้วยตาตัวเอง
ศาสนานี้จึงให้ความสำคัญกับ “ทาง” หรือ “มรรค” หรือ “ปฏิปทา” ในระดับที่ทรงท้าว่า “เอหิปัสสิโก” เชิญมาพิสูจน์ดู
ความเห็นต่างจึงไม่ได้หมายความว่าจะอยู่ร่วมกันไม่ได้
และอย่าเพิ่งมั่นใจว่าความเข้าใจของเราถูกต้องอยู่คนเดียว
----------------------------------------------------------
ความเห็นที่ต่างกัน เหมือนเส้น 2 เส้นที่ขีดให้ยาวเท่ากันบนผืนทราย
การจะให้เส้นของฝ่ายหนึ่งยาวกว่าอีกฝ่ายหนึ่งได้ ทำได้ 2 วิธี คือ
ลบเส้นของฝ่ายตรงข้ามให้สั้นลง - หรือขีดเส้นของเราให้ยาวขึ้น
โดยส่วนตัวผมชอบวิธีหลัง มันสง่างามกว่ากันเยอะเลยครับ
ลบเส้นของเขา เส้นเราก็เท่าเดิม ไม่ได้ดีเด่อะไรขึ้นมา
----------------------------------------------------------
ผมเชื่อครับว่าทุกคน ทุกวัด อยากทำให้พระพุทธศาสนาเจริญ
ดังนั้นเมื่อมั่นใจว่าความเข้าใจของเราถูก ก็ขีดเส้นของเราให้ยาวออกไปครับ
เห็นว่านิพพานเป็นอนัตตา ก็ไปสอนโยมให้ลงมือรักษาศีล นั่งสมาธิ จนเกิดปัญญา ให้โยมเข้าถึงนิพพานอนัตตานั้น
เห็นว่าทำบุญต้องอย่าสร้างให้ใหญ่โต ต้องแล้วแต่ศรัทธา หรือจะอะไร ก็ไปฝึกโยมให้ทำบุญให้ได้อย่างที่เราคิด
ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่พูดให้เขาเชื่อ แต่อยู่ที่ฝึกให้เขาทำตามที่เราเชื่อได้สำเร็จ จนเห็นผล
แปลงสิ่งที่คุณคิดและเข้าใจ ให้เป็นรูปธรรมเถอะครับ
ชาวพุทธอีกหลายสิบล้าน รอท่านไปชวน ไปสอน ไปฝึกให้เขาทำอยู่
คนเชื่อตามแบบวัดพระธรรมกายมีไม่มาก เมื่อเทียบกับคนไทยทั้งประเทศ
ชาวพุทธที่ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าจริงจัง หรือเชื่อครึ่ง ๆ กลาง ๆ ยังดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน หมกมุ่นกับอบายมุข ศีล 5 ยังทำไม่ได้ น่าจะมีหลายสิบล้านคน
ที่ยังเชื่อเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ทรงเจ้าเข้าผี หมอดู ดวงชะตา ที่ไม่ใช่พระรัตนตรัย น่าจะอีกหลายล้านเหมือนกัน
วัดพระธรรมกาย สร้างขึ้นโดยแม่ชีอายุ 60 ปี คนหนึ่ง ที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ ยังทำได้ขนาดนี้
วัดอื่น ๆ มีพระมีโยมมีความรู้มากกว่านี้ตั้งเยอะ
ลุยเลยครับ...ผมเชียร์
----------------------------------------------------------
ขอให้สนุกสนานในการทำความดีครับ
<<... เจาะไอร้อง... >> ครั้งแรกในชีวิต แต่ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย EP.2
เก็บภาพบรรยากาศภาพในงานบุญมาให้ดูนิดหน่อยค่ะ ภาพ 1 ภาพ บอกเล่าได้มากกว่า 1000 ตัวอักษร ให้ดู 3 ภาพ ฉะนั้นบอกได้ 3000 ตัวอักษร
พวกเธอเห็นอะไรสามภาพนี้ไหม
เราเห็น...............ทหารคนนั้น ที่หันหลัง เค้ามีลักยิ้มด้วย ฮิฮิ พวกเธอไม่มีวาสนาได้เห็นหน้าเค้าหรอก
ผิดประเด็น..............เราเห็นว่าทุกคน มีหน้าที่ของตนเอง ถ้าเราแต่ละคนทำหน้าที่กันอย่างสมบูรณ์ เกื้อกูลเมตตาต่อกัน สังคมก็เป็นไปอย่างสงบสุข รู้สึกดีจัง
หลังจากงานบุญ ได้เวลาเที่ยง ที่วัดเค้าก็มีข้าวฟรีเลี้ยงที่โรงอาหารจ้า วิ่งหน้าตั้งเข้าไปเลย มีพี่ป้าน้าอา คือ ชาวบ้านทั้งนั้น มาช่วยกันทำอาหาร ตั้งแต่เตรียมงาน ตีสี่!! ยันเก็บงานเลย คือ เรามีหน้าที่ทานอย่างเดียว แม่ๆป้าๆบอกไม่ต้องล้างๆ ป้าล้างเอง ไม่ต้องเก็บโต๊ะ ลุงเก็บเอง ถนัดกว่า พริบตาเดียว ทุกอย่างถูกเก็บเรียบร้อยหมด
โห...........พูดไม่ถูกเลย ต้องพิมพ์เอาอย่างเดียว
มันคือความสามัคคี มันคืออุดมการณ์เพื่อส่วนรวม มันคือค่านิยม 12 ประการ สรุปแล้ว เราไม่ค่อยเห็นภาพแบบนี้บ่อยครั้งนัก ประทับใจการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านละแวกนั้นจริงๆค่ะ
ระหว่างการอิ่มเอมใจ และไม่ได้ช่วยอะไรเขาเลย555 แลเห็นเด็กน้อยตัวเล็ก 2 คน น้องอเล็กกับน้องเฟอร์กูสัน(นามสมมุติ) ด้วยสัญชาติญาณความสวยแบบมิสยูนิเวิร์สดักตบ ไปหยอกล้อเล่นกับหนุ่มน้อยทั้งสอง
ตัดภาพมาสู่ช่วงพูดคุย
Miss Universe: วันนี้หนูมาทำไมลูก
Kids: มากับแม่ แม่มาหุงข้าว
Miss Universe: แล้วหนูรู้ไหม ทหารมาทำไม?
Kids: มากินข้าว
Miss Universe: (หงายหลังไปแล้ว) หนูไม่เห็นความลำบากของพี่ทหารเลยใช่ไหมลูกกกกกกก (ไม่ได้พูด คิดในใจ)
และตอนแรกที่ได้ฟังเพื่อนคุยตอนแรกมา มีทั้งหมู่บ้านชาวพุทธ และชาวอิสลามอยู่ ฉันคิดในใจว่าจะอยู่ร่วมกันได้ไหม อยู่กันยังไง เพราะฉันก็เคยมีเพื่อนมุสลิม เวลาไปกินข้าวกัน เราอยากกินหมูกระทะ (จริงๆตักกุ้งกับปลาหมึกกรอบเยอะกว่า) เขาก็กินไม่ได้ ก็ต้องย้ายไปกินร้านที่เพื่อนกินได้ แล้วถ้าอยู่ร่วมกันตลอด มันจะเป็นยังไง
หลังจากงานบุญ ได้มีโอกาสคุยคนในพื้นที่ว่า ท่านเจ้าคณะจังหวัด พระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดประชุมชลธาราที่จัดงานในครั้งนี้ ท่านเป็นผู้หล่อหลอมรวมใจของ ชาวบ้าน ไม่ว่าชาวพุทธหรืออิสลาม ถ้ามีวาระสำคัญต่างๆ เช่น วันครบรอบ หรือวันสำคัญต่างๆ ก็จะมีทั้งชาวพุทธและอิสลาม มาแสดงมุฑิตาจิตกันอย่างล้นหลาม ความอบอุ่นล้นวัดกันเลยทีเดียว สรุปคือ ก็อยู่รวมกันได้นะ พระผู้ใหญ่ ก็เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน แม้จะต่างศาสนิกกันก็ตาม (สาระก็มี เห็นมั้ยหล่ะ)
ขากลับจากวัดไปที่พัก
รถวิ่ง ผ่านตลาดที่ชุมชนแถวนั้น ยังนั่งหลังกระบะเหมือนเดิม อยากถ่ายรูป เลยยกมือถือขึ้นมาถ่ายรูปด้วยความตื่นตาตื่นใจ เพื่อนรีบสะกิด ให้เอาลงก่อน คนมองแล้ว ให้ทำตัวเหมือนคนกลับบ้าน อย่าทำตัวเหมือนคนแปลกที่ คงจะเห็นฉันตื่นเต้นเกินไปรึเปล่า รึว่าสวย แต่อุตส่าห์ถ่ายมาได้ตั้ง 1 รูป
ที่พักอยู่ข้ามอำเภอ ใกล้จะค่ำแล้ว รถวิ่งเร็ว ไม่สิ รถวิ่งเร็วมาก ฉันก็กลัวจะไม่ปลอดภัย แต่เพื่อนบอกว่า มันปลอดภัยกว่าที่เราวิ่งช้า เพราะรถที่วิ่งช้า คือ รถที่เป็นเป้านิ่งได้ง่าย หมายความว่า ถ้าเขาต้องการวางระเบิดจริงๆ จะกะประมาณการกดระเบิดไม่ได้ มีสิทธิ์รอด หรือเจ็บน้อย คนที่นี่จึงขับรถเร็ว เพราะรักชีวิตของตนเอง พูดออกมายาก บรรยายด้วยภาพละกัน
พอรถถึงจุดหมาย ผมฉันแข็งจนนึกว่ารังนกอยู่บนหัว
ผ่านไปสองวัน ถึงวันที่ 13
วันนี้ถึงเวลาพักผ่อน พ่อเพื่อนอาสาเป็นไกด์พาเที่ยว พวกเราย้ายมานั่งด้านหน้ารถกันหมด เพื่อที่จะได้ฟังท่านเล่าเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับจังหวัดนี้
เขาว่า >>> ถ้าเราอยากรู้เรื่องราวการดำรงชีวิตของที่ไหน เขาว่าให้ไปดูที่ตลาด
พ่อบอกว่า>>> สัปดาห์ที่แล้ว ผู้ก่อการร้ายก็เพิ่งระเบิดตลาดนอกเมืองไป 555 ##พ่อเป็นคนตลก แต่ตลาดบาเละฮิเลในเมืองที่พ่อพาขับรถผ่าน พ่อบอกว่าที่นี่ไม่มีระเบิดอย่างแน่นอน เขาบอกปลอดภัย ไม่บอกหรอกว่าทำไม
ไปถึงหาดนราทัศน์ สถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของนราธิวาส (ยืมรูปจากเน็ตจ่ะ ถ่ายเองไม่สวยขนาดนี้)
หาดทรายขาว ยาวสุดลูกหูลูกตา มีรถม้าแคระคอยบริการนักท่องเที่ยวที่อยากชมหาดแบบไม่ต้องเดิน รอบละ 30 บาท
ฉันเดินไป และก้มลงเอาสองมือช้อนทรายขึ้นมา แทบอยากเอามีทาบอก ย่อเข่า แล้วอุทานถึงความอัศจรรย์ ทรายขาวละเอียดนุ่มมือมาก เหมือนพริกไทย
และที่อัศจรรย์ยิ่งกว่านั้น เพื่อนก็ก้มลงมาด้วย ทำให้ทรายเข้าตา --! 555 เสียบรรยากาศหมด
ลมพัดเย็น แต่ไม่กล้าเดินลงไปเล่นน้ำ เพราะชาวบ้านนั่งกันเป็นครอบครัว แต่งตัวเรียบร้อยกันมากๆ (ก็ตามหลักศาสนาเค้ามั้ยหล่ะเธอ) มีแต่นั่งเล่นถ่ายรูปกัน ไม่เห็นใครเขาเล่นน้ำกัน เลยได้แต่เดินเล่นเก็บบรรยากาศ ถ่ายรูปสวยๆ (ไม่ให้เห็นหน้าหรอก เดี๋ยวหลังไมค์มาจีบ)
ที่นี่ไม่มีเก้าอี้ชายหาดเลย แต่ก็ไม่ได้ต่างกับที่เคยเที่ยวทะเลมาเท่าไหร่ เพราะมีขยะตามชายหาดบ้างประปราย มีเพิงขายของรอบๆ ซึ่งอาจจะทำลายความสวยงามไปบ้าง ถ้าเรามองข้ามก็คงไม่กลบความสวยงามตามธรรมชาติได้ แต่ถ้ามากกว่านี้ก็ไม่แน่ ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นเลย (พูดสั้นๆว่าเป็นแค่คหสต.ข.จขกท.นะคะ อย่าว่าเค้านะ)
กลับจากหาด ฤกษ์งามยามดี ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่เพื่อนอีกอำเภอ ซึ่งก็คืออำเภอคือเจาะไอร้อง
เรียกคุณอา ตามเพื่อนละกันนะคะ ถึงแกจะแก่ก็เถอะ ถามอาว่า เป็นยังไงบ้าง คุยนู่นนี่นั่นตามประสาคนเพิ่งเคยเห็นหน้ากัน สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้นไหม มีเหตุการณ์ตั้งหลายปีแล้ว (เอาเท่าที่จำได้นะคะ)
อาบอกว่า มันอันตราย จนไม่รู้สึกว่ามันอันตรายแล้ว อาว่าที่นี่ยังปลอดภัย ยะลาอันตรายกว่านะ (นี่ปลอดภัยแล้วหรือ ฮือ)
แต่ก็ไม่เข้าใจว่า “เขาไม่คิดจะแก้ปัญหาให้มันยั่งยืนกว่านี้แล้วหรือ”
ส่งทหารมาประจำการเป็นชุดๆ พอหมดกะ ใครรอดก็กลับ ใครไม่รอดก็มีเงินเกื้อหนุน เดี๋ยวชุดใหม่ก็มา ทหารเขาก็ทำหน้าที่ตัวเองกันไป อาว่ามันเป็นเรื่องของงบประมาณ ที่ไม่จัดการให้สงบเด็ดขาด มันก็มีคนได้ประโยชน์ จะได้งบประมาณเยอะๆนี่แหละ พวกคนใหญ่คนโต @#@!!<@#!><
ทำไมไม่แก้ปัญหาให้ยั่งยืน เมื่อก่อนมันมีการตั้งนิคม ให้คนมาอยู่ ให้มีอาชีพ ให้ที่ดินทำกิน มีคนคอยช่วยคุ้มครอง ผ่านไปห้าปีหกปี คนจะอยู่ในพื้นที่ได้คุ้นชินเอง มันจะได้ขยายพื้นที่ปลอดภัย ตอนนี้ใครพอรวยหน่อยก็หนีไปที่อื่น คนพื้นเพก็น้อยลงทุกทีๆแล้ว @#@!!<@#!>< ตอนนี้การการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่มีวันจบหรอก @#@#@$#%#$^2
อาบอกอีกว่า คนที่อารู้จักก็ยังเคยเจอความรุนแรงมาแล้ว ท่านเจ้าอาวาสวัด...เค้าลืม เค้าขอโทษ ท่านเพิ่งมาประจำวัดใหม่ๆ ท่านก็เอาเลย เปิดสวดมนต์เสียงตามสาย ทีนี้ มีผู้ไม่หวังดีมาเตือนท่าน ว่าช่วยปิดเสียงหน่อย มาใหม่ อย่ามารบกวนคนแถวนี้
ท่านเจ้าอาวาส ก็ไม่สนใจ สองวันต่อมา มีระเบิดมาวางไว้ที่ถังขยะหน้าวัด แต่สะเก็ดระเบิดทะลุขาท่าน จากอีกด้านหนึ่ง ไปอีกด้านหนึ่ง เวลาล้างแผลก็ต้องเอาไม้พันสำลีใส่ยา ทำความสะอาดรู กลวง ใน ขา กว่าแผลจะปิดสนิท.......................
วันนั้น ต้องไปส่งเพื่อนคุณพ่อที่สนามบินในเมือง เลยเวลามาแล้ว ก็ขอตัวกลับก่อน ไม่งั้นคงจะมีเรื่องราวมาเล่ามากกว่านี้ ก่อนกลับก็ยังไม่ลืมให้ศีลให้พรอา เอ๊ย อวยพรให้คุณอาอยู่ที่นี่อย่างปลอดภัยด้วยนะคะ อย่าให้หน้าหนังสือพิมพ์ออกข่าวผู้เคราะห์ร้ายคืออาเลย
หลังจากเราไปสนามบิน ก็กลับที่พักกัน หลังอาบน้ำแต่งตัวเสร็จ เพื่อนนั่งเล่นไลน์อยู่ เพื่อนก็เงยหน้ามาถามเราว่า รู้ไหมว่าวันนี้วันอะไร
ฉัน>>ฮื่อ (สายหัว) ดีที่พวกเรากลับมาจากทางนั้นก่อนน่ะ ไม่งั้นคนที่เป็นข่าวในไลน์อาจจะเป็นเราก็ได้ วันนี้วันที่ 13 มี.ค......มีข่าวใหญ่



พวกเธอเห็นอะไรสามภาพนี้ไหม
เราเห็น...............ทหารคนนั้น ที่หันหลัง เค้ามีลักยิ้มด้วย ฮิฮิ พวกเธอไม่มีวาสนาได้เห็นหน้าเค้าหรอก
ผิดประเด็น..............เราเห็นว่าทุกคน มีหน้าที่ของตนเอง ถ้าเราแต่ละคนทำหน้าที่กันอย่างสมบูรณ์ เกื้อกูลเมตตาต่อกัน สังคมก็เป็นไปอย่างสงบสุข รู้สึกดีจัง
หลังจากงานบุญ ได้เวลาเที่ยง ที่วัดเค้าก็มีข้าวฟรีเลี้ยงที่โรงอาหารจ้า วิ่งหน้าตั้งเข้าไปเลย มีพี่ป้าน้าอา คือ ชาวบ้านทั้งนั้น มาช่วยกันทำอาหาร ตั้งแต่เตรียมงาน ตีสี่!! ยันเก็บงานเลย คือ เรามีหน้าที่ทานอย่างเดียว แม่ๆป้าๆบอกไม่ต้องล้างๆ ป้าล้างเอง ไม่ต้องเก็บโต๊ะ ลุงเก็บเอง ถนัดกว่า พริบตาเดียว ทุกอย่างถูกเก็บเรียบร้อยหมด


โห...........พูดไม่ถูกเลย ต้องพิมพ์เอาอย่างเดียว
มันคือความสามัคคี มันคืออุดมการณ์เพื่อส่วนรวม มันคือค่านิยม 12 ประการ สรุปแล้ว เราไม่ค่อยเห็นภาพแบบนี้บ่อยครั้งนัก ประทับใจการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านละแวกนั้นจริงๆค่ะ
ระหว่างการอิ่มเอมใจ และไม่ได้ช่วยอะไรเขาเลย555 แลเห็นเด็กน้อยตัวเล็ก 2 คน น้องอเล็กกับน้องเฟอร์กูสัน(นามสมมุติ) ด้วยสัญชาติญาณความสวยแบบมิสยูนิเวิร์สดักตบ ไปหยอกล้อเล่นกับหนุ่มน้อยทั้งสอง

ตัดภาพมาสู่ช่วงพูดคุย
Miss Universe: วันนี้หนูมาทำไมลูก
Kids: มากับแม่ แม่มาหุงข้าว
Miss Universe: แล้วหนูรู้ไหม ทหารมาทำไม?
Kids: มากินข้าว
Miss Universe: (หงายหลังไปแล้ว) หนูไม่เห็นความลำบากของพี่ทหารเลยใช่ไหมลูกกกกกกก (ไม่ได้พูด คิดในใจ)
และตอนแรกที่ได้ฟังเพื่อนคุยตอนแรกมา มีทั้งหมู่บ้านชาวพุทธ และชาวอิสลามอยู่ ฉันคิดในใจว่าจะอยู่ร่วมกันได้ไหม อยู่กันยังไง เพราะฉันก็เคยมีเพื่อนมุสลิม เวลาไปกินข้าวกัน เราอยากกินหมูกระทะ (จริงๆตักกุ้งกับปลาหมึกกรอบเยอะกว่า) เขาก็กินไม่ได้ ก็ต้องย้ายไปกินร้านที่เพื่อนกินได้ แล้วถ้าอยู่ร่วมกันตลอด มันจะเป็นยังไง
หลังจากงานบุญ ได้มีโอกาสคุยคนในพื้นที่ว่า ท่านเจ้าคณะจังหวัด พระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดประชุมชลธาราที่จัดงานในครั้งนี้ ท่านเป็นผู้หล่อหลอมรวมใจของ ชาวบ้าน ไม่ว่าชาวพุทธหรืออิสลาม ถ้ามีวาระสำคัญต่างๆ เช่น วันครบรอบ หรือวันสำคัญต่างๆ ก็จะมีทั้งชาวพุทธและอิสลาม มาแสดงมุฑิตาจิตกันอย่างล้นหลาม ความอบอุ่นล้นวัดกันเลยทีเดียว สรุปคือ ก็อยู่รวมกันได้นะ พระผู้ใหญ่ ก็เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน แม้จะต่างศาสนิกกันก็ตาม (สาระก็มี เห็นมั้ยหล่ะ)


ขากลับจากวัดไปที่พัก
รถวิ่ง ผ่านตลาดที่ชุมชนแถวนั้น ยังนั่งหลังกระบะเหมือนเดิม อยากถ่ายรูป เลยยกมือถือขึ้นมาถ่ายรูปด้วยความตื่นตาตื่นใจ เพื่อนรีบสะกิด ให้เอาลงก่อน คนมองแล้ว ให้ทำตัวเหมือนคนกลับบ้าน อย่าทำตัวเหมือนคนแปลกที่ คงจะเห็นฉันตื่นเต้นเกินไปรึเปล่า รึว่าสวย แต่อุตส่าห์ถ่ายมาได้ตั้ง 1 รูป

(ทำไมแค่เห็นคนขับมอไซด์ใส่หมวกกันน็อก แล้วยังผวาเลย ชั้นวางใจใครไม่ได้ทั้งนั้น)
ที่พักอยู่ข้ามอำเภอ ใกล้จะค่ำแล้ว รถวิ่งเร็ว ไม่สิ รถวิ่งเร็วมาก ฉันก็กลัวจะไม่ปลอดภัย แต่เพื่อนบอกว่า มันปลอดภัยกว่าที่เราวิ่งช้า เพราะรถที่วิ่งช้า คือ รถที่เป็นเป้านิ่งได้ง่าย หมายความว่า ถ้าเขาต้องการวางระเบิดจริงๆ จะกะประมาณการกดระเบิดไม่ได้ มีสิทธิ์รอด หรือเจ็บน้อย คนที่นี่จึงขับรถเร็ว เพราะรักชีวิตของตนเอง พูดออกมายาก บรรยายด้วยภาพละกัน

พอรถถึงจุดหมาย ผมฉันแข็งจนนึกว่ารังนกอยู่บนหัว
ผ่านไปสองวัน ถึงวันที่ 13
วันนี้ถึงเวลาพักผ่อน พ่อเพื่อนอาสาเป็นไกด์พาเที่ยว พวกเราย้ายมานั่งด้านหน้ารถกันหมด เพื่อที่จะได้ฟังท่านเล่าเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับจังหวัดนี้
เขาว่า >>> ถ้าเราอยากรู้เรื่องราวการดำรงชีวิตของที่ไหน เขาว่าให้ไปดูที่ตลาด
พ่อบอกว่า>>> สัปดาห์ที่แล้ว ผู้ก่อการร้ายก็เพิ่งระเบิดตลาดนอกเมืองไป 555 ##พ่อเป็นคนตลก แต่ตลาดบาเละฮิเลในเมืองที่พ่อพาขับรถผ่าน พ่อบอกว่าที่นี่ไม่มีระเบิดอย่างแน่นอน เขาบอกปลอดภัย ไม่บอกหรอกว่าทำไม

ไปถึงหาดนราทัศน์ สถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของนราธิวาส (ยืมรูปจากเน็ตจ่ะ ถ่ายเองไม่สวยขนาดนี้)

หาดทรายขาว ยาวสุดลูกหูลูกตา มีรถม้าแคระคอยบริการนักท่องเที่ยวที่อยากชมหาดแบบไม่ต้องเดิน รอบละ 30 บาท

ฉันเดินไป และก้มลงเอาสองมือช้อนทรายขึ้นมา แทบอยากเอามีทาบอก ย่อเข่า แล้วอุทานถึงความอัศจรรย์ ทรายขาวละเอียดนุ่มมือมาก เหมือนพริกไทย

และที่อัศจรรย์ยิ่งกว่านั้น เพื่อนก็ก้มลงมาด้วย ทำให้ทรายเข้าตา --! 555 เสียบรรยากาศหมด
ลมพัดเย็น แต่ไม่กล้าเดินลงไปเล่นน้ำ เพราะชาวบ้านนั่งกันเป็นครอบครัว แต่งตัวเรียบร้อยกันมากๆ (ก็ตามหลักศาสนาเค้ามั้ยหล่ะเธอ) มีแต่นั่งเล่นถ่ายรูปกัน ไม่เห็นใครเขาเล่นน้ำกัน เลยได้แต่เดินเล่นเก็บบรรยากาศ ถ่ายรูปสวยๆ (ไม่ให้เห็นหน้าหรอก เดี๋ยวหลังไมค์มาจีบ)

ที่นี่ไม่มีเก้าอี้ชายหาดเลย แต่ก็ไม่ได้ต่างกับที่เคยเที่ยวทะเลมาเท่าไหร่ เพราะมีขยะตามชายหาดบ้างประปราย มีเพิงขายของรอบๆ ซึ่งอาจจะทำลายความสวยงามไปบ้าง ถ้าเรามองข้ามก็คงไม่กลบความสวยงามตามธรรมชาติได้ แต่ถ้ามากกว่านี้ก็ไม่แน่ ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นเลย (พูดสั้นๆว่าเป็นแค่คหสต.ข.จขกท.นะคะ อย่าว่าเค้านะ)


กลับจากหาด ฤกษ์งามยามดี ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่เพื่อนอีกอำเภอ ซึ่งก็คืออำเภอคือเจาะไอร้อง
เรียกคุณอา ตามเพื่อนละกันนะคะ ถึงแกจะแก่ก็เถอะ ถามอาว่า เป็นยังไงบ้าง คุยนู่นนี่นั่นตามประสาคนเพิ่งเคยเห็นหน้ากัน สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้นไหม มีเหตุการณ์ตั้งหลายปีแล้ว (เอาเท่าที่จำได้นะคะ)
อาบอกว่า มันอันตราย จนไม่รู้สึกว่ามันอันตรายแล้ว อาว่าที่นี่ยังปลอดภัย ยะลาอันตรายกว่านะ (นี่ปลอดภัยแล้วหรือ ฮือ)
แต่ก็ไม่เข้าใจว่า “เขาไม่คิดจะแก้ปัญหาให้มันยั่งยืนกว่านี้แล้วหรือ”
ส่งทหารมาประจำการเป็นชุดๆ พอหมดกะ ใครรอดก็กลับ ใครไม่รอดก็มีเงินเกื้อหนุน เดี๋ยวชุดใหม่ก็มา ทหารเขาก็ทำหน้าที่ตัวเองกันไป อาว่ามันเป็นเรื่องของงบประมาณ ที่ไม่จัดการให้สงบเด็ดขาด มันก็มีคนได้ประโยชน์ จะได้งบประมาณเยอะๆนี่แหละ พวกคนใหญ่คนโต @#@!!<@#!><
ทำไมไม่แก้ปัญหาให้ยั่งยืน เมื่อก่อนมันมีการตั้งนิคม ให้คนมาอยู่ ให้มีอาชีพ ให้ที่ดินทำกิน มีคนคอยช่วยคุ้มครอง ผ่านไปห้าปีหกปี คนจะอยู่ในพื้นที่ได้คุ้นชินเอง มันจะได้ขยายพื้นที่ปลอดภัย ตอนนี้ใครพอรวยหน่อยก็หนีไปที่อื่น คนพื้นเพก็น้อยลงทุกทีๆแล้ว @#@!!<@#!>< ตอนนี้การการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่มีวันจบหรอก @#@#@$#%#$^2

(พอ ดี งาน ยุ่ง ไม่ ว่าง พา อา ไป ปรับ ทัด สะ นะ คะ ติ นะคะ)
อาบอกอีกว่า คนที่อารู้จักก็ยังเคยเจอความรุนแรงมาแล้ว ท่านเจ้าอาวาสวัด...เค้าลืม เค้าขอโทษ ท่านเพิ่งมาประจำวัดใหม่ๆ ท่านก็เอาเลย เปิดสวดมนต์เสียงตามสาย ทีนี้ มีผู้ไม่หวังดีมาเตือนท่าน ว่าช่วยปิดเสียงหน่อย มาใหม่ อย่ามารบกวนคนแถวนี้
ท่านเจ้าอาวาส ก็ไม่สนใจ สองวันต่อมา มีระเบิดมาวางไว้ที่ถังขยะหน้าวัด แต่สะเก็ดระเบิดทะลุขาท่าน จากอีกด้านหนึ่ง ไปอีกด้านหนึ่ง เวลาล้างแผลก็ต้องเอาไม้พันสำลีใส่ยา ทำความสะอาดรู กลวง ใน ขา กว่าแผลจะปิดสนิท.......................

วันนั้น ต้องไปส่งเพื่อนคุณพ่อที่สนามบินในเมือง เลยเวลามาแล้ว ก็ขอตัวกลับก่อน ไม่งั้นคงจะมีเรื่องราวมาเล่ามากกว่านี้ ก่อนกลับก็ยังไม่ลืมให้ศีลให้พรอา เอ๊ย อวยพรให้คุณอาอยู่ที่นี่อย่างปลอดภัยด้วยนะคะ อย่าให้หน้าหนังสือพิมพ์ออกข่าวผู้เคราะห์ร้ายคืออาเลย
หลังจากเราไปสนามบิน ก็กลับที่พักกัน หลังอาบน้ำแต่งตัวเสร็จ เพื่อนนั่งเล่นไลน์อยู่ เพื่อนก็เงยหน้ามาถามเราว่า รู้ไหมว่าวันนี้วันอะไร
ฉัน>>ฮื่อ (สายหัว) ดีที่พวกเรากลับมาจากทางนั้นก่อนน่ะ ไม่งั้นคนที่เป็นข่าวในไลน์อาจจะเป็นเราก็ได้ วันนี้วันที่ 13 มี.ค......มีข่าวใหญ่
<<... เจาะไอร้อง... >> ครั้งแรกในชีวิต แต่ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย EP.1
"โอ้โอ ปักษ์ใต้บ้านเรา มีน้ำภูเขา ทะเลกว้างไกล จะไปไหน กลับใต้บ้านเรา"
กราบสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านอย่างเป็นทางการ และขอฝากตัวไว้กับกระทู้แรกนี้ด้วยนะคะ
วันนี้ผู้เขียนจะมาเล่าเรื่องราว การไปเยือนภาคใต้เป็นครั้งแรก แบบ exclusive กว่าที่ไหนๆ อย่าคิดว่าจะได้ไปถ่ายรูปสวยๆทีเกาะตาชัย check in เก๋ๆที่หลีเป๊ะ หรืออัพ IG ที่สิมิลัน เพราะที่จับผลัดจับผลู ได้ไปไม่รู้ตัว นั่นก็คือ หนึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ นราธิวาส จังหวัดที่หลายๆคนยังเกรงใจ ถ้าให้เลือกไปขอบายดีกว่า อยากบอกเลยว่า ผู้เขียนไปสัมผัสมาแล้ว แอบพูดดังๆเลยว่า
"ชีวิตมันต้องมีสักครั้งจริงๆค่ะ"
ช่ายังไม่อยากตายนะ!!!(ติช่าก็มาด้วย) แต่เหมือนองค์แม่จะดลใจ
ฉันตอบตกลงไปอย่างเสียไม่ได้ แล้วเพื่อนก็ทำการจองตั๋วเครื่องบินทันที
มันบอกอีกว่าไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัย
พ่อของเพื่อนอีกคนเป็นคนในพื้นที่ สบายอยู่แล้ว ทางหนีที่ไล่พร้อม
(มันเชิญชวนพร้อมคำโปรย ซึ่งทำให้ฉันร้องไห้หนักมาก) แต่ทำไงได้
เสียชีพอย่าเสียสัตย์ เสียเข็มขัดอย่าเสียกางเกง ไปก็ไปว๊ะ!!

คืนก่อนจะไป ฉันนอนอย่างกระสับกระส่าย อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เคยได้ยินแต่ข่าวเหตุการณ์ความรุนแรง ไม่รู้ว่าเราจะเอาชีวิตไปทิ้งไว้ที่นั่นหรือเปล่า 555 ตื่นขึ้นมา ฉันเหมือนหมีแพนด้า เก็บกระเป๋าเสร็จ เราทั้งหมด 3 คน เดินทางไปขึ้นเครื่องที่สุวรรณภูมิ การเดินทางค่อนข้างฉุกละหุก เพราะวิ่งขึ้นเครื่องแทบไม่ทัน แต่ขึ้นเครื่องไปแล้ว ยิ้มได้สมชื่อ Thai Smile แอร์โฮสเตสสวยระดับนานาชาติ คนหนึ่งเหมือนไอดอลเกาหลี อีกคนสวยคมเหมือนแขกขาว ดีที่เจ้าของกระทู้คล้ายมิสยูนิเวอร์ส สวยตีคู่กันมา เลยไม่รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเท่าไหร่ (ติ่งหูคล้าย555) แอร์น่ารัก สอนการใช้อุปกรณ์ก็น่ารักเหมือนหลีดจุฬาฯ ดูแล้วเพลินตาดี


อาหารบนเครื่อง เป็นขนมปังอะไรไม่รู้ อุ่นร้อนๆ ไส้เหมือนแกง เนื้อหมูเนื้อไก่อะไร ไม่เห็นใส่มาเลย มีแต่ผัก แต่ก็อร่อยดีค่ะ
พอเครื่องใกล้จะลง มองออกไปนอกหน้าต่าง คุณพระคุณเจ้าช่วย!!! มองเห็นทะเลก่อนเครื่องลง บอกเลยว่าสวยมากๆ รู้แล้วว่าทำไม แอร์ถึงสอนการใช้เสื้อชูชีพนานจัง เผื่อland ลงทะเลแหละแก!!! บ้า เค้าให้ดูความสวยงามที่ธรรมชาติรังสรรค์เถอะ สนามบินที่นี่ติดทะเลค่ะ ไม่ได้เป็นแห่งเดียวที่ติดทะเล มีที่อื่นอีก มันคือความ contrast ที่สวยมากๆๆๆๆ ขอใช้รูปจากเน็ต เพราะไม่ได้นั่งติดหน้าต่าง ถ่ายไม่ทัน

เมื่อเท้าแตะเมืองนราธิวาส

ถึงสนามบินนราธิวาส พ่อเพื่อนมารับ พวกเราขอนั่งกระบะหลัง(แบบมีหลังคา) เพื่อสูดอากาศและสัมผัสเมืองนราให้เต็มที่ การเดินทางไปที่พัก ใช้เวลานาน เพื่อนเลยเล่าให้ฟังเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับที่นี่ ระหว่างทางสังเกตเห็นว่านราธิวาสเป็นจังหวัดที่คงความสวยงามของธรรมชาติไว้ ได้มาก มีต้นไม้เขียวสองข้างทาง บ้านชาวบ้านก็แบบดั้งเดิม มีปั๊มน้ำมันหลอดอยู่เลย[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ถามว่าร้อนเหมือนกรุงเทพฯไหม ก็ร้อนน่ะ แต่มีความชุ่มชื้นจากต้นไม้มาแทน ทำให้รู้สึกสบายตัว เหมือนมีมอยเจอร์ไรเซอร์เคลือบผิวของชั้นอยู่เสมอ



แต่นั่งรถไปเรื่อยๆ เอ๊ะ!ทำไม มีกลิ่นแปลกๆ เกือบจะหอมล่ะ เพียงแต่เหม็นมากกว่า เพื่อนคนใต้ช่วยอธิบาย คือกลิ่นยาง เพราะคนแถวนี้เขาปลูกยางกันเยอะ ช่วงนี้เรียกว่าช่วงแบงค์ร้อย เพราะว่าใบต้นยางจะเปลี่ยนเป็นสีแดง จะผลัดใบ ฤดูนี้ไม่ควรกรีดยาง ต้นยางจะตายเร็ว แต่บางคนก็กรีด เนื่องจากราคายางช่วงนี้ไม่สูงนัก ไม่กรีด ก็ไม่มีกิน

มองไปสองข้างทาง เห็นชาวบ้านบ้างประปราย แต่มีกลิ่นอายของชาวบ้านมุสลิมและวัฒนธรรมอิสลามอยู่เนืองๆ สังเกตได้จากสวมฮิญาบ นั่งรถไปเรื่อยๆ (เข้าเมือง) จะเจอทหาร ทุกๆระยะ ประมาณ 200 เมตร รถวิ่งไปสักพัก ก็ต้องชะลอตัว เพราะทหารตั้งด่าน ซ้ายขวา

เพื่อนเล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านจะมีชาวไทยพุทธและมุสลิม บางพื้นที่อยู่รวมกัน บางพื้นที่อยู่แยกกันเป็นหมู่บ้าน แบบยังไม่ต้องเจอชาวบ้านก็สังเกตได้ว่า หมู่บ้านไหนไทยพุทธ หมู่บ้านไหนมุสลิม สิ่งนั้นก็คือ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ระหว่างทางก็สังเกตได้อีกอย่างหนึ่ง คือ จากที่มีการตั้งด่านเป็นจุดๆแล้ว ส่วนใหญ่ที่ที่มีแนวป้องกันคือวัด ซึ่งจะมีลวดหน้าอยู่รอบๆกำแพง ซึ่งบ่งบอกว่า >> วัดนี้มีกองกำลังทหารคอยคุ้มครองอยู่ จะได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง ทหารก็ได้ดูแลพระและชาวบ้าน ส่วนทหารก็มีที่พักด้วย ไม่น่าเชื่อ คือมันเป็นการผสมผสานที่แตกต่าง แต่ อบอุ่น แต่ฉันก็แอบใจหวิวๆหน่อย ว่ามันเกิดเหตุรุนแรงมากขนาดนั้นเลยหรือ แล้วฉันจะรอดกลับไปไหม เท่าที่เพื่อนรู้และเล่าให้ฟังก็บอกว่า เป็นโดยพื้นที่มากกว่า ถ้าพื้นที่รุนแรง ก็จะมีทั้งทหาร และอาสาสมัครชาวบ้านมาช่วยเข้าเวร คอยดูแลยามค่ำคืนด้วย ฉันเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง แต่จะมาพิสูจน์กันในระยะเวลาที่อยู่นราธิวาสนี่แหละ

วันที่ 12
ตื่นแต่เช้ามาร่วมงานถวายสังฆทาน 323 วัด ที่วัดประชุมชลธารา อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส นอกจากจะมีคณะสงฆ์ ซึ่งท่านมารับสังฆทานมากมายแล้ว (จีวรหลากสีมาก) ยังมีกองกำลังทหารตำรวจ มาคอยเฝ้าทั้งหน้าวัด และภายในวัดอีกด้วย ช่างเป็นงานบุญที่ตื่นเต้นเหลือเกิน ให้ตายสิ !!! 555 พระถือบาตร ทหารถือปืน ในวัดอย่างกับงานกีฬาสี ทีมส้ม(พระ) ทีมเขียว(ทหาร ตำรวจ) ทีมขาว(คนมาร่วมงาน) พอเสร็จพิธี ก็มีการนำของตักบาตร มาแจกจ่ายให้ตัวแทนวัดต่างๆรับไป จากการสอบถามว่า มาจัดครั้งแรก ของที่นี่ แต่ครั้งก่อน ก็จัดที่วัดอื่นๆ ซึ่งก็อยู่ภายใน 3 จังหวัดนี่แหละ


งานบุญครั้งนี้ รู้สึกแปลกตา เพราะไม่เคยเห็นทหาร มาช่วยดูแลมาก่อน ด้วยสายตาดี เห็นรถทหาร อยู่ภายในวัด คนสวยย่อมต้องอยากเซลฟี่กับของแปลก เลยไปด้อมๆมองๆ ถ่ายรูป ลองลูบรถ และเคาะๆดู รถหนามาก เพราะเสียงไม่ก้องเลย มีพี่ทหารที่อยู่แถวนั้นพอดี เราเลยได้โอกาสเลียบๆเคียงๆ ถามสารทุกข์สุขดิบ เผื่อคนไทยทั้งประเทศด้วยเลย #เหมือนคุณหนูน้อยบอกเลย สวยแล้วยังมีน้ำใจอีก

(ยูนิฟอร์มนี้ เรียกว่าชุดทหารพราน
ในใจลึกๆแล้ว คิดว่า อาวุธในตัวพี่นี่ ก่อสงครามกลางเมืองได้เลยน่ะ
นี่เรามางานบุญนะคะพี่ จะครบไปไหน)
พี่ทหารบอกว่า “อยู่ที่นี่ ไม่ได้กลัว ถ้าคนจะตายยังไงก็ตาย พื้นที่ตรงนี้(ในเมืองสุไหงปาดี) ยังไม่ค่อยรุนแรงเท่าไหร่ ที่รุนแรงจะเป็นรอบนอกมากกว่า เห็นรถทหารแข็งแรงๆแบบน่ะ มีกระจกกันกระสุนรอบคัน เรียกว่ารับลูกกระสุนได้โดยไม่สะเทือน
“แล้วระเบิดก็ไม่สะเทือนใช่ไหมพี่” พี่ทหารตอบ “ไม่รอดครับ ไปทั้งคัน”
“การเดินทางจะต้องค่อนข้างต้องระมัดระวัง ฟ้ามืดเป็นช่วงเวลาที่น่ากลัวของที่นี่ ไม่จำเป็นจะไม่ออกนอกบ้านกันหรอก ยิ่งถ้าเป็นระดับผู้หลักผู้ใหญ่ ยิ่งจะต้องระวังตัวเอง ด้วยวิธีต่างๆ เช่น เดินทางโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ฯลฯ และเดี๋ยวนี้ยุทธวิธีของเหล่าผู้ก่อการร้าย ก็มาในรูปแบบใหม่ๆขึ้นเรื่อยๆ มีการฝังลูกระเบิดใต้ถนน”
“หา!!! เจาะถนนไม่ง่ายมั้งพี่ เห็นก็รู้แล้ว ”
“ ไม่สิน้อง!! เค้าใช้วิธีขุด พื้นดินด้านข้าง ค่อยๆขุดๆ ไปเรื่อยๆ หลายวัน หลายสัปดาห์ จนสามารถเอาลูกระเบิดมาฝังได้ ที่เหลือก็แค่ต่อสายไฟ จุดระเบิด บึ้มมม ได้ง่ายๆ คนพวกนี้ เค้าอดทน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
บางครั้งฝังไว้หลายเดือน แล้วค่อยมาจุดก็มี บางครั้ง ฝังไว้จนลืม เจ้าหน้าที่ก็สามารถมาเก็บกู้ได้ก่อน”
ซึ่งระเบิดก็มีการพัฒนาความอันตรายไปอีกขั้นเหมือนกัน แต่ขอไม่เปิดเผยข้อมูลตรงนี้ละกัน เดี๋ยวเป็นภัยต่อความมั่นคง สงสารแต่เจ้าหน้าที่ที่ต้องเสียสละชีวิตตรงนี้ บ่อยครั้ง ที่มีการปะทะกันในพื้นที่ตรงๆ ซึ่งในแต่ละครั้ง จะมีสูตรสำเร็จ 3 อย่าง คือ

(อุตส่าห์แต่งใส่รูปน่ารักให้น่ะ จะได้บอกได้เลยว่า ไม่ใช่คนจริงๆ)
แต่ข้อมูลก่อนหน้าก็ไม่ได้โหดร้ายจนเกินไป เพราะพี่ทหารให้ท่องคาถา ระวัง 3 อย่าง คือ

1. ถังขยะ (ไว้ซุกซ่อนระเบิด)
2. รถเก่า (ไว้ทำคาร์บอมม์)
3. รถทหาร (เป็นเป้าโจมตีของผู้ก่อการร้าย)
###ส่วนทริปแห่งความทรงจำนี้ จะเป็นยังไงต่อไป ขอบอกว่ามีเรื่องให้ตื่นเต้นอีกแน่นอน ผู้เขียนขอค่อยๆเรียบเรียงก่อน โปรดติดตามต่อกระทู้หน้านะคะ
+++ ขอกำลังใจ กดบวกให้เค้าด้วยน่ะ
***แก้ไขเรื่องสนามบินแห่งเดียวที่ติดทะเลแล้วนะคะ เค้าผิดเอง เค้าขอโทษ
ความไม่ชอบมาพากลของคดีวัดพระธรรมกาย
ทำไมถึงมาเร่งทำคดีของวัดพระธรรมกาย
1. เงินสหกรณ์หลายพันล้าน ถูกบริจาคไปตั้งหลายองค์กร เช่น สภากาชาด เป็นต้นแต่ DSI มาตามเงินคืนที่วัดพระธรรมกายที่เดียว แถมยังยัดข้อหายักยอกทรัพย์ ฟอกเงิน รับของโจรอีกด้วย ทำไมไม่ตั้งข้อหารับของโจรกับองค์กรอื่นบ้างทำไมเจาะจงแต่วัดพระธรรมกาย
2. เงินที่บริจาคให้วัดนั้น วัดไม่สามารถคืนให้ได้ เพราะผิดกฎหมาย แต่ลูกศิษย์วัดก็แสดงความมีน้ำใจต่อสหกรณ์ ด้วยการตั้งกองทุนเยียวยา 600 ล้าน
เพื่อช่วยให้สหกรณ์ไม่ล้มละลาย สมาชิกอีก 5 หมื่นคนจะได้ไม่เดือดร้อนทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือก็ได้ในเมื่อเจ้าทุกข์คือสหกรณ์แจ้งไปทาง DSI
และอัยการ ให้ถอนฟ้องส่วนของวัดพระธรรมกายแล้ว ทำไมถึงยังดึงดันจะดำเนินคดีให้ได้ ทั้งที่คู่กรณีตกลงไกล่เกลี่ยกันเองได้แล้ว
3. เงินสหกรณ์ที่ DSI สันนิษฐานว่าเสียหายไป 12,000 ล้าน วัดพระธรรมกายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินดังกล่าว อย่าใช้วิธีตามหาเงินคืนไม่ได้
ก็มายัดข้อหาฟอกเงินให้วัดพระธรรมกาย
4. คดีเงินสหกรณ์ที่หายไปเป็นพันล้านนั้น ถูกแบ่งย่อยเป็นหลายร้อยคดี ต่างกรรมต่างวาระกัน วัดพระธรรมกายเป็นเพียง 1 ใน หลายร้อยคดีเท่านั้น
และจัดเป็นคดีที่อยู่เกือบลำดับสุดท้าย ทำไมถึงมาเร่งทำคดีของวัดพระธรรมกายก่อน
5. ตามหลักการแล้ว การจะตั้งข้อหาใครว่ารับของโจรกับฟอกเงิน จะต้องมีหลักฐานและพยานก่อน แต่ทำไม DSI กลับออกหมายเรียก โดยไม่มีการตั้งข้อหาโดยไม่มีหลักฐาน โดยไม่มีพยาน ทำแบบนี้ผิดขั้นตอนกฎหมายหรือไม่
6. การตั้งข้อหาฟอกเงินกับรับของโจร มีโทษร้ายแรงถึงขั้นยึดทรัพย์ทั้งหมดของวัดพระธรรมกาย ขณะที่ศาสนสมบัติทั้งหมดของวัดพระธรรมกาย
ได้มาจากการบริจาคของประชาชนตลอด 47 ปี การรีบร้อนตั้งข้อหาโดยขาดหลักฐานและพยาน รีบร้อนลัดขั้นตอนของลำดับคดี เพื่อจะอ้างอำนาจศาล
มาใช้อายัดศาสนสมบัติทั้งหมดของวัดพระธรรมกายถามว่าเป็นธรรมกับประชาชน (ทั้งที่มีชีวิตอยู่และที่ตายไปแล้ว) ที่ช่วยกันสร้างวัดนี้ขึ้นมาหรือไม่
ปล. ถามแค่นี้ก่อน อยากทราบหลักการและเหตุผล ในเรื่องวิธีใช้กฎหมายกับประชาชนของ DS I
1. เงินสหกรณ์หลายพันล้าน ถูกบริจาคไปตั้งหลายองค์กร เช่น สภากาชาด เป็นต้นแต่ DSI มาตามเงินคืนที่วัดพระธรรมกายที่เดียว แถมยังยัดข้อหายักยอกทรัพย์ ฟอกเงิน รับของโจรอีกด้วย ทำไมไม่ตั้งข้อหารับของโจรกับองค์กรอื่นบ้างทำไมเจาะจงแต่วัดพระธรรมกาย
2. เงินที่บริจาคให้วัดนั้น วัดไม่สามารถคืนให้ได้ เพราะผิดกฎหมาย แต่ลูกศิษย์วัดก็แสดงความมีน้ำใจต่อสหกรณ์ ด้วยการตั้งกองทุนเยียวยา 600 ล้าน
เพื่อช่วยให้สหกรณ์ไม่ล้มละลาย สมาชิกอีก 5 หมื่นคนจะได้ไม่เดือดร้อนทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือก็ได้ในเมื่อเจ้าทุกข์คือสหกรณ์แจ้งไปทาง DSI
และอัยการ ให้ถอนฟ้องส่วนของวัดพระธรรมกายแล้ว ทำไมถึงยังดึงดันจะดำเนินคดีให้ได้ ทั้งที่คู่กรณีตกลงไกล่เกลี่ยกันเองได้แล้ว
3. เงินสหกรณ์ที่ DSI สันนิษฐานว่าเสียหายไป 12,000 ล้าน วัดพระธรรมกายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินดังกล่าว อย่าใช้วิธีตามหาเงินคืนไม่ได้
ก็มายัดข้อหาฟอกเงินให้วัดพระธรรมกาย
4. คดีเงินสหกรณ์ที่หายไปเป็นพันล้านนั้น ถูกแบ่งย่อยเป็นหลายร้อยคดี ต่างกรรมต่างวาระกัน วัดพระธรรมกายเป็นเพียง 1 ใน หลายร้อยคดีเท่านั้น
และจัดเป็นคดีที่อยู่เกือบลำดับสุดท้าย ทำไมถึงมาเร่งทำคดีของวัดพระธรรมกายก่อน
5. ตามหลักการแล้ว การจะตั้งข้อหาใครว่ารับของโจรกับฟอกเงิน จะต้องมีหลักฐานและพยานก่อน แต่ทำไม DSI กลับออกหมายเรียก โดยไม่มีการตั้งข้อหาโดยไม่มีหลักฐาน โดยไม่มีพยาน ทำแบบนี้ผิดขั้นตอนกฎหมายหรือไม่
6. การตั้งข้อหาฟอกเงินกับรับของโจร มีโทษร้ายแรงถึงขั้นยึดทรัพย์ทั้งหมดของวัดพระธรรมกาย ขณะที่ศาสนสมบัติทั้งหมดของวัดพระธรรมกาย
ได้มาจากการบริจาคของประชาชนตลอด 47 ปี การรีบร้อนตั้งข้อหาโดยขาดหลักฐานและพยาน รีบร้อนลัดขั้นตอนของลำดับคดี เพื่อจะอ้างอำนาจศาล
มาใช้อายัดศาสนสมบัติทั้งหมดของวัดพระธรรมกายถามว่าเป็นธรรมกับประชาชน (ทั้งที่มีชีวิตอยู่และที่ตายไปแล้ว) ที่ช่วยกันสร้างวัดนี้ขึ้นมาหรือไม่
ปล. ถามแค่นี้ก่อน อยากทราบหลักการและเหตุผล ในเรื่องวิธีใช้กฎหมายกับประชาชนของ DS I
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)